พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า การรับช่วงสิทธิประกันภัย และเหตุสุดวิสัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกามีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัยหลายประเภท โดยมีหนังสือรับรองของสถานกงสุลไทย ณ เมืองบอสตันรับรองความถูกต้องของเอกสารรับรองความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องและไม่ได้ฎีกาโต้แย้งเอกสารดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตให้ตั้งสาขาของบริษัทประกอบธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยจากทางราชการ
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ. เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป. โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณมณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป. เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป. ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ. และ จ. ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้และได้มอบอำนาจให้ พ. มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ. จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์กดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ. ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี กรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด. และ อ. ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้พ. จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือ จำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์กดังนั้นคำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตัน ซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์ก เป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยและจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบจำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล. และเรือ ม. บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทช. ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัย เป็นหนังสือมาแสดง
โจทก์ได้แต่งตั้งให้ พ. เป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ในประเทศไทยและมีอำนาจยื่นฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งได้ทำในเมืองต่างประเทศ มี ป. โนตารีปับลิกลงลายมือชื่อรับรองเป็นพยานว่าผู้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจได้สาบานและลงลายมือชื่อต่อหน้าตน และมีใบสำคัญของเลขาธิการแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์กับจ่าศาลสูงแห่งมลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ณมณฑลฮิลส์โบโรห์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องรับรองว่า ป. เป็นโนตารีปับลิกผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย แสดงว่า ป. ซึ่งเป็นโนตารีปับลิกมีอำนาจเป็นพยานรับการสาบานและการลงลายมือชื่อดังกล่าวได้ จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่เอกสารที่แท้จริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47
โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจซึ่ง อ. และ จ. ได้ลงลายมือชื่อมอบอำนาจในฐานะรองประธานและเลขานุการของโจทก์ ซึ่งบุคคลทั้งสองมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้และได้มอบอำนาจให้ พ. มีอำนาจฟ้องคดีทั้งปวงในประเทศไทยและมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ พ. จึงมีสิทธิมอบอำนาจช่วงให้ ส. ฟ้องคดีทั้งปวงแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะได้ใช้หนังสือมอบอำนาจช่วงดังกล่าวฟ้องคดีอื่น ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก เพราะมิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องเฉพาะคดีในคดีหนึ่งเท่านั้น
ใบตราส่งมีข้อความกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่การขนส่งสินค้าไปยังหรือมาจากประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดความเสียหายในระหว่างการขนส่งให้ใช้กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาบังคับ และศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคือศาลแห่งกรุงนิวยอร์กดังนั้น เมื่อสินค้าลงเรือแล้วผู้รับขนได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งสินค้าและสัญญาว่าผู้รับขนจะขนส่งสินค้าไปส่งมอบแก่ผู้รับใบตราส่งในประเทศปลายทาง ใบตราส่งจึงมีลักษณะเป็นหลักฐานแห่งสัญญาในการขนส่งสินค้าอยู่ด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การยอมรับแล้ว ข้อความดังกล่าวจึงมีผลผูกพันคู่สัญญาในใบตราส่ง คือบริษัท บ. ผู้ส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและจำเลยผู้รับขน ส่วนโจทก์เป็นเพียงผู้รับประกันภัยสินค้าในระหว่างการขนส่งจากผู้รับตราส่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย โจทก์เป็นบุคคลภายนอก ไม่ใช่คู่สัญญาในใบตราส่ง จึงไม่ถูกผูกพันตามข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี กรณีจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481
คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและจำนวนหนังโคฟอกย้อมสีที่ได้รับความเสียหายเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจและให้การต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคำนวณค่าเสียหายเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บริษัท 2 บริษัทที่ประเทศเดนมาร์ก คือ ด. และ อ. ได้ร่วมกันมอบอำนาจให้พ. จดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยในประเทศไทยเพื่อประกอบธุรกิจเดินเรือ จำเลยจึงเป็นตัวแทนหรือบริษัทสาขาของบริษัทแม่ 2 บริษัทดังกล่าว คนทั่วไปรู้จักจำเลยในชื่อว่าเมอส์กไลน์หรือสายเดินเรือเมอส์กดังนั้นคำว่าเมอร์กไลน์ จึงเป็นชื่อที่ใช้ในทางธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของบริษัทแม่ 2 บริษัท ที่ประเทศเดนมาร์กรวมทั้งจำเลยด้วย ในใบตราส่งใช้คำว่า เมอส์กไลน์ที่ข้างกระดาษและลงลายมือชื่อโดยเมอส์กไลน์เอเยนซี่เมืองบอสตัน ในฐานะตัวแทนผู้ขนส่ง แม้จะไม่ได้ใช้ชื่อจำเลยออกใบตราส่ง แต่ก็ต้องถือว่าใบตราส่งได้ออกโดยสายเดินเรือเมอส์กที่เมืองบอสตัน ซึ่งเป็นตัวแทนสาขาของบริษัทแม่ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก
เมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงประเทศไทย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทสาขาหรือตัวแทนบริษัทเดินเรือที่ประเทศเดนมาร์กในประเทศไทยได้ยื่นเอกสารขอนำเรือเข้าท่าและขอเช่าเรือลากจูงกับนำหนังสือสัญญาค้ำประกันค่าใช้จ่ายของธนาคารมาวางเป็นประกันต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทย และยื่นเอกสารต่อกองตรวจคนเข้าเมืองตามรายการเกี่ยวกับพาหนะโดยระบุว่าเป็นสายเดินเรือเมอส์ก และเมื่อเรือ ม. เดินทางมาถึงท่าเรือแล้ว จำเลยได้ขออนุญาตต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขอนำเรือเข้าเทียบท่าเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์เข้าโรงพักสินค้า ดังนั้น เมื่อสายเดินเรือเมอส์ก เป็นธุรกิจของบริษัทเดินเรือแม่ในประเทศเดนมาร์กที่จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยและจำเลยเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท และสินค้าที่ขนส่งโดยเรือของสายเดินเรือเมอส์กเพื่อส่งให้แก่ผู้รับตราส่งในประเทศไทยเกิดความเสียหายซึ่งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดชอบจำเลยจะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง จึงไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าวหาได้ไม่
สินค้าพิพาทเสียหายในระหว่างขนส่งเพราะเกิดแต่เหตุสุดวิสัย จำเลยผู้ขนส่งจึงไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 นั้น จำเลยมีหน้าที่นำสืบพิสูจน์
สินค้าหนังโคฟอกย้อมสีที่จำเลยขนส่งถึงกรุงเทพมหานครมาโดยเรือ ล. และเรือ ม. บางส่วนเปียกน้ำทะเลและขึ้นรา เนื่องจากมีน้ำทะเลเข้าไปในตู้คอนเทนเนอร์การที่น้ำทะเลเข้าดาดฟ้าเรือในขณะเรือแล่นอยู่กลางทะเลย่อมเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติของการขนส่งทางทะเล ซึ่งจำเลยผู้ขนส่งทางทะเลย่อมทราบดีถึงภัยทางทะเลดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อป้องกันมิให้สินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ต้องเสียหายจากการที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในตู้สินค้า จำเลยจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เปียกน้ำทะเลว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัยได้ ทั้งเหตุพายุหมุนอย่างรุนแรง คลื่นสูง และท้องทะเลปั่นป่วน จำเลยก็มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าเป็นเหตุผิดปกติวิสัยที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาระเช่นจำเลย จึงยังไม่อาจถือเป็นเหตุสุดวิสัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทช. ผู้เอาประกันภัยสินค้าที่จำเลยขนส่งมา และผู้แทนจำเลยได้พบว่าสินค้าที่จำเลยขนส่งมาเกิดความเสียหายในวันเดียวกับที่จำเลยได้ส่งมอบ แม้จะฟังว่าผู้รับตราส่งได้ชำระค่าระวางเรือแล้ว ก็ไม่อาจฟังได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าไว้โดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงยังไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคหนึ่ง
โจทก์ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยผู้ขนส่งสินค้า มิได้ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาประกันภัย จึงไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการรับประกันภัย เป็นหนังสือมาแสดง