พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3298/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน กรณีการทุจริตโครงการก่อสร้าง แม้จะเกิดก่อนบังคับใช้กฎหมาย
คำเบิกความของพยานผู้ร้องประกอบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 ซึ่งวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. มีความผิดฐานร่วมกันหลอกลวงขายที่ดินให้แก่กรมควบคุมมลพิษตาม ป.อ. มาตรา 341 ประกอบมาตรา 83 และพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 2 ร. ก. และ ว. แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2 ที่เป็นคู่ความในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
ผู้คัดค้านที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 4 ในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2560 แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ร่วมกระทำความผิดฐานฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 51 วรรคสาม ก็ไม่ได้หมายความเฉพาะผู้ร่วมกระทำความผิดเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือมีการทำธุรกรรมกับผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N และผู้คัดค้านที่ 1 กับบริษัทอื่นในกิจการร่วมค้า N ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ว. ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจากบริษัท ค. ที่ ว. ถือหุ้นอยู่ เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ ย่อมรับฟังได้ว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน
เงินที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นเงินที่ผู้คัดค้านทั้งสามได้รับมาตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างและจ้างเหมาเบ็ดเสร็จที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้ความว่าสัญญาดังกล่าวและสัญญาจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการเกิดขึ้นโดยการทุจริตและกิจการร่วมค้า N เป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการทุจริตดังกล่าว โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินและขายที่ดินให้กรมควบคุมมลพิษมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กับบริษัทหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N กับได้ความว่า บริษัทผู้คัดค้านทั้งสามเป็นบริษัทที่มีความเกี่ยวพันและกรรมการบริษัทของผู้คัดค้านทั้งสามที่เกี่ยวข้องก็ถูกศาลฎีกาพิพากษาลงโทษแล้ว เงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่ทำกับกรมควบคุมมลพิษจึงเป็นเงินที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐาน ส่วนผู้คัดค้านที่ 3 แม้มิได้เป็นหุ้นส่วนในกิจการร่วมค้า N แต่ก็เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกิจการร่วมค้า N นอกจากนี้ผู้คัดค้านที่ 3 ยังมี ร. เป็นกรรมการซึ่งมีความเกี่ยวพันกับบริษัทที่ร่วมกระทำความผิดทั้งในกลุ่มจัดหาที่ดินและกลุ่มประมูลงานก่อสร้างโครงการ และ ร. ได้นำผู้คัดค้านที่ 3 เข้าร่วมกระทำความผิดด้วย เพราะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ ร. จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้ ย่อมถือได้ว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้รับไปตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ที่กิจการร่วมค้า N ทำกับกรมควบคุมมลพิษเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดมูลฐาน ซึ่งแม้เงินดังกล่าวศาลปกครองสูงสุดพิจารณาให้กรมควบคุมมลพิษจ่ายตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ แต่ก็เป็นการจ่ายตามมูลสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้าง ฯ ที่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการทุจริตจัดหาที่ดินก่อสร้างโครงการ ทั้งการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดเป็นการพิจารณาวินิจฉัยคนละประเด็น โดยศาลปกครองสูงสุดมิได้พิจารณาประเด็นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และการทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้การจ่ายเงินตามสัญญาการออกแบบรวมก่อสร้างฯ ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก่กิจการร่วมค้า N จะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ก็อาจถูกสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้
คดีขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 เป็นคดีแพ่ง มิใช่คดีอาญา และมูลเหตุการขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินต้องเริ่มนับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้รับเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับแล้ว จึงมิใช่เป็นการใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ในการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเป็นมาตรการทางแพ่งที่ให้อำนาจรัฐติดตามทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจากผู้ครอบครองทรัพย์สินเพื่อมิให้นำทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดต่อไปได้อีก อันเป็นการตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม จึงไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในหนี้ทางแพ่งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 6 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจถอนการยึดทรัพย์เอง ศาลต้องเป็นผู้ชี้ขาดสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อโจทก์ได้ยื่นคำขอยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการในวันดังกล่าวตามคำขอของโจทก์ การยึดทรัพย์ดังกล่าวย่อมมีผลตามกฎหมาย ส่วนที่จำเลยที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไปก่อนในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ตามคำขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ผู้คัดค้านคงมีสิทธิเพียงขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน ดังนั้น ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 4 หรือผู้คัดค้านซึ่งได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 4 ก่อนการยึดเพียง 2 วัน จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะวินิจฉัยเองว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลตามกฎหมาย ทั้งในกรณีนี้ตามกฎหมายก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจถอนการยึดทรัพย์ได้เองและเรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีได้ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้การยึดที่ดินพิพาทไม่มีผลเป็นการยึดตามกฎหมาย เรียกให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายและค่าใช้จ่ายในชั้นบังคับคดีมานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: ถ้อยคำสบประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
การดูหมิ่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136 หมายถึง การด่า ดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม หรือสบประมาทผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว
พันตำรวจเอก ส. โจทก์ร่วม เรียกจำเลยกับพวกไปสอบถามถึงเหตุที่แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่คนร้ายที่ร่วมกันปล้นรถยนต์ ซึ่งได้ความว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ส. เป็นผู้ครอบครองมิใช่จำเลย โจทก์ร่วมจึงให้ ส. เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง ส. แจ้งว่าวันเกิดเหตุพนักงานของบริษัทผู้ให้เช่าชื้อมายึดรถยนต์ของตน เป็นเหตุให้จำเลยเกิดความไม่พอใจกล่าวต่อโจทก์ร่วมว่า "ผู้กำกับเหลี่ยมใส่เราแล้ว" ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามปกติ เพราะก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะรับแจ้งความเรื่องใดย่อมต้องสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดแจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกันโดยการนำเอาความเท็จมาแจ้ง ที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมด้วยถ้อยคำดังกล่าวอันหมายถึงโจทก์ร่วมใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่รับแจ้งความตามที่ ส. แจ้ง ทำให้ผู้ที่ได้ยินเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ถ้อยคำดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่เป็นการกล่าวถ้อยคำสบประมาทโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
พันตำรวจเอก ส. โจทก์ร่วม เรียกจำเลยกับพวกไปสอบถามถึงเหตุที่แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่คนร้ายที่ร่วมกันปล้นรถยนต์ ซึ่งได้ความว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีชื่อ ส. เป็นผู้ครอบครองมิใช่จำเลย โจทก์ร่วมจึงให้ ส. เป็นผู้ให้ข้อเท็จจริง ส. แจ้งว่าวันเกิดเหตุพนักงานของบริษัทผู้ให้เช่าชื้อมายึดรถยนต์ของตน เป็นเหตุให้จำเลยเกิดความไม่พอใจกล่าวต่อโจทก์ร่วมว่า "ผู้กำกับเหลี่ยมใส่เราแล้ว" ทั้งที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ร่วมเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามปกติ เพราะก่อนที่เจ้าพนักงานตำรวจจะรับแจ้งความเรื่องใดย่อมต้องสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้ความชัดแจ้งว่ามีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้นเสียก่อน เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งกันโดยการนำเอาความเท็จมาแจ้ง ที่จำเลยพูดกับโจทก์ร่วมด้วยถ้อยคำดังกล่าวอันหมายถึงโจทก์ร่วมใช้เล่ห์เหลี่ยมไม่รับแจ้งความตามที่ ส. แจ้ง ทำให้ผู้ที่ได้ยินเข้าใจว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ถ้อยคำดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่เป็นการกล่าวถ้อยคำสบประมาทโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำการตามหน้าที่ เป็นการดูหมิ่นโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน แม้ไม่ใช่ตัวการโดยตรง
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งงดการยึด เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม หาใช่กรณีที่จะกระทำได้โดยมีคำสั่งอายัดก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคำสั่งอายัดก่อน เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยแล้วจึงให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1045/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพในคดีกระทำชำเราเด็ก และการกำหนดโทษที่เหมาะสม
การนำสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ไม่จำต้องได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยดังเช่นในคดีที่จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์เพียงแต่นำสืบให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงก็เป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลจะลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033-1034/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟอกเงินจากคดียาเสพติด: ศาลพิจารณาความเชื่อมโยงทรัพย์สินกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบทรัพย์สินและการทำธุรกรรมของผู้คัดค้านที่ 5 เกิดจากความผิดมูลฐานเกี่ยวกับยาเสพติดเพียงแต่ในขณะตรวจสอบประวัติการกระทำความผิดของผู้คัดค้านที่ 5 พบว่าผู้คัดค้านที่ 5 เคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการลักลอบหนีภาษีศุลกากร จึงมีการขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินด้วยเหตุความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากร อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ด้วย โดยผู้ร้องนำสืบแต่เพียงว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2546 ผู้คัดค้านที่ 5 ถูกจับกุมข้อหาร่วมกันนำสิ่งของที่ยังมิได้เสียภาษีเข้าในราชอาณาจักร แต่ปรากฏว่า ป. พยานผู้ร้องเบิกความตอบคำถามค้านทนายผู้คัดค้านที่ 5 ว่า เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2547 ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 แล้ว ตามคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร คดีดังกล่าวถึงที่สุด โดยผู้ร้องไม่ได้นำสืบให้เห็นพฤติการณ์อื่นของผู้คัดค้านที่ 5 อีกว่ามีการกระทำใดอันจะเป็นการลักลอบหนีศุลกากรภายหลังจากผู้คัดค้านที่ 5 ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับศุลกากรเมื่อปี 2546 และผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินใดจากการลักลอบหนีศุลกากรนั้น เมื่อมูลเหตุอันเป็นที่มาของการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้มาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดราย ส. อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (1) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 5 ตกเป็นของแผ่นดินตามความผิดมูลฐานอื่นรวมเข้ามาด้วย ผู้ร้องต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีการกระทำความผิดนั้นเกิดขึ้นและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้คัดค้านที่ 5 ได้มาซึ่งทรัพย์สินใดอันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดนั้น ผู้ร้องจึงจะมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เพราะการร้องขอให้ทรัพย์สินของบุคคลตกเป็นของแผ่นดินเป็นการก้าวล่วงเข้าไปในแดนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การคุ้มครอง ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย เมื่อคดีนี้ศาลจังหวัดกำแพงเพชรมีคำพิพากษาตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2325/2547 และ 2326/2547 ยกฟ้องผู้คัดค้านที่ 5 ในความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้ร้องไม่นำสืบให้เห็นว่า ผู้คัดค้านที่ 5 มีพฤติการณ์อื่นใดเกี่ยวกับการลักลอบหนีศุลกากรและผู้คัดค้านที่ 5 ได้ทรัพย์สินใดไปจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ผู้คัดค้านที่ 5 จึงมิได้เป็นผู้กระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 วรรคหนึ่ง (7) แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: อำนาจยื่นคำร้อง, ระยะเวลา, และเหตุสุดวิสัย
ผู้ร้องทั้งสองบรรยายคำร้องว่า ผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลในคดีแพ่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งได้มีการแบ่งการครอบครองกันเป็นส่วนสัด อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของตน ขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ ส. และผู้ร้องที่ 2 หาได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องที่ 1 ด้วยไม่ ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจของ ล. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวเท่านั้น แม้ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ในฐานะส่วนตัว เมื่อผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจยื่นคำร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8884/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้หรือเป็นประกัน หากมิได้มีเจตนาชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงแล้วว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้กู้ยืมเงินที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แม้ตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องจะระบุว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" อันทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ขัดกับคำฟ้องก็ตาม แต่การค้นหาเจตนาที่แท้จริงจำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่น ๆ ประกอบเข้าด้วยหาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียวและเป็นเรื่องที่คู่ความสามารถนำสืบข้อเท็จจริงได้ กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์บรรยายฟ้องขัดกันอันจะทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจเข้าใจข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาทให้โจทก์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้นั้น จำเลยทั้งสองต้องมีเจตนาออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือสัญญากู้เงินว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงพฤติการณ์หรือข้อตกลงที่ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แตกต่างจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินอย่างไร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนามุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ส่วนข้อความในแบบพิมพ์ที่พิมพ์ออกจำหน่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป โจทก์สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย หากไม่ตรงตามเจตนาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ โจทก์สามารถตกเติมแก้ไขได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการดังกล่าว ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพทำให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันออกเช็คพิพาทให้โจทก์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้นั้น จำเลยทั้งสองต้องมีเจตนาออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือสัญญากู้เงินว่า "เพื่อเป็นหลักฐานในเงินซึ่งข้าพเจ้ากู้ไปนี้ ข้าพเจ้าได้นำเช็คธนาคาร ก. ให้ท่านถือไว้เป็นประกัน" เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงพฤติการณ์หรือข้อตกลงที่ทำให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แตกต่างจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญากู้เงินอย่างไร ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยมีเจตนามุ่งหมายให้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ส่วนข้อความในแบบพิมพ์ที่พิมพ์ออกจำหน่ายและใช้กันอยู่ทั่วไป โจทก์สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย หากไม่ตรงตามเจตนาที่โจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ โจทก์สามารถตกเติมแก้ไขได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำการดังกล่าว ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กเพื่ออนาจาร – การกระทำความผิดหลายกรรม – เจตนาต่างกัน – การรับคำให้การในชั้นสอบสวน
จำเลยชักชวนผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาออกจากห้องเช่าของผู้เสียหายที่ 1 ไปเล่นโทรศัพท์ในห้องเช่าของจำเลยซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน ไม่ว่าจะขออนุญาตผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ เมื่อผู้เสียหายที่ 2 ถูกจำเลยพาไปพยายามกระทำชำเรา ถือได้ว่าเป็นการพาและแยกเด็กไปจากความปกครองดูแล และล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความหมายของคำว่า "พราก" แล้ว จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 เพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 มารดาของผู้เสียหายที่ 2 ส่วนที่จำเลยเจตนากระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจตนาต่างหากจากเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 2 ไป มิใช่กระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 เพื่อการอนาจาร เป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายที่ 1 มารดาของผู้เสียหายที่ 2 ส่วนที่จำเลยเจตนากระทำอนาจารและพยายามกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจตนาต่างหากจากเจตนาพรากผู้เสียหายที่ 2 ไป มิใช่กระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8494/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมอาคารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการพิสูจน์การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
มาตรา 4 ให้คำนิยามคำว่า "ผู้ดำเนินการ" หมายความว่า "เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารซึ่งกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งตกลงรับกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม และผู้รับจ้างช่วง" เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการ โจทก์ย่อมมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยทั้งสองกระทำการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารด้วยตนเอง แต่พยานโจทก์คงมี ภ. พยานโจทก์ที่เบิกความว่าพยานเป็นผู้ตรวจอาคารที่เกิดเหตุ พบว่ามีการก่อสร้างผิดแบบ โดยพยานไม่ได้เบิกความว่าพบเห็นจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างด้วยตนเอง และมี ก. เจ้าของอาคารที่ติดอยู่กับบ้านเกิดเหตุเบิกความแต่เพียงว่าเห็นจำเลยทั้งสองอยู่ด้วยในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ได้เบิกความว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 จึงวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นแก่จำเลยทั้งสองตามมาตรา 69 มิได้