คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 176

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน, ละเมิด, ค่าเสียหายจากการรื้อถอนและขาดประโยชน์จากทรัพย์สิน, อายุความฟ้องคดี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยทั้งสามบุกรุกเข้าไปล้อมรั้วและรื้อบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาท โจทก์ห้ามปรามแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ฟัง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์และให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยทั้งสามให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของ ช. เป็นของจำเลยที่ 3 โดยซื้อมาจาก ช. ตามคำให้การของจำเลยทั้งสามจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่จำเลยทั้งสามยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี หรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามโดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันบุกรุกเข้าไปในเขตที่ดินและรื้อบ้านพิพาทกับตัดโค่นทำลายพืชผลอาสินของโจทก์ที่ปลูกไว้รอบบ้านแล้วล้อมรั้วรอบเขตที่ดินและบ้านพิพาทไม่ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำผิดทางอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์กับความผิดทางแพ่งฐานละเมิดรวมกันมา โจทก์จึงอาศัยมูลคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิดได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์แล้วถอนฟ้องไปก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ซึ่งมีผลให้คู่ความกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องทางอาญาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงไม่มีคดีอาญาค้างพิจารณาอยู่ในศาลและศาลยังมิได้มีคำพิพากษาในส่วนอาญา เมื่อมูลคดีนี้ถือว่ายังไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทั้งสามทางอาญา สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องทางแพ่งเนื่องจากความผิดทางอาญาย่อมต้องบังคับตามกำหนดเวลาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายเรื่องอายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง
เมื่อความผิดทางอาญาที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทและความผิดฐานบุกรุกที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีกำหนดโทษจำคุกสูงที่สุดไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) อายุความฟ้องคดีอาญาจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) จึงต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดบังคับแก่คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา 90 และเมื่อคำนวณนับแต่วันกระทำผิดถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
กรณีไม่มีการฟ้องคดีอาญาย่อมไม่มีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาอันถึงที่สุดที่จะให้นำไปถือตามในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งคดีนี้จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ และในการพิพากษาคดี ข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง และ ป.พ.พ. มาตรา 424
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามสามารถอ้างสิทธิใดๆ ที่จะก้าวล่วงเข้าไปในเขตที่ดินและบ้านพิพาทเพื่อกระทำการใดอันเป็นการกระทบกระเทือนสิทธิเหนือทรัพย์สินดังกล่าวของโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามยอมรับตามฟ้องว่า ได้เข้าไปในเขตที่ดินและรื้อบ้านพิพาทแล้วล้อมรั้วที่ดินพิพาทไม่ให้โจทก์และครอบครัวอยู่อาศัย ใช้ประโยชน์จากผลผลิตที่จะได้จากยางพาราและปาล์มซึ่งโจทก์ปลูกไว้ในเขตที่ดินและบ้านพิพาท การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการจงใจกระทำการโดยไม่สุจริต ทั้งส่งผลโดยตรงให้ทรัพย์สินของโจทก์ได้รับความเสียหายและไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น อันเป็นความผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของจำเลยในคดีละเมิด และการหักเงินค่าสินไหมทดแทนที่ชำระแล้ว
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติถึงผลการถอนฟ้องว่า โจทก์อาจนำฟ้องมายื่นใหม่ได้ แสดงว่าการถอนฟ้องไม่ได้ทำให้หนี้ระงับ จึงไม่ใช่การปลดหนี้ อันเป็นเรื่องความระงับแห่งหนี้ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างคนต่างทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์สามารถแยกออกจากกันได้ซึ่งต่างคนต่างต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดที่ตนกระทำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์
สำหรับจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยตามเงื่อนไขที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่มีต่อโจทก์ จึงเป็นความรับผิดในหนี้จำนวนเดียวกันอันจะแบ่งกันชำระมิได้ ต้องร่วมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 301 จำเลยที่ 4 ชำระเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ตามวงเงินในกรมธรรม์ประกันภัยแล้วส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงได้รับประโยชน์ในส่วนนี้ ไม่ต้องรับผิด ในค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 4 ไปแล้วอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10025/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบอกล้างนิติกรรมโมฆียะกรรมหลังถอนฟ้องคดีเดิม
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลย ย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่คำฟ้องที่โจทก์ได้ถอนฟ้องก็อาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาต เท่ากับว่าไม่เคยมีการฟ้องร้องกันมาก่อน เพราะกฎหมายกำหนดให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการฟ้องร้อง คดีดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ที่โจทก์ยื่นคำแถลงว่าจำเลยละเมิดข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์และจำเลยกระทำกันนอกศาลหลังจากมีการถอนฟ้องแล้ว จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำกันในชั้นศาลและมิใช่เป็นกรณีการใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำพิพากษาถึงที่สุดที่มีอายุความ 10 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่งและวรรคสาม บัญญัติว่า โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม และห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม และมาตรา 193/9 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ คดีนี้เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องล่วงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม คดีโจทก์จึงขาดอายุความต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแย้งของนิติบุคคลอาคารชุด: การบังคับภาระจำยอมและการลบล้างผลทางกฎหมายจากการทิ้งคำร้อง
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขแดงที่ 2572/2550 ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว แต่เมื่อคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขอ จึงย่อมมีผลเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องขอ รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาภายหลังการยื่นคำร้องขอนั้น ทำให้จำเลยที่ 1 กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องขอเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 คดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13293/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง, ดุลพินิจศาล, ฟ้องไม่สมบูรณ์, การต่อสู้คดี
โจทก์ขอถอนฟ้องคดีภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้วซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ดังนี้ การถอนฟ้องของโจทก์เพื่อดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งห้าและทายาทหรือผู้จัดการมรดกของ พ. เป็นคดีใหม่ จำเลยทั้งห้าก็ยังมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดีตามจำเลยที่ 1 และที่ 5 คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9004/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้องทำให้กลับสู่สถานะเดิม โจทก์ไม่มีสิทธิขอเลื่อนคดี
การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ทิ้งฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาภายหลังยื่นคำฟ้อง ทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงไม่มีคดีของโจทก์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และผลกระทบต่อคู่ความ
โจทก์ขอถอนฟ้องคดี ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง บัญญัติว่า "...ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตหรืออนุญาตภายในเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ (1) ห้ามไม่ให้ศาลอนุญาต โดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอด ถ้าหากมี ก่อน..." ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องอ้างว่าฟ้องไม่สมบูรณ์ และจำเลยที่ 1 และที่ 5 จะคัดค้านการถอนฟ้องเหตุตามคำร้องโจทก์ดังกล่าว ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้ และศาลไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างตามคำร้องขอถอนฟ้องว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาเป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องด้วย เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องคดีใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนตามคำฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของฝ่ายตนอย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องคดีของโจทก์ไม่สุจริต ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 5 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8626/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหย่าและอำนาจปกครองบุตร การพิพากษาตามข้อตกลง และการยกฟ้องแย้งเรื่องสินสมรส
ข้อความตามรายงานกระบวนพิจารณาระบุว่า คู่ความแถลงร่วมกันว่าคดีสามารถตกลงกันได้โดยโจทก์และจำเลยตกลงจะไปหย่าขาดจากกัน โดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียว โจทก์ขอถอนคำฟ้องในประเด็นทั้งสองดังกล่าว คงเหลือประเด็นสินสมรสและค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยไม่ค้าน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้อง ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยตกลงประนีประนอมยอมความกันในประเด็นหย่าและอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่เหลือให้ศาลวินิจฉัยตามรูปคดี กรณีมิใช่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 และ 176 ซึ่งศาลต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 เมื่อศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในประเด็นที่เหลือแล้วจึงต้องมีคำพิพากษาตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกฟ้องแย้งโดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเกี่ยวกับฟ้องแย้งเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ 167 วรรคหนึ่ง เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573-4574/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องอุทธรณ์/ฎีกา มีผลผูกพันคู่ความทั้งหมด ทำให้ไม่อาจขอเพิกถอนนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ถูกถอนฟ้อง
ในการถอนคำฟ้องคดีแพ่งนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติไว้มีใจความว่า การถอนคำฟ้องนั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย และตามมาตรา 145 บัญญัติไว้มีใจความว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่มีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง คดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกานั้น ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา และทำให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาเลย ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ ให้โจทก์และบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องซึ่งเป็นของจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 4 ย่อมหมายความถึงว่าโจทก์ไม่สามารถขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การไถ่ถอนจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 การขายที่ดินและการขึ้นวงเงินจำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 และการโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้จำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ได้ ถึงแม้โจทก์จะมิได้ถอนคำฟ้องจำเลยที่ 3 ด้วยก็ตาม การถอนคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ย่อมมีผลผูกพันคู่ความทุกฝ่ายในกระบวนพิจารณา โจทก์จึงไม่อาจที่จะฎีกาขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 4 แต่เพียงฝ่ายเดียวตามลำพังได้ เพราะโจทก์ได้ถอนคำฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 4 และถอนคำฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำนิติกรรมกับจำเลยที่ 3 ไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7740-7747/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง รวมถึงข้อผูกพันตามบันทึกรับเงินค่าชดเชย
ระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 ยื่นคำร้องขอถอนคำฟ้องและศาลแรงงานกลางอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 ถอนคำฟ้องแล้ว การถอนคำฟ้องดังกล่าวย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ไม่อยู่ในฐานะคู่ความและมิได้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางโจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าขณะทำบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่น ๆ ซึ่งมีข้อความว่าโจทก์แต่ละคนไม่ติดใจเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีก โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง ซึ่งโจทก์แต่ละคนย่อมมีอำนาจในการตัดสินใจโดยไม่อยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอีกต่อไป การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในใบรับเงินจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือดังกล่าวดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลแรงงานกลาง เพื่อให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงเป็นว่า ขณะโจทก์แต่ละคนลงชื่อในบันทึกการรับเงินค่าชดเชยและเงินอื่นๆ โจทก์แต่ละคนไม่มีอิสระในการตัดสินใจและยังอยู่ในภาวะที่ต้องเกรงกลัวจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
บันทึกการรับเงินที่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 ทำกับจำเลยเกิดจากการที่จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งร่วมถึงโจทก์บางคนและเกิดจากการที่โจทก์บางคนลาออกจารการเป็นลูกจ้างของจำเลยจำเลยจึงตกลงกับโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เพื่อระงับสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของโจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13 เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน การเลิกจ้าง และการลาออก โดยในขณะที่ทำบันทึกโจทก์ทุกคนทราบอยู่แล้วว่าถูกจำเลยเลิกจ้าง การที่โจทก์ทุกคนลงลายมือชื่อในบันทึกรับเงินย่อมผูกพันตามข้อความในหนังสือนั้นดังนั้น คำว่า ข้าพเจ้าไม่ติดใจที่จะเรียกร้องหรือดำเนินคดีใดๆ กับนายจ้างอีกตามบันทึกการรับเงินค่าชดเชย ย่อมหมายความรวมถึงค่าครองชีพด้วย จำเลยจึงไม่ต้องนำเงินค่าครองชีพจำนวน 700 บาท ไปรวมคำนวณจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 10 และที่ 13
of 20