พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16023-16031/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการประเมินผลการทำงานที่ไม่ขัดต่อข้อตกลงสภาพการจ้าง นายจ้างมีอำนาจบริหารจัดการ
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 กับพนักงานของจำเลยอีกส่วนหนึ่งตกลงกับจำเลยว่าหากมีการหยุดงานตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป ถ้าป่วยแต่ละครั้งหากไม่ไปพบแพทย์เพื่อรักษา ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงจะทำการตัดคะแนนประเมินผลครั้งละ 10,000 คะแนน ข้อตกลงของโจทก์ดังกล่าวกับจำเลยในลักษณะเช่นนี้มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแต่เป็นเพียงวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบวิธีการประเมินตามที่ตกลงกันใหม่เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องของอำนาจการบริหารจัดการของนายจ้างที่สามารถกระทำได้ ทั้งเป็นการตกลงก่อนที่จำเลยกับสหภาพแรงงาน ส. และสหภาพแรงงานพนักงาน ส. จะทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับที่ 23 พฤศจิกายน 2549 เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และที่ 6 ถึงที่ 10 ยอมรับข้อตกลงแล้วก็ต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15918/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอัลมอนด์ระหว่างวันที่ 10 ถึงวันที่ 11 เมษายน 2550 จำเลยประกาศให้เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีและระหว่างวันที่ 12 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2550 จำเลยประกาศให้เป็นวันหยุดตามประเพณีเฉพาะส่วนลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ดังนั้น ช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ทั้งสามมีสิทธิหยุดงาน ส่วนวันที่ 9 เมษายน 2550 โจทก์ทั้งสามมาทำงาน แต่ก่อนบันทึกบัตรเข้าทำงาน ผู้จัดการโรงงานถามโจทก์ทั้งสามว่าจะรับข้อเสนอเรื่องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างของจำเลยหรือไม่ ถ้ายอมรับข้อเสนอต้องไปลงชื่อเข้าทำงานในแบบฟอร์มที่หัวหน้า มิฉะนั้นให้ออกไปนอกโรงงาน โจทก์ทั้งสามไม่ยอมรับข้อเสนอจึงออกไปอยู่นอกโรงงาน การที่โจทก์ทั้งสามไม่ได้ทำงานในวันนี้ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์ทั้งสามดังนั้น ช่วงระหว่างวันที่ 9 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2550 ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่ สำหรับระหว่างวันที่ 17 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 ซึ่งโจทก์ทั้งสามหยุดงานด้วยนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยเปิดทำงานตามปกติสำหรับลูกจ้างที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2550 แต่โจทก์ทั้งสามไม่เข้าทำงานกลับไปร่วมชุมนุมกับสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ที่หน้าโรงงาน โดยโจทก์ทั้งสามไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องด้วยเลย ย่อมถือได้ว่า โจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่สหภาพแรงงานฯ ระบุชื่อโจทก์ทั้งสามในบัญชีรายชื่อสมาชิกสหภาพแรงงานฯ กลับเข้าทำงานในวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ให้จำเลยรับลูกจ้างที่ปิดงานกลับเข้าทำงาน ซึ่งหมายถึงเฉพาะลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ เท่านั้น อันเป็นคู่กรณีที่เกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้กับจำเลย ย่อมไม่ทำให้โจทก์ทั้งสามที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานฯ ได้สิทธิตามคำสั่งดังกล่าวไปด้วย และไม่มีผลลบล้างให้โจทก์ทั้งสามไม่มีความผิดละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 17 เมษายน 2550 ถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2550 โดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
เมื่อโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15491/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกระทงจากการปล้นทรัพย์และการฆ่า โดยแยกพิจารณาความผิดของจำเลยแต่ละคน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์รถจักรยานยนต์ของผู้ตาย โดยใช้อาวุธตีประทุษร้ายผู้ตาย โดยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หากทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตาย และร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตายไป ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่างซึ่งแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสามในการกระทำตามที่ทางพิจารณาได้ความก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายและร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย แต่ให้ลงโทษเพียงกระทงเดียวในความผิดฐานฆ่าผู้ตายซึ่งเป็นบทหนักที่สุด แม้โจทก์ไม่ฎีกา ก็มิได้หมายความว่าความผิดฐานลักทรัพย์ยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ในเวลากลางคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13412/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีฉ้อโกงของผู้เสียหายทำให้สิทธิการฟ้องคดีอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายระงับ
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และการที่โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ย่อมเป็นผลให้คำขอในส่วนแพ่งในความผิดฐานฉ้อโกงที่โจทก์ได้ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนหรือให้เงินแก่โจทก์ร่วมตกไปด้วย ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2528 มิได้บัญญัติให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิยื่นคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 คืนหรือใช้เงินในความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ จึงต้องยกคำขอในส่วนแพ่งของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13227/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายคำว่า 'ไตร่ตรองไว้ก่อน' ในฟ้องอาญา ไม่ต้องระบุรายละเอียดวิธีเตรียมการ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า ในการฆ่าผู้ตาย จำเลยที่ 7 ร่วมกับพวกกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คำว่าไตร่ตรองไว้ก่อนมีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นเรื่องที่มีการเตรียมการมาล่วงหน้ามิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยไม่ตั้งใจมาก่อน อีกทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็อ้าง ป.อ. มาตรา 289 มาด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าไตร่ตรองไว้ก่อนอย่างไร ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12525/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเมื่อมีการขอออกโฉนดโดยผู้ไม่มีสิทธิ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 แต่จำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยจำเลยได้ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ บ. ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และหมดสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อ บ. ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จนเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การบรรยายฟ้องดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 ได้กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี แต่เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันเพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ เมื่อจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12039-12042/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สมัครใจทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวภายหลังจากที่จำเลยเลิกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นโจทก์ทั้งสี่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยและมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เพราะพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยไปแล้ว ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็น โมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10907/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน หากศาลอนุญาตแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิ์ของกรรมการลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างกระทำการใดๆ ที่บัญญัติไว้เป็นผลเสียหายแก่กรรมการลูกจ้าง แต่หากนายจ้างเห็นว่ามีกรณีจำเป็นก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้ ซึ่งศาลแรงงานจะพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาต เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและความเหมาะสมเพียงพอสำหรับกรณีที่จำเลยขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นกรณีที่จำเลยดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ภายใต้ดุลยพินิจของศาลแรงงานกลางที่อนุญาต จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10330-10331/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่จำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังผู้ร้องขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง: ศาลมีดุลพินิจได้
เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้ง ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ซึ่งมีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ฟ้องแย้งมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดในส่วนของฟ้องแย้งภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งได้สิ้นสุดลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 199 ฉ ถ้าไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ตามมาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ อย่างไรก็ดี แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะใช้คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นเสียจากสารบบความ" เพื่อเป็นมาตรการมิให้บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ก็มิใช่บทบังคับศาลที่จะต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความเสมอไป ศาลมีอำนาจที่จะให้ดุลพินิจที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้โดยพิจารณาตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นรายๆ ไป สำหรับคดีนี้ ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ฟ้องแย้งผู้ร้องมาในคำคัดค้านในเรื่องเกี่ยวกับคำร้องขอเดิมของผู้ร้อง แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่ายังมีความประสงค์ที่จะดำเนินคดี นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงต่อไปว่า ผู้ร้องได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการรับฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ว่าไม่ถูกต้อง อันอาจเป็นเหตุทำให้ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เห็นว่าต้องรอคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวก่อน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นไม่จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ออกเสียจากสารบบความ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายอุทธรณ์แทนจำเลยโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บ. ทนายจำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ว่าความตามใบแต่งทนายความ แต่ไม่ได้รับอำนาจจากจำเลยที่ 2 ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ จึงเป็นการอุทธรณ์โดยไม่ได้รับอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 2 คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ทนายจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นการลงลายมือชื่อโดยไม่มีอำนาจ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 แต่การที่จะให้จำเลยที่ 2 แก้ไขคำฟ้องอุทธณณ์ หรือมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาคดีเสร็จแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาคดีในส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์และแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำเลยที่ 1 ยังคงมีผลชอบด้วยกฎหมายต่อไป กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ให้ยกฎีกาของโจทก์เสียด้วย