พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด: สิทธิหน้าที่ ความรับผิด และอายุความของหนี้
คำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยระบุข้อเท็จจริงตรงกันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นกล่าวอ้าง เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดฯ มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามคำฟ้องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท เท่านั้น มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดโดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัดฯ มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือ แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคาร ท. กับโจทก์ และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยเพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิตเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกันและคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัด จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
ตามคำฟ้องโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดมิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท เท่านั้น มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเกี่ยวกับเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัด-อายุความ-การหักทอนบัญชี-สิทธิเรียกร้อง-สัญญา
ตามคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยระบุตรงกันว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ 20/96 ถนนสุขุมวิท ซอยพร้อมมิตร แขวงคลองตันเหนือ เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่จำเลยกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ขึ้นกล่าวอ้างเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้กล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมด โดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือแม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด กับโจทก์และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตกลงให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 และนำยอดเงินการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดที่โจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้มาหักจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 เมื่อหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์2538 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2540 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยมิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
โจทก์จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจึงได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมด โดยผลของกฎหมายตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 มิใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 จึงไม่ต้องทำหลักฐานการโอนหนี้เป็นหนังสือแม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการโอนหนี้ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด กับโจทก์และไม่ได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตกลงให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย ข้อตกลงและการปฏิบัติต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจดูแลกิจการผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ ฟ้องเรียกเอาเงินที่ออกทดรองไป เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
โจทก์นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2536 และนำยอดเงินการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดที่โจทก์เรียกเก็บเงินไม่ได้มาหักจากบัญชีเดินสะพัดของจำเลยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 เมื่อหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2536 ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยโดยให้จำเลยชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2538 อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์2538 เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2540 ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยมิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เป็นอันเพิกถอนไป เป็นการสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, การแปลงสภาพบริษัท, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเช่าซื้อไม่เข้าข่ายธุรกิจเงินทุน, อำนาจลงนามหลังแปรสภาพบริษัท, ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจดังกล่าวของโจทก์มิใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแยกประเภทไว้ ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, หนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งแยกประเภทได้ดังต่อไปนี้........ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อบริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุผลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการแปรสภาพบริษัท: สิทธิและอำนาจตามสัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลผูกพันกับบริษัทที่แปรสภาพ
พ.ร.บ.บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตาม พ.ร.บ.นี้ บริษัทเอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่ง พ.ร.บ.มหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่า บริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของหนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพบริษัท: อำนาจตัวแทนยังคงมีผลผูกพันบริษัทที่แปรสภาพหรือไม่
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตามพระราชบัญญัตินี้ บริษัท เอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่งพระราชบัญญัติมหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่าบริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นมหาชนจำกัด, อายุความ, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อโจทก์แปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเดิมมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์ย่อมต้องรับโอนไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดต่าง ๆ จากบริษัทเอกชนเดิมทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 จึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การโอนสิทธิเรียกร้องโดยนิติกรรมระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความปรากฏชัดว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ภายในประเทศเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ย. ในการซื้อสินค้าจากบริษัท ย. พอเข้าใจได้ว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อซื้อสินค้าใด โจทก์จ่ายสินค้าใด ให้ผู้ใด และเป็นเงินจำนวนเท่าใด และที่จำเลยที่ 2 สามารถให้การต่อสู้คดีได้นั้น แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งพอให้จำเลยที่ 2 ได้เข้าใจข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือชำระหนี้แทน ที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัท บ. ไม่มีข้อความตอนใดอาจแปลไปได้เลยว่าจะให้หนี้เดิมของบริษัท บ. ระงับไป จึงเป็นเพียงสัญญาที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ซึ่งยอมชำระหนี้แทนบริษัท บ. เท่านั้น มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ. ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนในเรื่องอายุความ หากจำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นในเรื่องอายุความไว้ โจทก์ย่อมไม่จำเป็นต้องนำสืบ และการที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้เช่นนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับการใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความปรากฏชัดว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ภายในประเทศเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ย. ในการซื้อสินค้าจากบริษัท ย. พอเข้าใจได้ว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อซื้อสินค้าใด โจทก์จ่ายสินค้าใด ให้ผู้ใด และเป็นเงินจำนวนเท่าใด และที่จำเลยที่ 2 สามารถให้การต่อสู้คดีได้นั้น แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งพอให้จำเลยที่ 2 ได้เข้าใจข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือชำระหนี้แทน ที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัท บ. ไม่มีข้อความตอนใดอาจแปลไปได้เลยว่าจะให้หนี้เดิมของบริษัท บ. ระงับไป จึงเป็นเพียงสัญญาที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ซึ่งยอมชำระหนี้แทนบริษัท บ. เท่านั้น มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ. ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนในเรื่องอายุความ หากจำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นในเรื่องอายุความไว้ โจทก์ย่อมไม่จำเป็นต้องนำสืบ และการที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้เช่นนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับการใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน, การแปรสภาพบริษัท, และผลของการเป็นบุคคลล้มละลายต่อการทำนิติกรรม
กรรมการเป็นผู้แทนและเป็นผู้แสดงออกซึ่งความประสงค์ของบริษัทมีอำนาจหน้าที่กระทำการในนามของบริษัทภายในอำนาจของตน และถือว่าเป็นการกระทำของบริษัทเอง ไม่ใช่ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทหรือบริษัทเป็นผู้สั่งการให้ทำจึงไม่ถูกจำกัดอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
บริษัทเอกชนที่จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดตามกฎหมาย ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงการจดทะเบียนแปรสภาพ และไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบในประเด็นหรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดง เป็นต้น เมื่อไม่มีจำเลยคนใดให้การว่า ธ. เป็นบุคคลล้มละลาย แม้จำเลยบางคนจะเบิกความถึงเรื่องดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่อาจรับฟังเพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้
บริษัทเอกชนที่จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมทั้งหมดตามกฎหมาย ไม่ใช่การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบถึงการจดทะเบียนแปรสภาพ และไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้ โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ต้องได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่น ได้จากพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบในประเด็นหรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดง เป็นต้น เมื่อไม่มีจำเลยคนใดให้การว่า ธ. เป็นบุคคลล้มละลาย แม้จำเลยบางคนจะเบิกความถึงเรื่องดังกล่าวก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็น ไม่อาจรับฟังเพื่อวินิจฉัยข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิในการฟ้องคดีหลังแปรสภาพบริษัท, และการยกข้อโต้แย้งใหม่ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์โดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยและมิได้ฟังคำคัดค้านของจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27เมื่อปรากฏว่าจำเลยย่อมทราบว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์แล้วแต่จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก