พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเสียหายจากละเมิดเครื่องหมายการค้า และการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน
โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท น. ซึ่งประกอบกิจการน้ำดื่มโดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูป คดีก่อนศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 272 (1) ฐานเอาชื่อ รูปรอยประดิษฐ์หรือข้อความใด ๆ ในการประกอบการค้าของโจทก์มาใช้ เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของโจทก์ แต่ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์กิจการของโจทก์มีกำไรมากขึ้นจากเดิม โจทก์จึงไม่เสียหายในผลกำไรที่โจทก์ควรได้จากการจำหน่ายน้ำดื่ม
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยระบุเหตุในคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยเพิ่งทราบว่ามีพยานดังกล่าวที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัท น.ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการว่าระหว่างปี 2537 ถึงปี 2540 บริษัทมีกำไรเฉลี่ยเดือนละประมาณ 600,000 บาทข้อเท็จจริงเหล่านั้นจะปรากฏอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและการบัญชี เช่นงบดุล แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ รายงานของผู้สอบบัญชี เป็นต้น ซึ่งบริษัทดังกล่าวได้จัดทำขึ้นและยื่นต่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่น พยานบุคคลและเอกสารที่จำเลยระบุอ้างเพิ่มเติมก็เป็นสรรพากรจังหวัดขอนแก่นกับงบดุลและงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2537 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในความครอบครองของสำนักงานสรรพากรจังหวัดขอนแก่นทั้งสิ้น หาได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยผู้อ้างที่ต้องแนบสำเนามาท้ายคำให้การดังที่กำหนดไว้ในข้อ 7 แห่งข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ไม่ การอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีย่อมทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุนของบริษัทดังกล่าวเป็นไปโดยเที่ยงธรรม การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าว จึงอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ กรณีไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อข้อกำหนดหรือเป็นการที่จำเลยจงใจดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 3
โจทก์ดำเนินกิจการน้ำดื่มโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเป็นคำและรูปมากว่า 20 ปี ด้วยความซื่อสัตย์ จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในหมู่ผู้บริโภคว่าน้ำดื่มของโจทก์มีคุณภาพ การที่จำเลยผลิตน้ำดื่มไม่มีคุณภาพออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง แม้โจทก์ไม่อาจสืบให้เห็นได้แจ้งชัดว่าน้ำดื่มที่จำเลยผลิตไม่มีคุณภาพ และโจทก์เสียหายมากน้อยเพียงใด แต่การกระทำของจำเลยย่อมทำให้โจทก์เสียหาย ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จากโจทก์เกินไปจากทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากการแสดงเจตนาไม่ถูกต้อง และการประเมินความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ถึงประโยชน์ที่ได้รับจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์ให้กลับมาเป็นชื่อของโจทก์พร้อมกับเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จสิ้น โดยในส่วนค่าเสียหาย ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้พยายามติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย และการถือกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ดังเดิม แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้นับแต่วันฟ้อง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุเลยว่าฝ่ายจำเลยโต้แย้งการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์อย่างไร และไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าหากฝ่ายจำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม ดังกล่าวแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์อย่างไรถึงจำนวนเดือนละ 10,000 บาท อีกทั้งมารดาโจทก์อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทและเป็นผู้เก็บเอาผลประโยชน์จากผลไม้ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ทำการสมรสและย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์หรือเข้าเก็บผลประโยชน์จากที่ดินพิพาทไป ดังนั้น เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์รวมโดยแก้ไขสารบัญการจดทะเบียน ในโฉนดที่ดินพิพาทแล้ว ความเสียหายของโจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป ศาลย่อมไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อร่วม การชนรถยนต์ ศาลยกฟ้องเมื่อโจทก์มีส่วนผิดไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลย
เหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์และจำเลยที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วยไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7252/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและอำนาจฟ้องขับไล่ แม้ผู้ให้เช่ามิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีสิทธิฟ้องได้หากมีสัญญาเช่า
ในเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าผู้ให้เช่าจะต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่า ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์จริง ทั้งสองฝ่ายก็ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาเช่า จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า เมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์ไม่ต่ออายุสัญญาสัญญาเช่าย่อมระงับสิ้นไป โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยในฐานะผู้เช่าได้ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับวัด ช. ตามที่จำเลยกล่าวอ้างจะมีอยู่อย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าเท่านั้น จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบเพื่อฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยชอบหรือไม่ และการที่จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามหนังสือบอกกล่าวของโจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ แม้โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่ก็ปรากฏว่าคู่ความได้แถลงรับกันแล้วว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นเป็นค่าเสียหายที่คิดคำนวณจากฐานค่าเช่าเดิม ประกอบกับในเรื่องค่าเสียหายนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและกำหนดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว
จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ในเรื่องค่าเสียหายจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบ แม้โจทก์ยังคงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อกล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่ก็ปรากฏว่าคู่ความได้แถลงรับกันแล้วว่าค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมานั้นเป็นค่าเสียหายที่คิดคำนวณจากฐานค่าเช่าเดิม ประกอบกับในเรื่องค่าเสียหายนั้น ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและกำหนดตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความในประเด็นข้อนี้อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาให้โจทก์ชนะคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6436/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า การละเมิด และการประเมินค่าเสียหายที่แท้จริง
บริษัทโจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสเป็นเจ้าของเครื่องหมาย การค้าคำว่า REYNOLDS ซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2520 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 รายการสินค้า เครื่องเขียน เครื่องมือวาดเขียน ปากกาลูกลื่น ปากกาปากอ่อน ปากกาหมึกซึม ไส้ปากกา หมึกบรรจุ ในหลอด ยาลบหมึก น้ำหมึก และที่เสียบปากกา โจทก์ที่ 1 ตกลงให้บริษัทโจทก์ที่ 2 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายไทยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปากกาลูกลื่นโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยโดยไม่มีค่าตอบแทนแต่มีเงื่อนไขว่า โจทก์ที่ 2 จะต้องซื้อปลายปากกาลูกลื่นและหมึกปากกาลูกลื่นจากโจทก์ที่ 1 ตามจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ การอนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาผู้ใช้ (User Agreement) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2539 ไม่ได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 โจทก์ที่ 2 จึงมิใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง เรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในข้อหาละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนคำว่า REYNOLDS ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ได้ คงมีเฉพาะโจทก์ที่ 1 เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าว
ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือโจทก์ที่ 2 ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการตลาดของโจทก์ที่ 2 ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายก็ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตามคำฟ้องก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องอย่างชัดเจนว่าค่าโฆษณานั้น โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้รับความเสียหายในการที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายอันเนื่องมาจากยอดขายสินค้าปากกา REYNOLDS ลดลงเพราะการละเมิดของจำเลยทั้งสอง
แม้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า REYNOLDS สำหรับสินค้าปากกาลูกลื่นที่ได้จดทะเบียนไว้และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายปากกาลูกลื่น REYNOLDS อันเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 จะเป็นการละเมิดต่อสิทธิ แต่ผู้เดียวของโจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายว่า โจทก์ต้องจัดการทำการโฆษณาเพื่อแก้ไขภาพพจน์ต่อผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่นยี่ห้อ REYNOLDS ปลอมที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งโจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าโฆษณาไปในช่วงเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงปลายปี 2541 เป็นเงินจำนวน 3,916,881.92 บาท รวมความเสียหายที่โจทก์ประเมินไว้เนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองนำ ปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้า "REYNOLDS" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของ โจทก์ที่ 1 ออกจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 9,000,000 บาท ทั้งนี้ ยังมิได้รวมถึงค่านิยมที่ผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่น REYNOLDS ของโจทก์ที่เสื่อมไปเพราะการใช้ของปลอมที่มีคุณภาพต่ำ แต่โจทก์ทั้งสองขอเรียก ค่าเสียหายสำหรับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 3,300,000 บาท ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่หาได้เรียกค่าเสียหายสำหรับค่านิยมหรือความมีชื่อเสียง ของสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ จากจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้ที่ศาลจะพิพากษาให้ได้
ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์ทั้งสองว่า โจทก์ที่ 1 มีหน้าที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือโจทก์ที่ 2 ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านการตลาดของโจทก์ที่ 2 ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายก็ปรากฏว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 เป็นผู้จ่ายทั้งสิ้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตามคำฟ้องก็ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องอย่างชัดเจนว่าค่าโฆษณานั้น โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แต่เพียงผู้เดียว ดังนี้ โจทก์ที่ 1 จึงไม่ได้รับความเสียหายในการที่ต้องจ่ายค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายอันเนื่องมาจากยอดขายสินค้าปากกา REYNOLDS ลดลงเพราะการละเมิดของจำเลยทั้งสอง
แม้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า REYNOLDS สำหรับสินค้าปากกาลูกลื่นที่ได้จดทะเบียนไว้และการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายปากกาลูกลื่น REYNOLDS อันเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 จะเป็นการละเมิดต่อสิทธิ แต่ผู้เดียวของโจทก์ที่ 1 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 44 ก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายว่า โจทก์ต้องจัดการทำการโฆษณาเพื่อแก้ไขภาพพจน์ต่อผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่นยี่ห้อ REYNOLDS ปลอมที่มีคุณภาพต่ำ ซึ่งโจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าโฆษณาไปในช่วงเดือนกรกฎาคม 2540 ถึงปลายปี 2541 เป็นเงินจำนวน 3,916,881.92 บาท รวมความเสียหายที่โจทก์ประเมินไว้เนื่องจากการที่จำเลยทั้งสองนำ ปากกาลูกลื่นที่มีเครื่องหมายการค้า "REYNOLDS" ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของ โจทก์ที่ 1 ออกจำหน่ายในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 9,000,000 บาท ทั้งนี้ ยังมิได้รวมถึงค่านิยมที่ผู้เคยใช้ปากกาลูกลื่น REYNOLDS ของโจทก์ที่เสื่อมไปเพราะการใช้ของปลอมที่มีคุณภาพต่ำ แต่โจทก์ทั้งสองขอเรียก ค่าเสียหายสำหรับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นเงินจำนวน 3,300,000 บาท ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่หาได้เรียกค่าเสียหายสำหรับค่านิยมหรือความมีชื่อเสียง ของสินค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไม่ แสดงว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้ จากจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้ที่ศาลจะพิพากษาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวหาพัวพันยาเสพติด ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอนาคตทางการเมือง จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2485 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คำพิพากษา ส่วนอาญาย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46จำเลยไม่อาจโต้เถียงข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นอย่างอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากการละเมิด: ศาลใช้ดุลพินิจชดเชยตามความร้ายแรงและค่าเสียหายโดยตรง ไม่ใช่การคาดการณ์อนาคต
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคแรก แสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าศาลย่อมมีดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงแห่งการกระทำของจำเลยประกอบด้วย แม้ ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสองนั้นเองได้ระบุถึงค่าเสียหายว่าได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเป็นสำคัญก็ตาม แต่ศาลก็จำต้องดูพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดเป็นหลักในการคำนวณตามวรรคแรกอยู่ด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่องขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ย พ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่ง เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ตามพฤติการณ์แห่งคดีราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงซึ่งเกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิด ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่องขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ย พ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่ง เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ตามพฤติการณ์แห่งคดีราคาที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงซึ่งเกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิด ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิด: ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเสียหายโดยตรงและพฤติการณ์แห่งละเมิด
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสองได้ระบุถึงค่าเสียหายว่าได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นเป็นสำคัญก็ตาม แต่ศาลก็จำต้องดูพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดเป็นหลักในการคำนวณตามวรรคแรกอยู่ด้วย โดยเฉพาะต้องเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่งนั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ราคาของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่ จำเลยกระทำละเมิด
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานอาณาบาลมีหน้าที่ว่าคดีให้แก่โจทก์ โจทก์แต่งตั้งให้จำเลยเป็นทนายความฟ้องขับไล่ป. และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งโจทก์ได้ดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในราชการตามประกาศกระแสร์พระบรมราชโองการ เรื่อง ขยายการหวงห้ามและจัดซื้อที่ดินสำหรับสร้างการทดน้ำไขน้ำในบริเวณเชียงรากน้อยและบางเหี้ยพ.ศ. 2467 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง จำเลยมีหน้าที่ต้องรายงานผลแห่งคดี และเสนอความเห็นไปยังโจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แต่จำเลยมิได้รายงานและเสนอความเห็นไปยังโจทก์ และมิได้ยื่นอุทธรณ์เป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ป. จึงนำเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปขอออกโฉนดที่ดินจำนวน 3 แปลง ความเสียหายของโจทก์เป็นการสูญเสียสิทธิและโอกาสในการดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ที่โจทก์อ้างว่าการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นผลทำให้โจทก์ต้องสูญเสียที่ดิน เพราะหากโจทก์อุทธรณ์ฎีกาให้ศาลฎีกาได้วินิจฉัยคดีให้ถึงที่สุดแล้ว คดีของโจทก์มีทางชนะอย่างยิ่งนั้น เป็นเพียงการคาดคะเนของโจทก์ ราคาของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าต้องสูญเสียไปจึงมิใช่ค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการที่ จำเลยกระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและขอบเขตความคุ้มครอง
ผู้รับประกันภัยรับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายในการขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าทางทะเลจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของผู้ทำละเมิดได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ถูกต้องตามตราสารข้อบังคับ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญา ประกันภัย จำเลยร่วมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยนั้นหาอาจยกมาเป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้ไม่
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย