พบผลลัพธ์ทั้งหมด 807 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้เช่าซื้อกรณีเกิดละเมิดจากคนขับ รวมถึงการประเมินค่าเสียหายที่เหมาะสม
รถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุมีชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และผู้ประกอบการขนส่ง แม้จำเลยที่ 3 จะให้จำเลยที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกสิบล้อดังกล่าวไป แต่จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้เสียภาษีในการใช้รถยนต์ประกอบการขนส่งประเภทส่วนบุคคลตลอดมาทุกปีและยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกสิบล้อไปประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการประกอบการขนส่ง โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างและในการประกอบการขนส่งอันเป็นธุรกิจที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีผลประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 อยู่ในสภาพพังยับเยิน แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ไม่สามารถทำให้คืนดีเหมือนเดิมได้ ทำให้รถยนต์เสื่อมราคาไปจากการใช้ตามปกติ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสื่อมราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 อีก จึงหาใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ไม่
ความเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำละเมิดได้รับอันตรายสาหัสและต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างไปตลอดชีวิต นอกจากผู้ถูกกระทำละเมิดจะได้รับชดใช้ค่าเสียความสามารถประกอบการงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย ที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง อีกด้วย และค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยส่วนนี้กับค่าเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายคนละอย่างแตกต่างกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นศาลที่รับแต่งตั้งจากศาลจังหวัดสีคิ้วให้สืบพยานหลักฐานของจำเลยแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด หาใช่กระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐานของจำเลยตามที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับแต่งตั้งให้กระทำแทนศาลจังหวัดสีคิ้วไม่ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ โดยให้โจทก์ไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีจึงชอบแล้ว และการที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมิได้รับคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไว้แล้วส่งไปศาลจังหวัดสีคิ้วเพื่อพิจารณาสั่งนั้น ก็หาเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วที่พิจารณาคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยต่อมาทั้งหมดจึงชอบด้วยกฎหมาย
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 อยู่ในสภาพพังยับเยิน แม้จะทำการซ่อมแซมอย่างดีแล้วก็ไม่สามารถทำให้คืนดีเหมือนเดิมได้ ทำให้รถยนต์เสื่อมราคาไปจากการใช้ตามปกติ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดค่าเสื่อมราคารถยนต์ให้แก่โจทก์ที่ 1 อีก จึงหาใช่เป็นการกำหนดค่าเสียหายซ้ำซ้อนกับค่าซ่อมและเปลี่ยนอะไหล่ไม่
ความเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำละเมิดได้รับอันตรายสาหัสและต้องทุพพลภาพเป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่างไปตลอดชีวิต นอกจากผู้ถูกกระทำละเมิดจะได้รับชดใช้ค่าเสียความสามารถประกอบการงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่งแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย ที่ต้องได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจจากการทุพพลภาพไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 446 วรรคหนึ่ง อีกด้วย และค่าเสียหายซึ่งเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยส่วนนี้กับค่าเสียความสามารถประกอบการงาน เป็นค่าเสียหายคนละอย่างแตกต่างกัน และไม่ซ้ำซ้อนกัน
ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นศาลที่รับแต่งตั้งจากศาลจังหวัดสีคิ้วให้สืบพยานหลักฐานของจำเลยแทนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 102 เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด หาใช่กระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐานของจำเลยตามที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดได้รับแต่งตั้งให้กระทำแทนศาลจังหวัดสีคิ้วไม่ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ โดยให้โจทก์ไปยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วซึ่งเป็นศาลที่พิจารณาคดีจึงชอบแล้ว และการที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมิได้รับคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไว้แล้วส่งไปศาลจังหวัดสีคิ้วเพื่อพิจารณาสั่งนั้น ก็หาเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสีคิ้วที่พิจารณาคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับจำเลยต่อมาทั้งหมดจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการทวงหนี้ผิดพลาด - จำเลยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อ
++ เรื่อง ละเมิด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++
++ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีปัญหาในชั้นฎีกาอันควรวินิจฉัยก็เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น
++ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาความว่า ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ของจำเลยซึ่งมีชื่อและนามสกุลซ้ำกับโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบแห่งความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยมีนัยเป็นอย่างเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนมาด้วยว่า แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนาด้วย อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ แต่ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ดำเนินการชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลยและลงความเห็นว่า ถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ ทั้งโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว
++ ดังนั้น เมื่อจำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่สามารถฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 25,000 บาทอันไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247
++ ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีถือได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความจำเลยหรือจำเลยที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มิหนำซ้ำยังถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักรอีก อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทุกประการ
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนา อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวันลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลย และลงความเห็นว่าถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความได้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว ดังนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อหรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลังโดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความของจำเลยหรือจำเลยทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนจนถูกหนังสือพิมพ์รายวันนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักร อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความผิดเพื่อละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++++++++++++
++
++ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฎีกาจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีปัญหาในชั้นฎีกาอันควรวินิจฉัยก็เฉพาะกรณีดังกล่าวเท่านั้น
++ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาความว่า ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่าจำเลยมอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ของจำเลยซึ่งมีชื่อและนามสกุลซ้ำกับโจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เข้าองค์ประกอบแห่งความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โดยมีนัยเป็นอย่างเดียวกันกับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนมาด้วยว่า แม้โจทก์จะมีชื่อและนามสกุลอย่างเดียวกันกับลูกหนี้ของจำเลย แต่ก็มีภูมิลำเนาต่างกัน ทั้งลูกหนี้ของจำเลยไม่เคยย้ายภูมิลำเนาด้วย อีกทั้งเมื่อโจทก์ติดต่อทนายความจำเลยแจ้งว่ามิได้เป็นหนี้ แต่ทนายความจำเลยหรือจำเลยกลับยืนยันว่าเป็นหนี้ ถ้าไม่ดำเนินการชำระหนี้จะฟ้องร้องต่อศาล ทำให้โจทก์เกิดความกลัว จึงได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเป็นเหตุให้โจทก์ถูกหนังสือพิมพ์รายวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐและหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ลงข่าวเผยแพร่ไปทั่วราชอาณาจักร ทำให้โจทก์ถูกผู้บังคับบัญชาเรียกไปสอบสวนหามูลเหตุของข่าวการเป็นหนี้จำเลยและลงความเห็นว่า ถ้าข่าวดังกล่าวเป็นจริงโจทก์จะถูกลงโทษ ทั้งโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ทางไกลติดต่อญาติพี่น้องเพื่อแจ้งความจริงให้ทราบ และได้ว่าจ้างทนายความให้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหนี้ดังกล่าว
++ ดังนั้น เมื่อจำเลยฎีกาได้เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่สามารถฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าวเนื่องจากทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยมีเพียง 25,000 บาทอันไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาก็ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและที่ศาลอุทธรณ์ได้ฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวนดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247
++ ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีถือได้ว่า จำเลยประมาทเลินเล่อ หรือไม่ไยดีต่อผลแห่งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่โจทก์ในภายหลัง โดยไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรทำการตรวจสอบเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ของจำเลยเสียใหม่ตามที่โจทก์แจ้งให้ทนายความจำเลยหรือจำเลยที่ทราบแล้วว่าโจทก์มิใช่ลูกหนี้ของจำเลย รวมทั้งจำเลยยังได้ยืนยันที่จะฟ้องร้องโจทก์ต่อศาล จนเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความกลัวและนำเรื่องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มิหนำซ้ำยังถูกหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับนำข่าวไปเผยแพร่ทั่วราชอาณาจักรอีก อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์เสียหาย พฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อการนั้นแล้ว ครบถ้วนด้วยองค์ประกอบแห่งความรับผิดเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาให้สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าที่ตนเองไม่มีสิทธิ และการฟ้องร้องเรียกค่าสินค้าที่ไม่สุจริต ไม่เป็นละเมิด
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ละเมิด ++
++ ทดสอบทำงานใด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาจข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++ ต้นฉบับต้องแปะภาพ ++
++
++ การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ย่อมต้องพิจารณาให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงตามที่โจทก์ฟ้อง
++ขณะที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 2ลงในหนังสือสัญญา จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปมดอีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว การนำเครื่องหมายการค้ารูปมดดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใด ๆ ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ได้ การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่อาจเล็งเห็นได้ว่าหากโจทก์ทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใดและนำสินค้านั้นออกจำหน่าย ย่อมอาจถูกจับในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวได้ การออกหนังสือให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจต่อโจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ต้องได้ความว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองด้วย
++การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสองนั้นโดยทั่วไปถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็อาจจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้หากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่เพียงอย่างเดียว
++ คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2542 โดยวินิจฉัยว่า "เมื่อพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว (โจทก์ทั้งสอง)ประกอบกับกรณีที่โจทก์ในคดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2) ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปจากโจทก์และไม่ส่งมอบเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังฟ้อง" ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลฎีกาเชื่อพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยก็มิได้หมายความว่าพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์เป็นพยานหลักฐานเท็จหรือเป็นการนำความเท็จมาฟ้อง แต่เป็นเรื่องโจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปแล้วไม่ชำระค่าสินค้าดังที่บรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในระยะแรก ๆ ที่โจทก์ทั้งสองรับสินค้าจากจำเลยทั้งสองมาจำหน่าย จำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งนายนิรันดร์ ทศพรทรงไชย ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มาช่วยโจทก์ทั้งสองขายด้วย โจทก์ที่ 1 เบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1มาติดพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 1 รักใคร่ชอบพอโจทก์ที่ 1ฉันชู้สาว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกค้ากับผู้ค้าตามปกติ โจทก์ที่ 1 เองก็มาเบิกความแต่เพียงว่าโจทก์ที่ 1ซื้อกาวลาเท็กซ์จากจำเลยที่ 2 มาขาย แต่ไม่เคยเป็นตัวแทน และไม่เคยค้างชำระค่าสินค้าแก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้ามาแสดงเช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองที่นำสืบมาจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตโดยนำเอาความเท็จไปฟ้องโจทก์ทั้งสองเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
++ ทดสอบทำงานใด้วยระบบ CW เพื่อค้นหาจข้อมูลทาง online เท่านั้น ++
++ ต้นฉบับต้องแปะภาพ ++
++
++ การที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ย่อมต้องพิจารณาให้ได้ความว่าจำเลยได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงตามที่โจทก์ฟ้อง
++ขณะที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อและประทับตราบริษัทจำเลยที่ 2ลงในหนังสือสัญญา จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าบริษัทจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้ารูปมดอีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว การนำเครื่องหมายการค้ารูปมดดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใด ๆ ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบริษัทโสภณพัฒนา จำกัด ได้ การที่จำเลยทั้งสองทำหนังสือสัญญาให้โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่อาจเล็งเห็นได้ว่าหากโจทก์ทั้งสองนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปใช้กับสินค้าใดและนำสินค้านั้นออกจำหน่าย ย่อมอาจถูกจับในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรและจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวได้ การออกหนังสือให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจต่อโจทก์ทั้งสองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่การที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ต้องได้ความว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองด้วย
++การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่ค้างชำระจากโจทก์ทั้งสองนั้นโดยทั่วไปถือว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็อาจจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองได้หากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิฟ้องคดีโดยไม่สุจริต โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่เพียงอย่างเดียว
++ คดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษายืนให้ยกฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 108/2542 โดยวินิจฉัยว่า "เมื่อพิจารณาข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองในคดีดังกล่าว (โจทก์ทั้งสอง)ประกอบกับกรณีที่โจทก์ในคดีดังกล่าว (จำเลยที่ 2) ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปจากโจทก์และไม่ส่งมอบเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ ข้อนำสืบของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าของโจทก์ ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังฟ้อง" ดังนี้ คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความ การที่ศาลฎีกาเชื่อพยานหลักฐานของฝ่ายจำเลยก็มิได้หมายความว่าพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์เป็นพยานหลักฐานเท็จหรือเป็นการนำความเท็จมาฟ้อง แต่เป็นเรื่องโจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสินค้าไปแล้วไม่ชำระค่าสินค้าดังที่บรรยายไว้ในคำฟ้อง ทั้งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในระยะแรก ๆ ที่โจทก์ทั้งสองรับสินค้าจากจำเลยทั้งสองมาจำหน่าย จำเลยที่ 1 ก็ได้ส่งนายนิรันดร์ ทศพรทรงไชย ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มาช่วยโจทก์ทั้งสองขายด้วย โจทก์ที่ 1 เบิกความยอมรับว่าจำเลยที่ 1มาติดพันโจทก์ที่ 1 ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 1 รักใคร่ชอบพอโจทก์ที่ 1ฉันชู้สาว ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ลูกค้ากับผู้ค้าตามปกติ โจทก์ที่ 1 เองก็มาเบิกความแต่เพียงว่าโจทก์ที่ 1ซื้อกาวลาเท็กซ์จากจำเลยที่ 2 มาขาย แต่ไม่เคยเป็นตัวแทน และไม่เคยค้างชำระค่าสินค้าแก่จำเลยที่ 2 แต่โจทก์ทั้งสองก็ไม่มีหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้ามาแสดงเช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองที่นำสืบมาจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาไม่สุจริตโดยนำเอาความเท็จไปฟ้องโจทก์ทั้งสองเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การที่บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อปรากฏว่าคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องได้ถึงที่สุดโดยพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานหมิ่นประมาท ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งฟังยุติแล้วว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดการลงข่าวดังกล่าวเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการเผยแพร่โฆษณาทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำสืบพิสูจน์ว่าข้อความหรือเนื้อหารายละเอียดที่ใส่ความโจทก์นั้นเป็นความจริงหรือเป็นการเสนอข่าวสารอันจำเลยที่ 2 มิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง ศาลฎีกาจะฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2กระทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของจำเลยที่ 2ด้วยตามมาตรา 425
โจทก์เป็นนักการเมืองอาวุโสมีชื่อเสียงเกียรติคุณเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ติดต่อกันถึง 6 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ขณะเกิดเหตุเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่และเป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ทั้งขาดความเชื่อถือทางการค้า และสูญเสียโอกาสในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นนี้ การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 5,000,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาเฉพาะความเสียหายโดยตรงที่ประเมินเป็นเงินได้
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายเทปเพลงซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่มีผู้ทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยได้ทำซ้ำไว้แล้วเท่านั้น แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ประชาชนขาดความเชื่อถือ และโจทก์ได้เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเทปเพลงลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นเงินจำนวนมากก็ตามแต่ความเสียหายของโจทก์ที่ได้รับจากการกระทำของจำเลยโดยตรงที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้คงมีเฉพาะที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการที่จำเลยนำเทปเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกจำหน่าย อันอาจทำให้การจำหน่ายเทปเพลงของโจทก์ตกต่ำไป 175 ม้วน ซึ่งคิดเป็นเงินที่โจทก์จำหน่ายราคาม้วนละ 90 บาท เป็นเงิน 15,750 บาท ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์ทำให้ประชาชนไม่เชื่อถือในกิจการของโจทก์นั้นมีไม่มากนัก ค่าเสียหายในส่วนนี้จำนวน 50,000 บาท จึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยแล้ว แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่สำนักงานทนายความเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายเพื่อรักษาประโยชน์ในการดำเนินกิจการของโจทก์เท่านั้น มิใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยได้
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลย 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มในชั้นอุทธรณ์ 50,000 บาทเท่านั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์เพียง 50,000 บาท รวมค่าขึ้นศาลอนาคตด้วย ฉะนั้น การที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและการทำละเมิดต่อกรรมสิทธิ์หลังเปลี่ยนเจ้าของกรรมสิทธิ์ ความยินยอมเดิมไม่ผูกพันเจ้าของรายใหม่
แม้จำเลยจะได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินเดิมให้ก่อสร้างรั้วพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินได้และการกระทำของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นการทำละเมิดแต่เมื่อเจ้าของเดิมได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นต่อไป จนในที่สุดที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ความยินยอมดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันโจทก์ให้ต้องยอมรับสิทธิของจำเลยต่อไป เพราะโจทก์ทั้งสองก็ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ที่จะขัดขวางมิให้จำเลยหรือบุคคลอื่นสอดเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินของตนโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้รั้วพิพาทอยู่ในที่ดินของตนอีกต่อไปและได้แจ้งให้จำเลยจัดการรื้อถอนแล้วแต่แทนที่จำเลยจะรื้อรั้วพิพาทออกไปเสียทั้งหมดกลับเหลือทิ้งไว้ในที่ดินของโจทก์บางส่วนการกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ การไม่รื้อถอนรั้วพิพาทให้หมดสิ้นย่อมทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้สอยประโยชน์ในที่ดินส่วนนั้นได้ซึ่งแม้ว่าจะมีเนื้อที่เพียงเล็กน้อยโจทก์ก็ได้รับความเสียหายซึ่งอาจเปรียบเทียบค่าเสียหายสำหรับที่ดินส่วนดังกล่าวจากที่ดินในบริเวณใกล้เคียงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินโอนรับทราบการรุกล้ำก่อน
หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารร่วมผนังซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ส. เจ้าของที่ดินเดิมในการก่อสร้างอาคารชิดแนวเขตที่ดินของตนและใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กกับผนังอาคารด้านติดกันร่วมกัน แม้จะมีเฉพาะฐานรากใต้ดินเท่านั้นที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ส. ซึ่งเกิดจากจำเลยกระทำไปตามข้อตกลงในหนังสือยินยอมดังกล่าว ดังนั้นแม้จะมีส่วนที่รุกล้ำอยู่บ้าง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อ ส. เมื่อโจทก์ทั้งสองรับโอนที่ดินของ ส. มาในสภาพที่มีการรุกล้ำอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการรุกล้ำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งงานก่อสร้างต่อความเสียหายที่เกิดจากผู้รับเหมา รวมถึงความรับผิดต่อค่าเช่าที่สูญเสีย
การก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 และในระหว่างการก่อสร้าง อ.กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ไปสังเกตการณ์ทุกวัน ดังนี้ พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและมีข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 แห่ง ป.พ.พ.จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
โจทก์ให้ ร.เช่าอาคารของโจทก์ และต่อมา ร.เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ ร.เช่าจากโจทก์ ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจาก ร.บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้
หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมา และผู้ทำสัญญาต่อความเสียหายจากงานก่อสร้าง รวมถึงการรับสภาพหนี้
การก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก่อให้เกิด ความเสียหายแก่อาคารของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เลือกจ้าง จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 และในระหว่างการก่อสร้าง อ. กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ไปสังเกตการณ์ทุกวัน ดังนี้ พฤติการณ์ ที่จำเลยที่ 1 ได้ไปควบคุมดูแลการก่อสร้างตลอดเวลาและ มีข้อสัญญาที่ให้จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาได้หากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่ง ที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 428 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น โจทก์ให้ร.เช่าอาคารของโจทก์และต่อมาร. เลิกเช่าอาคารเนื่องจากการก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารที่ร.เช่าจากโจทก์ดังนี้ ค่าเช่าที่โจทก์ไม่ได้รับเนื่องจากร. บอกเลิกการเช่าจึงเป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 1 ได้ หนี้ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจ แบ่งแยกได้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์และฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบ มาตรา 245(1)