พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8753/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกลุ่มออมทรัพย์ที่ไม่เป็นบุคคลตามกฎหมาย และการมีอำนาจฟ้องแทนกัน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีโดยเป็นโจทก์ยื่นคำฟ้องหรือเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องต่อศาลได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งบัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล ฯลฯ" และคำว่า บุคคล นั้น ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวเขาสมอคร้า ที่เป็นโจทก์นั้นมิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลมิใช่บุคคลตามกฎหมายจึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ และการรวมกันก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์โจทก์เป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันโดยไม่ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ว่ามีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำจึงไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 อีกทั้งการรวมกลุ่มโจทก์มิได้มีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย นอกจากนี้ ส. ก็มิได้ฟ้องคดีในฐานะบุคคลธรรมดา หรือได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกทั้งกลุ่มของกลุ่มออมทรัพย์โจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่บุคคลตามกฎหมาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) เพื่อประกันหนี้กู้เงิน แม้ไม่เกิดสิทธิยึดหน่วง แต่จำเลยมีสิทธิยึดถือได้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ
การที่ผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้จำเลยยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน แม้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิยึดหน่วงแก่จำเลยเพราะหนี้ที่จำเลยมีเป็นเพียงหนี้เงินกู้ที่จำเลยจะได้รับชำระหนี้คืนจากผู้ตายเท่านั้น หาได้มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยที่ดินใบจอง (น.ส.2) ซึ่งครอบครองไว้นั้นจึงไม่เป็นสิทธิยึดหน่วงดังที่โจทก์ฎีกากล่าวอ้างก็ตาม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อผู้ตายมอบใบจอง (น.ส.2) ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน ซึ่งจำเลยมีสิทธิฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้นตราบใดที่จำเลยยังไม่ได้รับชำระหนี้คืนจนเสร็จสิ้นเชิง จำเลยย่อมมีสิทธิยึดถือใบจอง (น.ส.2) ดังกล่าวไว้
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทซึ่งมีชื่อผู้ตายเป็นผู้ขอเข้าครอบครองที่ดินคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือ หาใช่ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลย แม้จำเลยจะให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทเนื่องจากผู้ตายขายที่พิพาทให้จำเลยแล้ว ก็ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องคืนต้นฉบับใบจอง (น.ส.2) เท่านั้น ทั้งผลของคดีไม่ทำให้สิทธิครอบครองในที่ดินเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดจึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้ศาลชั้นต้นให้คู่ความตีราคาที่ดินตามใบจอง (น.ส.2) ที่พิพาทไว้ด้วย ก็ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเพียง 200 บาท ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นต้นเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นเงิน 8,600 บาท จึงไม่ถูกต้อง ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมา 8,600 บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 วรรคหนึ่ง เหตุจำเลยอ้างอุทธรณ์แทนการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่าจำเลยขออ้างอุทธรณ์จำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาจำเลย เท่ากับฎีกาของจำเลยที่อ้างอุทธรณ์เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะเหตุใด ทั้ง ๆ ที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารในคดีแรงงาน แม้ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และจำเลยไม่โต้แย้ง
แม้ศาลแรงงานภาค 7 จะวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ให้จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่เอกสารนั้นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีที่ทำให้แพ้ชนะคดีระหว่างคู่ความ และข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันนัดพิจารณาคดีทนายความจำเลยที่ 1 แถลงขอเลื่อนคดีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว ศาลแรงงานภาค 7 อนุญาตให้เลื่อนคดีไป ถึงวันนัดทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 7 จึงมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.8 ถึง จ.12 ได้ หากเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7783/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการสืบพยานและการรับฟังพยานเอกสารนอกบัญชีรายชื่อพยาน
การสืบพยานในคดีแรงงาน ศาลแรงงานเป็นผู้มีอำนาจซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเท่านั้น ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจในการซักถามพยานไม่ว่าเป็นการซักถามก่อนอนุญาตให้ตัวความหรือทนายความซักถาม หรือซักถามหลังจากที่พยานเบิกความตอบตัวความหรือทนายความซักถามแล้ว หรือจะซักถามทั้งก่อนและหลังการอนุญาตให้ทนายความหรือตัวความซักถามพยานก็เป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6664/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินและการยึดทรัพย์ประกัน แม้ไม่มีสิทธิยึดตามกฎหมาย แต่ข้อตกลงในสัญญาเป็นผลบังคับได้
แม้จำเลยในฐานะผู้ให้กู้ยืมจะไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาท แต่เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ระบุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิยึดถือทรัพย์ที่นำมาประกันไว้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอโฉนดที่ดิน และหนังสือสัญญากู้เงินคืนจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อผู้แทนของนิติบุคคลทราบการละเมิด
ร้อยเอก อ. รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาคือผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ให้ร้อยเอก อ. ในฐานะนายทหารพระธรรมนูญร่วมฟังการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนเท่านั้น โดยร้อยเอก อ. ไม่ใช่ผู้รับมอบอำนาจโดยตรงจากผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งเป็นผู้แทนสูงสุดของโจทก์ และที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า ร้อยเอก อ. ได้เสนอผลการเจรจาค่าเสียหายต่อผู้บัญชาการทหารบก ร้อยเอก อ. ก็ไม่ได้เบิกความเช่นนั้น โดยร้อยเอก อ. เบิกความแต่เพียงว่า ไม่สามารถตัดสินใจได้ต้องเสนอผู้บังคับบัญชาทราบก่อน ซึ่งในที่นี้หมายความถึง ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของร้อยเอก อ. และที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า อย่างช้าโจทก์ย่อมรู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2540 ที่กองทัพภาคที่ 1 ได้ส่งหนังสือทั้งดำเนินการเกี่ยวกับคดีนี้ไปยังกรมพระธรรมนูญ แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารที่พลตรี ส. รองแม่ทัพภาคที่ 1 ทำการแทนแม่ทัพภาคที่ 1 ทำบันทึกถึงกรมสารบรรณทหารบก เสนอแนวทางให้นำเสนอเรื่องต่อผู้บัญชาการทหารบก ดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหาย อันเป็นการนำเสนอตามขั้นตอนเป็นลำดับขั้นจนถึงผู้บัญชาการทหารบก จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบแล้ว กรณีนี้โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงเจตนาอันเป็นความประสงค์ของนิติบุคคล อายุความจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จะถือเอาการที่ข้าราชการของโจทก์คนใดคนหนึ่งรู้มาเป็นวันเริ่มนับอายุความไม่ได้ กรณีนี้พลตรี ป. เจ้ากรมสารบรรณทหารบกมีหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารบก ผ่านผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 เสนอให้ดำเนินการฟ้องดำเนินคดีแก่ผู้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารบกให้เป็นผู้แทนดำเนินคดีในทางแพ่ง และรับคำสั่งผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ยังไม่พ้นระยะเวลา 1 ปี คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเฝ้าดูแลสถานที่: สิทธิได้รับค่าจ้าง 2 เท่า
กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2541) ฯ กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 และค่าล่วงเวลาในวันหยุดตาม มาตรา 63 แต่ให้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานดังกล่าวไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ซึ่งวันทำงานไม่ได้หมายถึงวันที่นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติตามความหมายของคำว่า "วันทำงาน" ในมาตรา 5 แต่หมายถึงวันทำงานที่ลูกจ้างได้ทำ และตาม มาตรา 62 (2) บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ดังนั้นหากลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงานตามปกติก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ หากลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุดก็มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานในวันหยุดคือ 2 เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย โจทก์ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จึงได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันหยุดหรืออัตรา 2 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ
โจทก์เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย โจทก์ทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จึงได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันหยุดหรืออัตรา 2 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประกันสังคมต่อเนื่องกรณีสถานะนายจ้างเปลี่ยนจากเอกชนเป็นรัฐวิสาหกิจและกลับคืน - สิทธิประโยชน์ทดแทนไต
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร ศ. เป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 วันที่ 27 พฤษภาคม 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรของรัฐสั่งให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นในธนาคาร ศ. เกินร้อยละ 50 ธนาคาร ศ. จึงเปลี่ยนฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนด้วยผลของมาตรา 4 (6) ต่อมาธนาคาร ศ. ควบรวมกับธนาคาร น. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและธนาคาร น. รับโอนโจทก์มาเป็นลูกจ้าง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดการถือหุ้นในธนาคาร น. ลงเหลือไม่เกินร้อยละ 50 ทำให้ธนาคาร น. พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์จึงกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และธนาคาร น. ผู้เป็นนายจ้างหักค่าจ้างโจทก์ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม การที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนและกลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีกครั้งเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนกระทำหรือมีพฤติการณ์ที่ต้องรับผิดชอบ โจทก์ยังคงทำงานเป็นลูกจ้างของธนาคารผู้เป็นนายจ้างตลอดมา ต้องถือว่าการเป็นผู้ประกันตนของโจทก์ช่วงแรกและช่วงหลังต่อเนื่องเป็นการประกันตนในคราวเดียวกันโดยให้นับระยะเวลาการประกันตนช่วงแรกและช่วงหลังต่อเนื่องกันตามมาตรา 42
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2536 ในขณะที่โจทก์เป็นผู้ประกันตนช่วงแรก อันเป็นการป่วยด้วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายระหว่างการเป็นผู้ประกันตน โจทก์จึงมีสิทธิขอรับบริการทางการแพทย์โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
โจทก์ป่วยเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2536 ในขณะที่โจทก์เป็นผู้ประกันตนช่วงแรก อันเป็นการป่วยด้วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายระหว่างการเป็นผู้ประกันตน โจทก์จึงมีสิทธิขอรับบริการทางการแพทย์โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าชดเชย, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, และการหักเงินรางวัลอายุงาน
จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อโจทก์ต้องไปทำงานในต่างจังหวัด หากโจทก์กลับเข้ามาทำงานในกรุงเทพมหานครแล้วจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายให้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จ่ายเงินทั้งสองประเภทให้แก่โจทก์เป็นสวัสดิการ ไม่ใช่จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เงินค่าเบี้ยกันดารและค่าเช่าที่พักจึงไม่เป็นค่าจ้าง
โจทก์แจ้งความประสงค์ให้จำเลยที่ 1 แบ่งจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน จำเลยที่ 1 ตกลง เกิดเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างในการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามกำหนดนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปคือวันที่ 15 สิงหาคม 2547 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทันทีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2547 รวม 18 วัน
แผนรางวัลอายุงานเป็นสภาพการจ้างที่ผูกพันจำเลยที่ 1 กับพนักงานที่รวมถึงโจทก์ด้วย ตามระเบียบแผนรางวัลอายุงานจำเลยที่ 1 มีสิทธิลดเงินรางวัลอายุงานลงได้เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการเลิกจ้างในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอันเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพราะการเลิกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าชดเชยไปหักออกจากเงินรางวัลอายุงานที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1
โจทก์แจ้งความประสงค์ให้จำเลยที่ 1 แบ่งจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15 และวันสิ้นเดือนของทุกเดือน จำเลยที่ 1 ตกลง เกิดเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างในการจ่ายค่าจ้างให้เป็นไปตามกำหนดนั้น สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำเลยที่ 1 บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 เป็นผลให้สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปคือวันที่ 15 สิงหาคม 2547 เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทันทีตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 โดยไม่ได้บอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2547 รวม 18 วัน
แผนรางวัลอายุงานเป็นสภาพการจ้างที่ผูกพันจำเลยที่ 1 กับพนักงานที่รวมถึงโจทก์ด้วย ตามระเบียบแผนรางวัลอายุงานจำเลยที่ 1 มีสิทธิลดเงินรางวัลอายุงานลงได้เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งการเลิกจ้างในทุกกรณี โดยไม่มีข้อยกเว้นกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอันเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพราะการเลิกจ้าง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธินำค่าชดเชยไปหักออกจากเงินรางวัลอายุงานที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยที่ 1