พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยรถยนต์ในลานจอดรถ และความรับผิดของนายจ้าง
ตามคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้บังคับชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ และเรื่องฝากทรัพย์มิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องสัญญาฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ แต่พยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี ศาลฎีกาจึงเห็นควรพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 ที่ 3และที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่แต่งกายเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ยืนเก็บบัตรจอดรถและปล่อยรถยนต์ออกจากอาคารจอดรถ จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าของอาคารจอดรถ อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทาง ทางออก 1 ทาง ปากทางมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงิน 5 บาท พร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วย ซึ่งที่ด้านหน้าบัตรตอนล่างมีข้อความว่าบริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังของบัตรมีข้อความว่า1. ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย 2. กรุณาคืนบัตรทุกครั้ง ก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ ฯลฯ 6. บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดง บริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่า กรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออกมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับบัตรและปล่อยรถออก พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จะปรากฏว่าผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็นผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง และที่บัตรค่าเช่าจอดรถด้านหลังจะมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเองทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้ มีบริการรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำรถเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 โดยรับดูแลความเรียบร้อยความปลอดภัยทั้งขณะที่รถจอดอยู่ในอาคารและขณะที่รถจะออกจากอาคาร ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถและถือบัตรค่าเช่าที่จอดรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจสอบก่อนทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆ ของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และไม่ปรากฏว่าเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตร และตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง ซึ่งที่ลานจอดรถและที่ด้านหลังบัตรจอดรถ มีข้อความว่า ผู้ใช้บริการลานจอดรถจะต้องเก็บรักษาบัตรไว้เพื่อตรวจขณะจะนำรถออกจากลานจอดรถ มิฉะนั้น บริษัทจะไม่ยอมให้นำรถออกไปจนกว่าจะหาหลักฐานอื่นมาแสดงยืนยัน เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อโจทก์ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คดีนี้ไม่ใช่เป็นคดีข้อหาฝากทรัพย์ แต่เป็นคดีข้อหาละเมิด แม้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จะไม่ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ในฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์ ศาลฎีกาก็เห็นควรวินิจฉัยถึงความเสียหายของโจทก์ในฐานละเมิดตามที่ได้ยกขึ้นวินิจฉัยไว้แล้วต่อไป ซึ่งค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามป.พ.พ. มาตรา 438
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของอาคารจอดรถต่อการโจรกรรมรถยนต์ของผู้ใช้บริการ และขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้าง
ตามฟ้องของโจทก์มิได้ให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฝากทรัพย์ ฟ้องโจทก์มีแต่เรื่องละเมิด เรื่องฝากทรัพย์จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ศาลจะพิพากษาให้ชำระหนี้ตามสัญญาฝากทรัพย์ไม่ได้ เรื่องฝากทรัพย์จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ อาคารจอดรถของบริษัทจำเลยที่ 5 มีทางเข้า 1 ทางทางออก 1 ทาง ปากทางเข้ามีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยเก็บเงินพร้อมกับออกบัตรค่าเช่าที่จอดรถราคา 5 บาท โดยจดทะเบียนรถไว้ในบัตรด้วยด้านหน้าบัตรมีข้อความว่า บริการรักษาความสะอาดและรักษาความปลอดภัย ด้านหลังมีข้อความว่า ผู้ขับขี่ต้องเก็บบัตรไว้กับตัว เพื่อป้องกันรถหาย กรุณาคืนบัตรทุกครั้งก่อนออกจากบริเวณที่จอดรถ บัตรสูญหายหรือไม่นำมาแสดงบริษัทจะไม่อนุญาตให้นำรถออกจนกว่าจะหาหลักฐานมาแสดงจนเป็นที่พอใจ และในที่จอดรถมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนเดินตรวจตรา ที่กำแพงบริเวณลานจอดรถก็มีคำเตือนว่ากรุณาอย่าลืมบัตรจอดรถเพราะรถยนต์อาจสูญหาย สำหรับทางขาออก มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยืนอยู่ที่คอกกั้นคอยตรวจรับ บัตรและปล่อยรถออก แม้ผู้มาใช้บริการที่จอดรถจะเป็น ผู้เลือกที่จอดรถเอง ดูแลปิดประตูรถและเก็บกุญแจรถไว้เอง อีกทั้งที่ด้านหลังบัตรมีข้อความว่า หากมีการสูญหายหรือ เสียหายใด ๆ เกิดขึ้นทุกกรณี ผู้ครอบครองต้องรับผิดชอบเอง ทุกประการก็ตาม แต่ก็ย่อมจะทำให้ผู้ใช้บริการจอดรถ โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าที่อาคารจอดรถของจำเลยที่ 5 นี้มีบริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ที่จะนำเข้ามาจอดขณะมาติดต่อธุรกิจหรือซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 5 ซึ่งผู้ที่มิใช่เจ้าของรถจะลักลอบนำรถออกไปไม่ได้ ทั้งนี้โดยที่ผู้ใช้บริการที่จอดรถจะต้องเสียเงิน 5 บาทเป็นค่าตอบแทน การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำก่อน ๆของจำเลยทั้งห้า ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งห้าต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ อาคารสถานที่ตลอดจนรถยนต์ที่เข้ามาจอดและความเรียบร้อยโดยทั่วไป ไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะในการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และเหตุโจรกรรมรถยนต์ของโจทก์ไม่ได้เกิดต่อหน้าจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 งดเว้นป้องกันการโจรกรรมรถยนต์นั้น ดังนี้ การที่รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจะถือว่าเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันผลการโจรกรรมรถยนต์นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ยืนเก็บเงิน ออกบัตร จดทะเบียนรถลงในบัตรและตรวจบัตรขณะที่รถยนต์ออกจากลานจอดรถอยู่ที่คอกกั้นตรงทางเข้าออกลานจอดรถ หน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเกี่ยวกับการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถนำรถออกไปจากลานจอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์โดยตรง เมื่อทางเข้าออกลานจอดรถมีอยู่ทางเดียว หากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งอยู่ที่คอกกั้นตรวจบัตรอย่างเคร่งครัดก็ยากที่รถยนต์ของโจทก์จะถูกลักไปได้ การที่รถยนต์ของโจทก์สูญหายไปจึงเนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ระมัดระวังตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดอันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการ โจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของโจทก์ถูกลักไป และเป็นการประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 5 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ต่อโจทก์ด้วยตามมาตรา 425 คดีละเมิด แม้ว่าจำเลยจะไม่ได้ฎีกาในเรื่องจำนวนความเสียหายตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ศาลฎีกาก็วินิจฉัยถึงจำนวนความเสียหายของโจทก์และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดเสียใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5069/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตค่าเสียหายที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับ
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ที่1นั่งซ้อนท้ายศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายโจทก์ที่1ได้รับอันตรายสาหัสและทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายคดีถึงที่สุดแล้วข้อเท็จจริงคดีนี้จึงต้องฟังว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเพราะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำเลยจะฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่ออีกไม่ได้เมื่อจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ที่1เสียหายแก่ร่างกายจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่1นั่งซ้อนท้ายไปจะประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่ ค่าเสียหายที่โจทก์ที่2ต้องส่งเสียเลี้ยงดูและให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ที่1ซ้ำอีก1ปีจำนวนเงิน40,000บาทนั้นโจทก์ที่1ขาดเรียนเพราะต้องรักษาบาดแผลจนต้องสมัครใจเรียนซ้ำชั้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยค่าเสียหายส่วนนี้จำเลยจึงต้องรับผิด แม้โจทก์ที่2เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นบุตรก็ตามสิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก ค่าผ่าตัดเอาเหล็กดามที่ออกแม้จะเป็นค่าเสียหายในอนาคตแต่ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอนโจทก์ที่1จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5069/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการขับรถประมาท และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ที่ 1 นั่งซ้อนท้ายศาลแขวงเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย โจทก์ที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย คดีถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงคดีนี้จึงต้องฟังว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเพราะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยจะฎีกาโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่ออีกไม่ได้ เมื่อจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ที่ 1 เสียหายแก่ร่างกาย จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่ผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้โจทก์ที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปจะประมาทเลินเล่อด้วยหรือไม่ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไม่
ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ต้องส่งเสียเลี้ยงดูและให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ที่ 1 ซ้ำอีก 1 ปี จำนวนเงิน 40,000 บาทนั้น โจทก์ที่ 1 ขาดเรียนเพราะต้องรักษาบาดแผลจนต้องสมัครใจเรียนซ้ำชั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ค่าเสียหายส่วนนี้จำเลยจึงต้องรับผิด
แม้โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
ค่าผ่าตัดเอาเหล็กที่ดามออกแม้จะเป็นค่าเสียหายในอนาคตแต่ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้
ค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ต้องส่งเสียเลี้ยงดูและให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ที่ 1 ซ้ำอีก 1 ปี จำนวนเงิน 40,000 บาทนั้น โจทก์ที่ 1 ขาดเรียนเพราะต้องรักษาบาดแผลจนต้องสมัครใจเรียนซ้ำชั้น เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย ค่าเสียหายส่วนนี้จำเลยจึงต้องรับผิด
แม้โจทก์ที่ 2 เป็นข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็เป็นสิทธิที่รัฐกำหนดให้แก่ข้าราชการ ไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดได้อีก
ค่าผ่าตัดเอาเหล็กที่ดามออกแม้จะเป็นค่าเสียหายในอนาคตแต่ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคตที่แน่นอน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อทางรถยนต์: การแบ่งความรับผิดชอบเมื่อผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายประมาท และการจำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นที่ยุติแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและคนขับรถของโจทก์มีความประมาทเท่าๆกันค่าเสียหายของโจทก์จึงตกเป็นพับโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียวจำเลยแก้อุทธรณ์ว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบแล้วปัญหาว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทด้วยหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้เป็นฝ่ายประมาทคงฎีกาได้เพียงว่าคนขับรถยนต์ของโจทก์มีส่วนประมาทด้วยหรือไม่และเมื่อคดีฟังได้ว่าคนขับรถของโจทก์และจำเลยมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันค่าเสียหายจึงเป็นพับกันไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์, ข้อจำกัดการอุทธรณ์, ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย, ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ทุนทรัพย์ของคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ซึ่งแก้ไขใหม่ให้คิดคำนวณ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ มิใช่ทุนทรัพย์ที่ว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นทั้งจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันอุทธรณ์มารวมคำนวณเข้าด้วยไม่ได้ โจทก์เป็นผู้นั่งโดยสารมากับรถจักรยานยนต์ของ ต. ซึ่งขับรถชนกับรถของจำเลยโดยประมาณมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่งความรับผิดให้แก่โจทก์ได้และปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของนิติบุคคล และการคำนวณค่าเสียหายจากทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี
กองทับบกโจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนมีอำนาจบังคับบัญชาและรับผิดชอบจึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา75หรือที่แก้ไขใหม่มาตรา70การที่กองบัญชาการควบคุมกองพลทหารราบที่4ส่วนราชการของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริงและมีการรายงานเหตุการเสียชีวิตของนายทหารชั้นสัญญาบัตรให้โจทก์ทราบตลอดจนมีการทำบันทึกเรื่องค่าเสียหายจะถือว่าโจทก์ทราบไม่ได้กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเหตุและตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบรายงานและลงนามอนุมัติให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่28ธันวาคม2531โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2532ยังไม่พ้นกำหนด1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้นราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดเพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้วดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาดอันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายและการประเมินราคาทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี
กองทัพบกโจทก์เป็นนิติบุคคล มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนมีอำนาจบังคับบัญชาและรับผิดชอบ จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 75 หรือที่แก้ไขใหม่ มาตรา 70 การที่กองบัญชาการควบคุม กองพลทหารราบที่ 4 ส่วนราชการของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริงและมีการรายงานเหตุการเสียชีวิตของนายทหารชั้นสัญญาบัตรให้โจทก์ทราบ ตลอดจนมีการทำบันทึกเรื่องค่าเสียหาย จะถือว่าโจทก์ทราบไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเหตุและตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบรายงานและลงนามอนุมัติให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2531 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา448 ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น ราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาด เพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาด อันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น ราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาด เพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาด อันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง, การประเมินค่าเสียหายรถยนต์, และการรับรองความเสียหายของนิติบุคคล
กองทัพบกเป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของนิติบุคคลแม้จะมีการรายงานถึงเหตุการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้ทำการแทนทราบว่าจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลใด แม้โจทก์จะซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับยกเว้นค่าภาษีอากรทำให้มีราคาต่ำกว่าท้องตลาดแต่ราคารถยนต์ที่จำเลยทั้งสามจะต้องชดใช้ต้องถือเอาราคาปกติในท้องตลาดอันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินเมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีเพียงใดศาลใช้ดุลพินิจกำหนดให้เองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดจากวัวกินอ้อย: ศาลอุทธรณ์แก้ไขคำฟ้องได้และวินิจฉัยความรับผิดชอบตามส่วน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยทั้งแปดฎีกาว่า จำเลยทั้งแปดไม่เคยนำวัวไปเลี้ยงในไร่อ้อยของโจทก์ จึงไม่ได้ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งฟังว่าจำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นคู่สามีภรรยากันต่างคู่ต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์อันเป็นละเมิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกันไล่ต้อนวัวเข้าไปกินอ้อยในไร่ของโจทก์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งแปดต่างคู่สามีภรรยาต่างปล่อยวัวของตนเข้าไปกินอ้อยของโจทก์ ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง จำเลยทั้งแปดก็สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะยกฟ้องโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยแต่ละคู่แยกกันรับผิดในความเสียหายตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 จึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมทำให้คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องตลอดทั้งแผนที่สังเขปที่แนบมาท้ายคำร้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบที่จะนำมาใช้ในการวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องพอเข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งแปดปล่อยปละละเลยไม่ดูแลเลี้ยงดูฝูงวัวของตนเป็นเหตุให้ฝูงวัวของจำเลยทั้งแปดเข้าไปกินต้นอ้อยใบอ้อยและเหยียบย่ำต้นอ้อยของโจทก์เสียหายประมาณ 60 ไร่เศษ ส่วนคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก็ระบุอาณาเขตความกว้างยาวของที่ดินในการปลูกอ้อยด้านทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกว่าจดที่ดินของผู้ใดตามแผนที่สังเขปท้ายคำร้อง จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม