พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด: รถยนต์, โทรศัพท์, เงินสด และการพิจารณาความเชื่อมโยงกับการกระทำผิด
จำเลยที่ 3 ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะไปซื้อผักกาดขาวมาใช้ซ่อนเร้นเมทแอมเฟตามีนของกลาง และพาจำเลยที่ 5 และที่ 6 ซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไปส่งที่ศาลาพักผู้โดยสาร อันเป็นการใช้รถยนต์ของกลางในการกระทำความผิดหรือให้ได้รับผลในการกระทำความผิดโดยตรงอันจะพึงริบตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์สมัครใจลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงินในใบรับเงินที่มีข้อความว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และได้จ่ายเงินเดือน ค่าเสียหายแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า กับค่าชดเชย ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนดังกล่าวเรียบร้อยแล้วและไม่ติดใจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ใดจากจำเลยอีก ใบรับเงินฉบับนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลผูกพันโจทก์ว่าหลังจากโจทก์ได้รับเงินทั้งสามจำนวนอันเป็นเงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานแล้ว โจทก์สละสิทธิที่จะเรียกเงินอื่นใดตามกฎหมายซึ่งมีความหมายรวมทั้งค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมอันไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การเตรียมเงินและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจในการลงคะแนน
การที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยก่อนวันเลือกตั้งเพียง 1 วัน พร้อมยึดธนบัตรฉบับละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 933,000 บาท และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งกับรายชื่อหัวคะแนนบรรจุในห่อใหญ่ 9 ห่อ ซึ่งมีบัญชีรายชื่อภายในแต่ละห่อมีห่อย่อย 37 ห่อ แต่ละห่อย่อยมีซองจดหมายบรรจุธนบัตร 2 ซอง แต่ละซองระบุเลขรหัสและชื่อบุคคลกำกับไว้อยู่ภายในกระเป๋าผ้าร่ม แม้ไม่ปรากฏว่าผู้ที่ไปพบบรรดาหัวคะแนนและแกนนำชาวบ้านเพื่อให้สนับสนุนโดยหาคนมาช่วยลงคะแนนให้ อ. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหมายเลข 9 มีการให้สิ่งตอบแทนแก่คนเหล่านั้นแล้ว แต่ขณะจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางทั้งหมดไว้ มีการจัดทำธนบัตรของกลางไว้พร้อมโดยแยกเป็นห่อและเป็นซองย่อยพร้อมที่จะนำไปแจกจ่ายให้แก่หัวคะแนนหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อในตำบลขุนยวมและตำบลเมืองปอน โดยลักษณะของการกระทำดังกล่าวถือว่าจำเลยจัดเตรียมเพื่อจะให้ธนบัตรของกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์สินเพื่อจูงใจให้บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้น หรือผู้สมัครอื่นหรือพรรคการเมืองใดหรือให้งดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด แม้จำเลยจะยังไม่ได้แจกจ่ายหรือให้ธนบัตรนั้นแก่บรรดาผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหลาย จำเลยก็กระทำความผิดสำเร็จตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากความจงใจทำร้ายประโยชน์นายจ้าง และสิทธิในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
งานเชื่อมโครงหลังคาเหล็กบ้านพักคนงานของจำเลยเป็นหน้าที่ของ ก. ผู้รับเหมาจากจำเลยต้องดำเนินการ โจทก์ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง การที่โจทก์สั่งคนงานของจำเลย 44 คน ไปช่วยผู้รับเหมาทำงานเชื่อมโครงสร้างเหล็กหลังคาโดยที่จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้คนงานรวม 172,040 บาท เป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจหน้าที่ของโจทก์ ทำให้จำเลยขาดประโยชน์จากแรงงานของคนงานเหล่านั้น เป็นกรณีโจทก์จงใจทำให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67, 119 (2), 17 วรรคห้า ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ และ ป.พ.พ. มาตรา 583
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีมีการจดทะเบียนก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทในเครือซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์หากโจทก์มีสิทธิได้รับตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสมทบส่วนของจำเลยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ก่อนโจทก์ฟ้องคดีมีการจดทะเบียนก่อตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทในเครือซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์หากโจทก์มีสิทธิได้รับตามมาตรา 23 จำเลยไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้จ่ายเงินสมทบส่วนของจำเลยในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ ศาลพิพากษาลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เคยพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เพราะเหตุโจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในฟ้อง ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้และขอให้ศาลชั้นต้นนำสำนวนคดีเดิมซึ่งโจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานมาผูกโยงเข้ากับสำนวนคดีนี้ พยานเอกสารทั้งหมดจึงถือว่าเป็นพยานเอกสารที่โจทก์อ้างในคดีนี้ ระหว่างสืบพยานโจทก์ศาลชั้นต้นได้ให้จำเลยตรวจสอบพยานเอกสาร จำเลยมิได้โต้แย้งความถูกต้องแต่อย่างใด เมื่อในสำนวนคดีมีเอกสารเกี่ยวกับการที่เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจสอบข้อมูลทะเบียนอาวุธปืนจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยว่าจำเลยเคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนหรือไม่ ซึ่งได้รับแจ้งว่า ไม่พบรายการตามที่ขอตรวจสอบ แสดงว่าจำเลยไม่เคยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ทั้งพนักงานสอบสวนเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ว่า บิดาของจำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง จึงมีความหมายชัดเจนว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนของกลาง นอกจากนี้ตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยปรากฏว่าจำเลยรับว่าไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนจริง โดยพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองเอกสาร เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบแล้วว่า จำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และพาติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20447/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กรณีลูกจ้างดื่มสุราจนมึนเมา แม้ไม่ได้ทำงานแต่เข้าโรงงาน
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้องในตำแหน่งพนักงานปั๊มโลหะและเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านดื่มสุราในเวลาพักรับประทานอาหารนอกเขตโรงงานของผู้ร้องจนมึนเมา เวลา 12.50 นาฬิกา ผู้คัดค้านกลับเข้ามาตอกบัตรเลิกงานและออกจากโรงงานไปไม่ได้ทำงานในช่วงบ่าย
การที่ผู้คัดค้านดื่มสุราจนมึนเมาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 3.5.6 ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะไม่ให้ลูกจ้างมีอาการมึนเมาในขณะทำงานไม่ว่าในหรือนอกโรงงาน เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของผู้ร้องคือปั๊มชิ้นโลหะด้วยเครื่องจักร หากพนักงานคุมเครื่องปั๊มโลหะขณะมีอาการมึนเมาจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด หรือเพราะเหตุอื่นอาจเกิดอันตรายจากเครื่องจักรแก่พนักงานคนนั้นหรือพนักงานอื่นได้ พฤติกรรมของผู้คัดค้านไม่เหมาะสมแก่การเป็นลูกจ้างที่ดีอย่างยิ่ง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
การที่ผู้คัดค้านดื่มสุราจนมึนเมาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 3.5.6 ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะไม่ให้ลูกจ้างมีอาการมึนเมาในขณะทำงานไม่ว่าในหรือนอกโรงงาน เนื่องจากงานส่วนใหญ่ของผู้ร้องคือปั๊มชิ้นโลหะด้วยเครื่องจักร หากพนักงานคุมเครื่องปั๊มโลหะขณะมีอาการมึนเมาจากการดื่มสุรา เสพยาเสพติด หรือเพราะเหตุอื่นอาจเกิดอันตรายจากเครื่องจักรแก่พนักงานคนนั้นหรือพนักงานอื่นได้ พฤติกรรมของผู้คัดค้านไม่เหมาะสมแก่การเป็นลูกจ้างที่ดีอย่างยิ่ง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20446/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นอำนาจศาลแรงงานจากพฤติการณ์ในกระบวนพิจารณา และผลของการไม่วินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
แม้จำเลยจะให้การว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน แต่ในรายงานกระบวนพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นลูกจ้างโจทก์จริง และศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับเดียวกันนั้นโดยไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอำนาจศาลไว้ด้วย จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ อำนาจศาลอุทธรณ์ และการฟ้องคดีอาญาแม้มีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้จำเลยจะยินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม ก็หาทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปไม่
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่แบ่งตามประเภทคดีคงมีแต่เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น ส่วนในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งมีเขตอำนาจย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลชั้นต้นในเขตอำนาจทุกประเภททั้งที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงและศาลจังหวัดที่อุทธรณ์มาได้ เมื่อคดีนี้อยู่ในเขตจังหวัดสมุทรปราการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีเขตอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18945/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประกันสังคมต่อเนื่อง: กรณีสถานะนายจ้างเปลี่ยนจากบริษัทเป็นรัฐวิสาหกิจและกลับคืน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคาร ศ. และเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าถือหุ้นในธนาคาร ศ. เกินร้อยละ 50 ธนาคาร ศ. ผู้เป็นนายจ้างมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2541 และไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 4 (6) โจทก์จึงสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนโดยผลของกฎหมายที่มีสาเหตุจากการใช้อำนาจของธนาคารแห่งประเทศไทย วันที่ 1 เมษายน 2545 ธนาคาร ศ. โอนกิจการให้ธนาคาร น. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและรับโอนโจทก์เข้าเป็นลูกจ้างของธนาคาร น. ด้วย วันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลดการถือครองหุ้นในธนาคาร น. ลงต่ำกว่าร้อยละ 50 ทำให้สถานะของธนาคาร น. กลับคืนสู่การเป็นบริษัทอีกครั้ง ธนาคาร น. ผู้เป็นนายจ้างจึงหักค่าจ้างของโจทก์นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โจทก์กลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 อีกครั้ง
การที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนเพราะนายจ้างเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในครั้งแรก และโจทก์กลับเป็นผู้ประกันตนอีกครั้งเพราะนายจ้างพ้นสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจในครั้งหลังล้วนเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีส่วนกระทำหรือมีพฤติการณ์ใดที่ต้องร่วมรับผิดชอบ โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นลูกจ้างของธนาคารผู้เป็นนายจ้างตลอดมาไม่ขาดตอน ต้องถือว่าการเป็นผู้ประกันตนทั้งสองช่วงของโจทก์เป็นการประกันตนตามมาตรา 33 คราวเดียวกัน โดยให้นับระยะเวลาการประกันตนทั้งสองช่วงต่อเนื่องกันตามมาตรา 42
โจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 อยู่ในระหว่างระยะเวลาการเป็นผู้ประกันที่ให้นับต่อเนื่องกันนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอรับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนเพราะนายจ้างเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจในครั้งแรก และโจทก์กลับเป็นผู้ประกันตนอีกครั้งเพราะนายจ้างพ้นสถานะการเป็นรัฐวิสาหกิจในครั้งหลังล้วนเป็นผลโดยตรงจากคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีส่วนกระทำหรือมีพฤติการณ์ใดที่ต้องร่วมรับผิดชอบ โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นลูกจ้างของธนาคารผู้เป็นนายจ้างตลอดมาไม่ขาดตอน ต้องถือว่าการเป็นผู้ประกันตนทั้งสองช่วงของโจทก์เป็นการประกันตนตามมาตรา 33 คราวเดียวกัน โดยให้นับระยะเวลาการประกันตนทั้งสองช่วงต่อเนื่องกันตามมาตรา 42
โจทก์เจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2543 อยู่ในระหว่างระยะเวลาการเป็นผู้ประกันที่ให้นับต่อเนื่องกันนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอรับการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18624/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินลาภมิควรได้: สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ และผลกระทบของคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ท. ต่อมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 จดทะเบียนเลิกบริษัทโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระบัญชี ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระ จึงแจ้งให้ชำระ ขณะนั้น จำเลยที่ 1 ก็รวบรวมทรัพย์สินของบริษัทแล้วแบ่งคืนเป็นเงินให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงยื่นฟ้องบริษัทต่อศาลภาษีอากรกลางและยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เพื่อเรียกเงินคืน จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 2 รับเงินไว้โดยปราศจากมูลจะอ้างด้วยกฎหมาย จึงเป็นลาภมิควรได้ที่จะต้องคืนให้แก่บริษัท แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องในนามของตนแทนลูกหนี้รวมทั้งไม่ได้เรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย จึงให้ยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์หาได้ไม่ เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 แล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้หรือ 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นมีขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 การที่โจทก์ได้ฟ้องคดีก่อนภายในอายุความแล้ว แม้ระหว่างนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะนำเงินบางส่วนไปชำระให้แก่โจทก์หรือไม่ก็ตาม ย่อมถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง และต่อมาเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาในคดีนั้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ซึ่งอายคุวามครบกำหนดสิบปีไปแล้วโจทก์จึงต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ภายใน 60 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ สำหรับจำเลยที่ 2