คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 176

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้กลับสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้ยื่นฟ้อง ทำให้ขาดสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
โจทก์ถอนฟ้องเกี่ยวกับการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง ทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 จึงมีผลเท่ากับว่าโจทก์มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) คำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงยุติ โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก, อายุความ, พินัยกรรมปลอม, และอำนาจบังคับคดี
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิทายาท, ผู้จัดการมรดก
หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้น คดีก่อนศาลต้องมีคำวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ซึ่งการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176 นอกจากนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแต่อย่างใด การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1กับพวกเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 1 จะยกอายุความมรดก1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ดังนั้น ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา ถือเป็นฟ้องซ้อน ห้ามตามกฎหมาย
ตามคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่า จำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและที่เช่าและใช้ค่าเสียหาย คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำนืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวตามฟ้องของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย แม้จะอาศัยเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนซึ่งโจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องได้ในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำคำฟ้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน ส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้ง จำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2930/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง พิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตใน การดำเนินคดีของโจทก์แล้ว ศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายอีกด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้ว โจทก์ได้นำคำฟ้องมายื่นใหม่โดยโจทก์ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลง คำฟ้องเดิมหลายแห่งเพื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง มิได้เปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดินอันเป็นสาระสำคัญของคำมั่นว่าจะ ขายที่ดินของจำเลยและตามคำฟ้องเดิมบรรยายว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เวลา 8.30 นาฬิกา โจทก์พร้อมด้วย ว. ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามที่ได้นัดหมายไว้กับจำเลย แต่ในคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่ไม่ได้ระบุ ว. นั้น ชั้นพิจารณา ในคดีเดิมทั้งโจทก์และ ว. ไม่ได้เบิกความถึงว่า ว. ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันเวลาดังกล่าว จึงไม่ทำให้เห็นว่า พยาน โจทก์ทั้งสองเบิกความแตกต่างหรือขัดแย้งกันในเรื่องนี้ นอกจากนั้นคำฟ้องที่โจทก์นำมายื่นใหม่มีข้อความเพิ่มเติมจาก คำฟ้องเดิมว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลย ก็เป็นการเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ดังนี้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานผลการตรวจสอบสิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน ไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
รายงานและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านของโจทก์ที่เสนอต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เป็นเพียงความเห็นหรือข้อเท็จจริงที่เสนอไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ยังไม่มีผลเป็นการชี้ขาดหรือบังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ทั้งจะต้องมีการพิจารณาว่าสมควรจะตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์หรือไม่อีกชั้นหนึ่ง หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ก็ชอบที่จะดำเนินการโต้แย้งคัดค้านตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรง จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ในเรื่องนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับฟ้องมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ภายหลังโจทก์ขอถอนฟ้องไป ก็หาผูกพันมีผลบังคับให้ศาลต้องรับฟ้องคดีนี้ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการซ่อมแซมเสาเข็มและผลของการไม่ถอนฟ้องตามกำหนด การทิ้งฟ้องตามมาตรา 174(2)
คู่ความตกลงกันว่าให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญ 1 คน โจทก์ตั้ง 1 คนและจำเลยตั้ง 1 คน ร่วมกันตรวจสอบชี้ขาดว่า สามารถซ่อมแซมเสาเข็มต้นที่ 167 ได้ดีเป็นปกติได้มาตรฐานเหมือนเสาเข็มต้นอื่น ที่โจทก์ส่งมอบ งานให้จำเลยแล้วหรือไม่ ถ้าเสียงข้างมากว่าซ่อมไม่ได้โจทก์จะถอนฟ้องหากเสียงข้างมากว่าซ่อมได้ จำเลยจะจ่ายเงินประกันผลงานให้โจทก์ดังนั้น เมื่อเสียงข้างมากของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าซ่อมไม่ได้ โจทก์จึงต้องถอนฟ้องไปตามข้อตกลง การที่โจทก์ไม่ถอนฟ้องภายในเวลาที่ศาลกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่ตกไปแม้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่
of 20