คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 176

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนอุทธรณ์ทำให้เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลคืนสู่จำเลย เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์และนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ของลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม คำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งตามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) จึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการถอนคำฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม
การถอนคำฟ้องในคดีแพ่งนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 176 บัญญัติว่า "การทิ้งคำฟ้องหรือถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย..." เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ซึ่งยังเป็นของจำเลอยู่ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลพร้อมอุทธรณ์เป็นของผู้อุทธรณ์ การถอนอุทธรณ์ทำให้สิทธิกลับสู่เดิม
เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ไปจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ หาใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้นไม่ จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของจำเลยผู้อุทธรณ์เมื่อต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์ การถอนคำฟ้องอุทธรณ์ย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์จึงยังเป็นของจำเลย และต้องตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยโดยเฉพาะ มิได้กระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์แต่ประการใด โจทก์จึงหามีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6832/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าธรรมเนียมที่วางศาลพร้อมอุทธรณ์เป็นประกัน ไม่ใช่ชำระหนี้ เมื่อถอนอุทธรณ์ เงินคืนเป็นของจำเลย
เงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาที่ผู้อุทธรณ์นำมาวางต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เป็นเพียงเงินที่วางไว้เพื่อเป็นประกันว่า หากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมที่ได้ออกใช้ก่อนจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ มิใช่เป็นการวางเพื่อชำระหนี้ให้แก่คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีในศาลชั้นต้น จึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวยังเป็นของผู้อุทธรณ์
ป.วิ.พ. มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการถอนอุทธรณ์ไว้โดยเฉพาะ แต่มาตรา 246 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับแก่การพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นอุทธรณ์ได้โดยอนุโลม เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) กรณีต้องนำเรื่องการถอนฟ้องตามมาตรา 176 มาใช้บังคับกับการถอนคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุโลม เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยถอนคำฟ้องอุทธรณ์ ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์เลย ดังนี้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยนำมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงตกกลับคืนสู่จำเลยผู้เป็นเจ้าของ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยและผู้ร้องโดยเฉพาะ โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6787/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังชี้สองสถาน และสิทธิในการฟ้องใหม่ โดยไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนการที่ไม่สุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 175 ไม่ได้ห้ามโจทก์ถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถาน โดยบังคับศาลเพียงว่า ห้ามไม่ให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยหรือผู้ร้องสอดถ้าหากมีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ขอถอนฟ้องหลังจากชี้สองสถานและจำเลยทั้งสองคัดค้านก็อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตได้และ ป.วิ.พ. มาตรา 176 ก็ไม่ได้ห้ามโจทก์ที่ถอนฟ้องยื่นฟ้องใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ศาลจึงไม่อาจนำข้อที่โจทก์อ้างไปแก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเข้ามาเป็นคดีใหม่เป็นเงื่อนไขในการสั่งคำร้องขอถอนฟ้องได้ด้วย ทั้งคดีนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้มีการนำพยานหลักฐานเข้าสืบให้อีกฝ่ายเห็นข้อเท็จจริงที่เป็นการสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อเถียงตามคำให้การของฝ่ายตนแต่อย่างไร จึงฟังไม่ได้ว่าการถอนฟ้องของโจทก์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อเอาเปรียบจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีภาษีอากรมีผลลบล้างสิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ทำให้หนี้ภาษีค้างเป็นอันยุติ
การที่จำเลยได้ถอนฟ้องย่อมเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 และ 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 176 เท่ากับว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร หนี้ภาษีอากรค้างตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นอันยุติ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ว่าโดยวิธีฟ้องหรือให้การต่อสู้ในศาลเพื่อขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับตามการประเมินได้ คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่ามีเหตุอันสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับแก่จำเลยหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณางดเบี้ยปรับตามหนังสือแจ้งการประเมินจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นที่ดินของผู้อื่น และผลของการถอนฟ้องคดีก่อนที่มีต่อการฟ้องคดีใหม่
ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น...ฯลฯ..." คำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น การครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์
ปัญหาว่าอำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปด้วยการถอนฟ้องในคดีก่อนหรือไม่เป็นปัญหาสำคัญทั้งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงย่อมอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาได้ไม่ต้องห้ามแม้ว่าจำเลยทั้งสองจะมิได้ยกขึ้นอ้างในคำให้การ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นซึ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ โดยมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้น โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งพึงถือว่าโจทก์ได้ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่ อันเป็นการผูกมัดตัวโจทก์ และแม้โจทก์เองจะเบิกความในคดีนี้โดยตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องแล้วหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ซื้อทีดินที่โจทก์อ้างในดคีก่อน ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการถอนฟ้อง: สิทธิฟ้องไม่ระงับแม้ถอนฟ้องก่อน หากการซื้อขายไม่บริบูรณ์
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2941 โดยทางราชการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย และแม้จะฟังว่าทับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ครอบครองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงต้องถือว่ามีข้อเถียงขัดแย้งกันเอง เนื่องเพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น..." ซึ่งคำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังที่จำเลยทั้งสองเถียงในฎีกา
แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีต่อศาลแรงงานและการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน โดยการขึ้นทะเบียนสำนักจัดหางาน
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น กำหนดเวลาสามสิบวันดังกล่าวเป็นเพียงระยะเวลาที่กำหนดให้ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ที่ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงนำคดีไปสู่ศาลแรงงานภาค 3 โดยฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคของจำเลยตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน พ.ศ.2545 เป็นจำเลยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย จึงเป็นการใช้สิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และได้ดำเนินการนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันตามกฎหมายแล้ว ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงแถลงต่อศาลแรงงานภาค 3 ขอถอนฟ้องเพื่อจะได้ฟ้องจำเลยคดีนี้ให้ถูกต้องต่อไป และศาลแรงงานภาค 3อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีเพื่อฟ้องเป็นคดีนี้ใหม่ และโจทก์ก็ได้นำคดีกลับมาฟ้องจำเลยใหม่ภายในสิบวันนับแต่วันที่ถอนฟ้องคดีเดิมโดยศาลแรงงานภาค 3 ได้รับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาต่อมา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 วรรคสาม หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยคดีนี้ภายในอายุความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ไม่
ตามบทบัญญัติของพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 79 และข้อกำหนดในกฎกระทรวงที่ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนการว่างงานเพราะเหตุลาออกจากงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันให้ได้รับครั้งละไม่เกินกว่าเก้าสิบวัน โดยลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนนั้น หากได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตั้งแต่วันที่แปดนับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย แต่หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักจัดหางานของรัฐภายในสามสิบวันนับแต่วันว่างงานจะได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่วันที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ที่สำนักงานจัดหางานของรัฐเท่านั้น เมื่อโจทก์ขึ้นทะเบียนที่สำนักจัดหางานจังหวัดในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเป็นเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละสามสิบของค่าจ้างรายวันไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันขึ้นทะเบียนตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ.2547 ข้อ 1 (2) และข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้นำสืบซ้ำ หากจำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้อีก แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างหรือใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้าง แต่เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ไปแล้ว คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-ขาดอำนาจฟ้อง: การถอนฟ้องไม่สมบูรณ์หากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
การถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์
of 20