คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 438

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าหลังสมรส: การโอนสิทธิและละเมิดสิทธิแม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา33ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตามแต่เมื่อโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้าแล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อส.สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกันแต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลงการที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้วจึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรงแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์แห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรส แม้จดทะเบียนในชื่อคู่สมรสอื่น การละเมิดสิทธิและค่าเสียหาย
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 33 ได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า แล้วนำไปจดทะเบียน โดยใช้ชื่อ ส. สามีโจทก์เป็นผู้จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินที่ส.กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรส ส. และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้า แม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในทะเบียนเครื่องหมายการค้าและต่อมาได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 ตามปกติโจทก์ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือว่าค่าโฆษณาสินค้าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไปการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยย่อมทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือน เสียหาย ศาลจึงกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนหนึ่งตามพฤติการณ์ แห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เป็นสินสมรสและการละเมิดสิทธิ
แม้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 33ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะเกิดข้อพิพาทจะได้บัญญัติถึงการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อต้องจดทะเบียนเสียก่อนก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้คิดและออกแบบเครื่องหมายการค้า CLOY เครื่องหมายการค้าตราหัวช้าง และเครื่อง-หมายการค้าตราหญิงกระโดดเชือก แล้วนำไปจดทะเบียนโดยใช้ชื่อสามีโจทก์เป็นผู้-จดทะเบียนในระหว่างเป็นสามีภริยากันเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะเป็นทรัพย์สินที่สามีโจทก์กับโจทก์ผู้เป็นคู่สมรสได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสทั้งสามีโจทก์และโจทก์ย่อมเป็นเจ้าของสิทธิร่วมกันในเครื่องหมายการค้าทั้งสามลักษณะดังกล่าวแม้โจทก์จะมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสามในทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าก็ตาม และแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีการหย่าขาดและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินกัน แต่สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของบุคคลทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ร่วมกันจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นเป็นของโจทก์แต่ลำพังผู้เดียวตามข้อตกลง การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าพิพาททั้งสามลักษณะไปแสดงให้ปรากฏที่ถุงกระดาษที่จำเลยใช้ใส่สินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าของตนในระหว่างที่โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทร่วมกับสามีโจทก์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าทั้งสามและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ตามมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
ตามปกติโจทก์ก็ต้องทำการโฆษณาสินค้าของโจทก์อยู่แล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าค่าโฆษณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำละเมิดของจำเลยโดยตรง อย่างไรก็ดี เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองโดยไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงให้สาธารณชนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสภาพ และคุณภาพของสินค้า ย่อมเป็นการละเมิดและทำให้ค่านิยมทางการค้าของโจทก์ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ซึ่งตามพฤติการณ์แห่งคดีศาลชอบที่จะกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการตรวจลายมือชื่อเช็คปลอม ต้องรับผิดชอบความเสียหายต่อผู้ฝาก
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อตรวจลายมือชื่อปลอมจ่ายเช็ค ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากเช็คปลอม หากประมาทเลินเล่อในการตรวจสอบลายมือชื่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์ 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาท ตามลำดับ แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลย สาขากาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขา และ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลย มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลา ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา หากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบ จะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอม แต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ในข้อ 20 ว่า หากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย และธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้น ๆ ไป ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว จำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดต่อเช็คปลอมหากประมาทเลินเล่อ แม้มีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์ 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาท ตามลำดับ แล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลย สาขากาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วย-ผู้จัดการสาขา และ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลย มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลา ย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดา หากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบ จะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอม แต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวัน ในข้อ 20 ว่า หากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่าย และธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้น ๆ ไป ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว จำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่
หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ โดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกัน ศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและการพิสูจน์ความเสียหายจากดินพังทลาย
คนงานของ จำเลยร่วมซึ่งจำเลยได้ว่าจ้างให้ขุดดินในที่ดินของจำเลยด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์เพื่อนำออกไปยังที่อื่นขุดดินตามบริเวณที่จำเลยกำหนดใกล้เขตที่ดินของโจทก์มากเกินไปเป็นเหตุให้ดินในเขตที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเป็นการ ละเมิดซึ่งจำเลยร่วมต้องรับผิดและจำเลยต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา428โดย สิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายมีอายุความ1ปีตามมาตรา448ส่วนการฟ้องขอให้จำเลยและจำเลยร่วมก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงไม่มีกฎหมายบัญญัติ อายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา193/30 โจทก์ขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินไม่ให้พังทลายลงเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นจึงใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยย่อมมีอำนาจทำได้ไม่เกินคำขอ โจทก์มิได้นำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่พังทลายลงไปอย่างไรจำนวนเท่าใดจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ขาดประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดวงเงินฎีกาในคดีแพ่ง, การรับช่วงสิทธิค่าเสียหาย, และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่1ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง194,114.18บาทจึงไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งจำเลยที่1ฎีกาว่าเหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่2แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัยฎีกาของจำเลยที่1ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ขับรถโดยประมาทมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,46,157รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่1ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายมีเพียงใดโจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิค่าเสียหายประกันภัย: สิทธิของผู้รับประกันภัยจำกัดตามค่าเสียหายจริง
การรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา226และ880หมายความว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเพียงใดผู้รับช่วงสิทธิก็ได้รับสิทธิไปเพียงนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์บรรทุกที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใดศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามมาตรา438การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฎว่าค่าเสียหายจริงมีเพียงใดโจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปเต็มจำนวนไม่ได้
of 81