คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อนันต์ ชุมวิสูตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8595/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การพิเคราะห์ความสัมพันธ์ 'ผู้อยู่ในความปกครอง' และการรับฟังพยานหลักฐาน
ผู้เสียหายมิใช่ผู้สืบสันดานตามความเป็นจริงของจำเลย และคำว่า "ผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง" ตาม ป.อ. มาตรา 285 หมายถึง ความปกครองตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่ตามพฤตินัย การที่จำเลยและภริยารับผู้เสียหายมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา ผู้เสียหายมิได้อยู่ในความปกครองของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นลูกเลี้ยง จึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราแก่ผู้อยู่ในความปกครองตาม ป.อ. มาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863-6879/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จ่ายดอกเบี้ยสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สิทธิสมาชิกกองทุนโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเจ็ดในข้อ 1 ขอให้จำเลยชำระเงินเป็นจำนวนเท่ากับผลต่างของดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13 ที่จำเลยจะต้องจ่ายกับผลประโยชน์ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ท. จำกัด หาได้ ซึ่งคิดคำนวณเป็นรายเดือนจากยอดเงินยกมาของโจทก์แต่ละคน ณ วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2549 และให้จำเลยชำระเงินซึ่งคำนวณผลประโยชน์ตอบแทนงวดต่อไปในอัตราร้อยละ 13 นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบเจ็ดขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนที่จำเลยไม่ได้ชำระ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 และวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และเนื่องจากตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ขอให้จำเลยปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายดอกเบี้ยเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี จึงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสิบเจ็ดขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวตลอดไป ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13 ต่อปี กับผลประโยชน์ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ท. จำกัด หาได้ตลอดไปจนกว่าโจทก์ทั้งสิบเจ็ดจะพ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้น จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานจำเลยขึ้นเมื่อประมาณปี 2511 เงินกองทุนฝากไว้กับธนาคารจำเลย โดยจำเลยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเข้ากองทุนในอัตราคงที่ร้อยละ 13 ต่อปี ต่อมามีการจดทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อ. จำกัด เป็นนิติบุคคลและมอบเงินกองทุนให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ท. จำกัด เป็นผู้จัดการในปี 2535 หากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ท. จำกัด นำเงินกองทุนไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้ไม่ครบในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี จำเลยยอมรับภาระจ่ายส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 13 ต่อปี กับผลประโยชน์ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ท. จำกัด หาได้เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานจำเลยการที่จำเลยจ่ายเงินดอกเบี้ยเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคาร อ. จำกัด นั้นสืบเนื่องมาจากจำเลยเคยจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานธนาคารจำเลยก่อนที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจะจดทะเบียน การที่ต่อมากองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็หาทำให้เสียสิทธิผู้ที่เป็นสมาชิกของกองทุนอยู่ก่อนที่จะจดทะเบียนไม่ โจทก์ทั้งสิบเจ็ดซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุนดังกล่าวอยู่ก่อนที่จะจดทะเบียนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
จำเลยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานจำเลยขึ้นเมื่อประมาณปี 2511 จำเลยจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ถึงแม้จะไม่ปรากฏว่าจำเลยตกลงจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13 ต่อปี สมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ตามเอกสารมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 13 ต่อปี โดยจ่ายให้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน และ 31 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งข้อความดังกล่าวสืบเนื่องจากผู้แทนของจำเลยแถลงประกอบเหตุผลที่ไม่สามารถจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานเป็นจำนวน 4 เท่าของค่าจ้างตามข้อเรียกร้องของสหภาพของจำเลยได้ ดังนั้น การจ่ายดอกเบี้ยสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341-6342/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะวิกฤติทางธุรกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะเหตุลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง เป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ปกติที่นายจ้างไม่ได้ประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงในการประกอบกิจการ แต่หากนายจ้างต้องประสบภาวะวิกฤติร้ายแรงถึงขั้นความอยู่รอดของกิจการ นายจ้างก็มีสิทธิอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
จำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2541 ผลกำไรลดลง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายนำเครื่องบินชนตึกเวิร์ลเทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดผลกระทบอย่างสำคัญต่อการประกอบธุรกิจการบินของจำเลย จำเลยต้องดำเนินการเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงทุกด้าน และมีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายสำหรับฐานบินในประเทศไทยด้วยซึ่งเป็นฐานบินขนาดเล็ก โดยลดพนักงานและเลิกจ้างลูกเรือทั้งหมด 38 คน รวมทั้งโจทก์ทั้งสอง อันเป็นการเลิกจ้างในสถานการณ์ไม่ปกติ แม้ไม่ใช่สาเหตุมาจากลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน กระทำความผิด ขาดการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทจำเลย หรือไม่ไปรับการรักษาพยาบาลตามที่จำเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ทั้งจำเลยมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้างแก่โจทก์ทั้งสองเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ถูกต้องตามกฎข้อบังคับในการว่าจ้าง การบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ทั้งสองชอบแล้ว จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6295/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในการแถลงคดีเพื่อขอให้นับโทษต่อ ศาลไม่ต้องตรวจสอบคดีเอง
เมื่อโจทก์เป็นผู้ขอให้ศาลนับโทษต่อจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบว่าคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยหรือไม่ และลงโทษอย่างไร เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจนับโทษต่อให้ตามคำขอของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบ แม้คดีดังกล่าวจะอยู่ในศาลเดียวกันก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลต้องรู้เองและศาลไม่มีหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบคดีนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท ลักทรัพย์โดยใช้อาวุธและวิ่งราวทรัพย์ ศาลลงโทษบทหนักได้
ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ประกอบด้วยการลักทรัพย์โดยใช้กิริยาฉกฉวยเอาซึ่งหน้า จึงรวมการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ด้วย การที่จำเลยกับพวกซึ่งมีอาวุธร่วมกันลักโทรศัพท์มือถือโดยการฉกฉวยเอาซึ่งหน้าโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะ จึงเป็นการร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้อาวุธในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ประกอบมาตรา 336 ทวิ บทหนึ่งและร่วมกันลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าอันเป็นความผิดฐานร่วมกันวิ่งราวทรัพย์โดยใช้อาวุธและยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ อีกบทหนึ่ง ซึ่งเป็นกรรมเดียวกันแต่ผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดจำนอง: เจตนาจำนองเฉพาะวงเงินต้นเงิน, ทายาทรับผิดจำกัดมรดก
การแปลความหมายแห่งสัญญานั้นจะต้องดูข้อความที่ปรากฏในสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่มุ่งทำสัญญาต่อกัน ตามสัญญาจำนองมีข้อความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 16 ที่ 17 และ ผ. จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาฝากเก็บและแปรสภาพข้าวเปลือกของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้กับโจทก์เป็นเงินแต่ละจำนวนที่ระบุไว้ตามลำดับ ซึ่งเป็นการระบุจำนวนต้นเงินไว้ชัดแจ้งแน่นอน แสดงให้เห็นว่าผู้จำนองแต่ละคนมีเจตนาจำนองที่ดินซึ่งประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองเท่านั้น แม้สัญญาจำนองจะมีข้อสัญญาด้วยว่า เมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์ซึ่งจำนองนี้ออกขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้นเงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้จำนองแต่ละคนยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาภายในต้นเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น หาได้มีความหมายว่าจะต้องรับผิดชำระหนี้ที่ขาดจำนวนหลังจากบังคับจำนองซึ่งเท่ากับจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้จำกัดวงเงิน ผู้จำนองไม่ผูกพันหนี้ส่วนที่เกินวงเงินจำนอง แม้มีข้อสัญญาเพิ่มเติม
ผู้จำนองแต่ละคนมีเจตนาจำนองที่ดินของตนเพื่อประกันหนี้ของลูกหนี้ ในวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองเท่านั้น แม้สัญญาจำนองจะมีข้อสัญญาด้วยว่า "เมื่อถึงการบังคับจำนองเอาทรัพย์ซึ่งจำนองนี้ขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกับค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้วนั้น เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและลูกหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน" ก็มีความหมายแต่เพียงว่าผู้จำนองแต่ละคนยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาภายในต้นเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระของต้นเงินดังกล่าวเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องรับผิดชำระหนี้ที่ขาดจำนวนหลังจากบังคับจำนองซึ่งเท่ากับจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ต่อเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีจำหน่ายยาเสพติด: ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับพยานหลักฐานและอำนาจริบของกลาง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยมิได้ฟ้องฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ได้ความจากร้อยตำรวจเอก ส. ว่า ขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางเป็นอุปกรณ์สำหรับเสพเมทแอมเฟตามีน ดังนั้น ขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งริบได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ริบขวดพลาสติกพร้อมหลอดโลหะของกลางนั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าชำรุดที่มีการรับประกันพิเศษ: ไม่ผูกติดกับอายุความทั่วไป
การซื้อขายสีมีการรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษ โดยมีอายุการประกัน 1 ปี อันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการซื้อขาย เมื่อการซื้อขายดังกล่าวมีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษจึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 อีกทั้งไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดแต่ประการใดแต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีรับประกันคุณภาพสินค้า: สัญญาพิเศษมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ซื้อสีจากจำเลยโดยจำเลยรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษเป็นเวลา 1 ปี จึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 474 แต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้นซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
of 27