คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ม. 8 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีป้าย: การประเมินภาษีป้ายที่ไม่ถูกต้อง การขอคืนภาษี และข้อยกเว้นการยื่นคำร้องคืนภายในกำหนด
คำว่า "ป้าย" ตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 6 หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น แต่ป้ายที่มีข้อความว่า "กรมสรรพากรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่ายดีเซล ซูพรีม92ซูพรีม 97"เป็นป้ายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 54) ป้ายดังกล่าวจึงมิใช่ป้ายตามความหมายข้างต้น โจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายนี้
ส่วนป้ายที่มีข้อความว่า "ดีเซล" แม้จะเป็นชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป แต่ก็ยังคงอยู่ในความหมายของคำว่า "ป้าย" เมื่อป้ายนี้อยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการการค้าและมีขนาดพื้นที่ป้ายเกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าวแต่ป้าย "ดีเซลและซูพรีม 97" เป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย
สำหรับป้าย "เอสโซ่Essoและเครื่องหมายลูกศร" เป็นป้ายที่อยู่โครงป้ายเดียวกันและไม่สามารถแยกจากกันได้กับข้อความ "ยินดีรับบัตร SYNERGYESSO" เครื่องหมายลูกศรอยู่ใต้ข้อความดังกล่าว จึงเป็นชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์อันมีลักษณะเชิญชวนให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกบัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการของโจทก์ซึ่งตรงตามคำนิยามของคำว่า "ป้าย" แล้ว เมื่อป้ายดังกล่าวมีขนาดพื้นที่เกินหนึ่งตารางเมตรโจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าว
ป้ายมีข้อความว่า "เอสโซ่ Esso รูปเสือ WelcometotigerMart ล้าง-อัดฉีดห้องน้ำสะอาด" เป็นป้ายประเภท 2 ที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายซึ่งอยู่ในโครงป้ายเดียวกันทั้งหมดไม่อาจแยกจากกันได้และมีขนาดพื้นที่เกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ด้วย
การขอคืนค่าภาษีป้ายตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ ต้องเป็นการขอคืนต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เสียภาษีป้าย และต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายเสียภาษีไปโดยไม่มีหน้าที่หรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย แต่การที่โจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีป้ายไม่ถูกต้อง และยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวตามมาตรา 30 โดยจำเลยทั้งสองวินิจฉัยยืนตามการแจ้งประเมิน โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสองพร้อมทั้งขอคืนค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มที่ประเมินเกินไปคืนนั้น มิใช่กรณีตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 24 โจทก์จึงมีอำนาจขอค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มคืนจากจำเลยที่ 1 ได้แม้ว่าจะเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีป้ายก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'อาคาร' ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย และการแจ้งประเมินภาษีป้ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาคาร" แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร หากจะต้องตีความเพราะตัวบทกฎหมายไม่ชัดแจ้ง ก็ต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่ไม่เป็นโทษแก่ราษฎรผู้ที่จะต้องเสียภาษีอากร คำว่า "อาคาร" ตามพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายความถึง เรือน โรง สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น สถานีบริการน้ำมันโดยปกติแล้วจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวอาคารที่เป็นที่ทำการตู้จำหน่ายน้ำมันและหลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน รวมทั้งจะต้องเปิดโล่งให้รถยนต์เข้าไปเติมน้ำมันได้ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันเป็นสถานีบริการน้ำมัน จึงถือว่าเป็นอาคาร
ป้ายที่มีข้อความว่า "ซูพรีม 97 ซูพรีม 92" และ "ESSO รูปเสือ" อยู่ใต้หลังคาที่ปกคลุมตู้จำหน่ายน้ำมัน เป็นป้ายที่อยู่ภายในอาคารของสถานีบริการน้ำมันที่ใช้ประกอบการค้า ทั้งเป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร ย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8 (5) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 มาตรา 6 จึงไม่ต้องเสียภาษีป้าย
ป้ายที่มีข้อความว่า "AMERICAN EXPRESS" ซึ่งติดตั้งอยู่ในอาคารของโจทก์ ไม่ใช่ป้ายที่โจทก์เป็นเจ้าของ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยไม่ได้สืบหาเจ้าของป้ายผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จึงเป็นการไม่ปฎิบัติตาม พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 18 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงไม่มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีป้ายดังกล่าวไปยังโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้าย: ป้ายต้องอยู่ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรืออาคาร ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้
พระราชบัญญัติญญัติภาษีป้ายพ.ศ.2510มาตรา8บัญญัติว่า"เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้ายสำหรับป้ายดังต่อไปนี้(5)ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์"จากบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่าป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานเว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะไม่ได้รับยกเว้นเพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา8(5)ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าวดังนั้นหากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้วแม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตามก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา8(5)นอกจากนี้ตามมาตรา8(5)ดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้นกล่าวคือต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายนอกอาคาร ไม่เข้าข้อยกเว้นภาษี ป้ายตามกฎหมายทะเบียนพาณิชย์ก็ไม่ได้รับยกเว้น
ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 8(5) ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะก็ไม่ได้รับยกเว้นเพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา 8(5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา 8(5) ดังกล่าว
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510: ป้ายต้องแสดงภายในสถานที่ประกอบการค้าหรืออาคารเท่านั้น
ตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 8 (5) ป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายจะต้องเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เว้นแต่จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์จะก็ไม่ได้รับยกเว้น เพราะข้อความตอนท้ายของมาตรา 8 (5) ไม่รวมถึงป้ายดังกล่าว ดังนั้น หากไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว แม้จะเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีป้ายมาตรา 8 (5) ดังกล่าว
ป้ายพิพาทสามารถมองเห็นได้จากภายนอกสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้และเป็นป้ายที่แสดงไว้ภายนอกอาคาร ป้ายดังกล่าวแม้จะติดตั้งไว้ภายในรั้วของโจทก์ บนหลังคาอาคาร ผนังภายนอกอาคารหรือบริเวณของสถานที่ประกอบการค้าหรือสถานที่ประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ก็หาเป็นป้ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 8 (5)แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 เพราะบทมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้ายเฉพาะป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารอันเป็นที่รโหฐานเท่านั้น กล่าวคือ ต้องเป็นป้ายที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกของสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือจากภายนอกอาคาร
ส่วนปัญหาที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่า ป้ายพิพาทไม่เป็นป้ายตาม พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์พ.ศ.2499 มาตรา 15 นั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าป้ายพิพาทไม่ใช่ป้ายที่แสดงไว้ภายในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐานแล้ว จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าป้ายพิพาทเป็นป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์อีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง