พบผลลัพธ์ทั้งหมด 265 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13466/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: นิติบุคคลต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามนั้น ไม่ต้องรับผิด
แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่า ส. ซึ่งเป็นพี่ชายคนโตได้รับมอบหมายจากบิดาให้บริหารกิจการของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว โดย ช. และ ม. มิได้เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งการกระทำการแทนจำเลยต้องมีกรรมการอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยจึงผูกพันจำเลยตามเงื่อนไขที่ได้มีการจดทะเบียนนิติบุคคลไว้ การที่ ส. ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทแต่เพียงผู้เดียวจึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลไว้ดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการสั่งจ่ายในนามของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่า ช. หรือ ม. ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่อให้เห็นว่าเป็นการเชิดหรือยินยอมให้ ส. นำเช็คพิพาทซึ่งมีลายมือชื่อปลอมของผู้ร่วมสั่งจ่ายไปแลกเงินสดจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเนื้อความในเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13254/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษยักยอกทรัพย์หลายกรรม ศาลต้องพิจารณาตามประสงค์โจทก์ในฟ้อง
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้รับเงินจากการจำหน่ายคูปองบริการให้แก่สมาชิกของโจทก์ร่วม หลายรายการ รวมเป็นเงิน 1,737,032,30 บาท อันเป็นเงินของโจทก์ร่วมไว้ในครอบครองของจำเลยแล้วเบียดบังเอาเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์ร่วมไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 และให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน 1,737,032,30 บาท แก่โจทก์ร่วม โดยไม่ได้บรรยายรายละเอียดการกระทำของจำเลยให้ปรากฏว่าเป็นความผิดหลายกรรม ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ดังนี้แม้จะพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเงินของโจทก์ร่วมหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระกัน ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยเป็นหลายกรรม ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยหลายกระทงได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12710/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้างที่กระทบสิทธิลูกจ้าง จำเป็นต้องได้รับความยินยอมหรือปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 กำหนดโดยมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ และเป็นระเบียบที่จำเลยในฐานะนายจ้างประกาศใช้บังคับเอง มิได้เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่ปี 2545 จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกระเบียบในทางที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จำเลยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือต้องแจ้งข้อเรียกร้องต่อลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้มีระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 แล้วใช้ข้อความใหม่แทน เป็นเหตุให้ขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งผู้จัดการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนรวม 40 ขั้น ขั้นต่ำสุด 8,360 บาท และขั้นสูงสุด 54,454 บาท เป็นอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนรวม 38 ขั้น ขั้นต่ำสุด 8,620 บาท และขั้นสูงสุด 51,270 บาท จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำให้ขั้นเงินเดือนลดลงจากเดิมที่เคยมี 40 ขั้น เหลือเพียง 38 ขั้น แม้ว่าในแต่ละขั้นเงินเดือนตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 38 ขั้นเงินเดือนที่กำหนดขึ้นใหม่จะมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนต่อขั้นที่สูงขึ้นอันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง แต่เมื่อลดขั้นเงินเดือนเหลือเพียง 38 ขั้น เป็นเหตุให้ขั้นเงินเดือนที่ 38.5 ถึงขั้นเงินเดือนที่ 40 ซึ่งมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนที่สูงกว่าขั้นเงินเดือนสุดท้ายขั้นที่ 38 ตามระเบียบที่แก้ไขใหม่ไม่มีอยู่อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนดังกล่าวไม่เป็นคุณต่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมและจำเลยไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 13 ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 และบัญชีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด พ.ศ.2547 ที่กำหนดขั้นเงินเดือนเพียง 38 ขั้น จึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องกำหนดขั้นเงินเดือนและอัตราค่าจ้าง/เงินเดือน สำหรับตำแหน่งผู้จัดการนับแต่ขั้นที่ 38.5 ขึ้นไปเพิ่มเติมให้ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 ต่อไป
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลกระทบต่อโจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการและต้องรับเงินเดือนตามอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนที่จำเลยกำหนดขึ้น แม้จะเป็นขั้นเงินเดือนที่โจทก์ยังไม่ได้รับจริง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้มีระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 แล้วใช้ข้อความใหม่แทน เป็นเหตุให้ขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งผู้จัดการเปลี่ยนแปลงจากที่เคยมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนรวม 40 ขั้น ขั้นต่ำสุด 8,360 บาท และขั้นสูงสุด 54,454 บาท เป็นอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนรวม 38 ขั้น ขั้นต่ำสุด 8,620 บาท และขั้นสูงสุด 51,270 บาท จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำให้ขั้นเงินเดือนลดลงจากเดิมที่เคยมี 40 ขั้น เหลือเพียง 38 ขั้น แม้ว่าในแต่ละขั้นเงินเดือนตั้งแต่ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 38 ขั้นเงินเดือนที่กำหนดขึ้นใหม่จะมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนต่อขั้นที่สูงขึ้นอันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง แต่เมื่อลดขั้นเงินเดือนเหลือเพียง 38 ขั้น เป็นเหตุให้ขั้นเงินเดือนที่ 38.5 ถึงขั้นเงินเดือนที่ 40 ซึ่งมีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนที่สูงกว่าขั้นเงินเดือนสุดท้ายขั้นที่ 38 ตามระเบียบที่แก้ไขใหม่ไม่มีอยู่อีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงเฉพาะในส่วนดังกล่าวไม่เป็นคุณต่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในตำแหน่งผู้จัดการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมและจำเลยไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 13 ระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 และบัญชีอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด พ.ศ.2547 ที่กำหนดขั้นเงินเดือนเพียง 38 ขั้น จึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องกำหนดขั้นเงินเดือนและอัตราค่าจ้าง/เงินเดือน สำหรับตำแหน่งผู้จัดการนับแต่ขั้นที่ 38.5 ขึ้นไปเพิ่มเติมให้ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ รพช. จำกัด ว่าด้วยเจ้าหน้าที่และสวัสดิการเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์ พ.ศ.2544 ต่อไป
การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลกระทบต่อโจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการและต้องรับเงินเดือนตามอัตราค่าจ้าง/เงินเดือนที่จำเลยกำหนดขึ้น แม้จะเป็นขั้นเงินเดือนที่โจทก์ยังไม่ได้รับจริง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10972/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแรงงาน: การนับอายุความเริ่มจากวันที่อาจบังคับสิทธิได้ และการยกอายุความของผู้ค้ำประกัน
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีถึงโจทก์ว่าจะดำเนินการติดตามลูกหนี้ทั้งหมดมาชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนพฤษภาคม 2535 แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติได้ โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2535 ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 โดยให้เริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 24 มิถุนายน 2545 เมื่อนับถึงวันที่ 1 มิถุนายน 2535 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 694
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10694/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมและศาลทหาร: ศาลยุติธรรมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหารหากไม่มีกฎหมายชัดเจน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 218 บัญญัติว่า "ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจศาลอื่น" และมาตรา 228 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนี้ ศาลยุติธรรมและศาลทหารต่างเป็นศาลตามบทบัญญัติดังกล่าว และต่างมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ศาลยุติธรรมย่อมไม่มีอำนาจเหนือศาลทหารนอกจากจะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องถูกจำคุกโดยผลของคำพิพากษาของศาลทหารสูงสุด แม้ผู้ร้องอ้างว่าการจำคุกดังกล่าวเป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมให้ปล่อยผู้ร้องไม่ได้เพราะไม่มีบทบัญญัติกฎหมายให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจเหนือศาลทหารในกรณีเช่นนี้ได้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6544/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด & การประเมินราคาที่ดิน: การพิสูจน์ความเสียหายและที่ดินติดถนน
บันทึกที่ อ. เจ้าหน้าที่ของโจทก์รายงานเกี่ยวกับการประเมินราคาที่ดินโดยมิได้ระบุว่าผู้ใดต้องรับผิดในทางละเมิด และบุคคลที่ปรากฎชื่อในบันทึกรายงานดังกล่าวก็เป็นเพียงผู้อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกตักเตือนให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเคร่งครัดมิใช่ผู้ที่จะต้องรับผิดในทางละเมิดต่อโจทก์ แม้อธิบดีผู้แทนของโจทก์จะทราบรายงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2539 ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอันจะทำให้ต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันดังกล่าว
ซอยทองหล่อ 12 เป็นทางส่วนบุคคลซึ่งตั้งบนที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และไม่ปรากฏว่า เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 มีสิทธิผ่านซอยทองหล่อ 12 ออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 อยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะคำว่าที่ดินติดถนนซอยนั้นย่อมต้องหมายถึงที่ดินที่เจ้าของสามารถใช้ประโยชน์จากถนนซอยได้โดยชอบซึ่งจะมีผลทำให้ที่ดินมีมูลค่าในทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
ซอยทองหล่อ 12 เป็นทางส่วนบุคคลซึ่งตั้งบนที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และไม่ปรากฏว่า เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 มีสิทธิผ่านซอยทองหล่อ 12 ออกสู่ทางสาธารณะได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 122316 อยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะคำว่าที่ดินติดถนนซอยนั้นย่อมต้องหมายถึงที่ดินที่เจ้าของสามารถใช้ประโยชน์จากถนนซอยได้โดยชอบซึ่งจะมีผลทำให้ที่ดินมีมูลค่าในทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินเพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หากประเมินถูกต้องตามสภาพที่ดิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ไม่ติดทางสาธารณะประโยชน์ซอยทองหล่อ 12 เมื่อไม่เป็นที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์ กรณีจึงไม่ใช่ที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 3 ตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่มีราคาประเมินตารางวาละ 40,000 บาท แต่เป็นที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 7 ซึ่งคือ ที่ดินนอกเหนือจากหน่วยที่ 1 ถึงที่ 6 มีราคาประเมินตารางวาละ 15,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป ได้ประเมินราคาที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ตารางวาละ 15,000 บาท เป็นราคาประเมินทั้งสิ้น 13,590,000 บาท และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจากผู้ซื้อและผู้ขายตามราคาประเมินในอัตราร้อยละ 2 เป็นค่าธรรมเนียม 271,800 บาท โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน พ.ศ.2530 จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602-5604/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาท: ศาลต้องพิจารณาความเชื่อโดยสุจริตของผู้ถูกกล่าวหา แม้ข้อความไม่เป็นความจริง
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยแต่เพียงว่าข้อเท็จจริงรับฟังยุติว่าโจทก์ร่วมไม่ได้เรียกเงินจากครูที่สอบบรรจุและไม่ได้ไล่ลูกจ้างเก่าออกแล้วเรียกเงินจากผู้สมัครสอบเป็นลูกจ้างใหม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 กับพวกใส่ความโจทก์ร่วมในเรื่องดังกล่าวโดยไม่เป็นความจริง จึงมิใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตอันจะทำให้ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท และการที่จำเลยที่ 1 กับพวกใส่ความโจทก์ร่วมเฉพาะในเรื่องดังกล่าวโดยไม่เป็นความจริงก็สามารถทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังได้ในตัวอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีความเชื่ออย่างไรนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากหากจำเลยที่ 1 กับพวก เชื่อโดยสุจริตว่าพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมส่อไปในทางทุจริต แม้จะเป็นการเข้าใจผิด จำเลยที่ 1 กับพวก ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ. มาตรา 329 (3) ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการไม่ชอบ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก เป็นไปตามลำดับศาล ทั้งนี้เพราะคดีอาจถูกจำกัดสิทธิในการฎีกาได้ จึงเห็นสมควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังฟ้องคดี และอำนาจการร้องทุกข์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจในคดีทุจริต
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ โดยให้มีผลเป็นอันยกเลิก พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแทน และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5471-5473/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการเรียกร้องค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ยืนยันการยอมรับการเลิกจ้างของลูกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสี่ (เดิม) ต่อเมื่อลูกจ้างถูกนายจ้างให้ออกจากงานแล้ว
การที่โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี เรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยอ้างว่านายจ้างจ่ายให้ไม่ครบ แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับการเลิกจ้างของนายจ้าง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะทำงานกับนายจ้างต่อไป การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กำหนดค่าเสียหายกรณีการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) แล้ว
การที่โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี เรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยอ้างว่านายจ้างจ่ายให้ไม่ครบ แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับการเลิกจ้างของนายจ้าง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะทำงานกับนายจ้างต่อไป การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กำหนดค่าเสียหายกรณีการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) แล้ว