พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6909/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่ตกไปแม้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
เมื่อจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5595/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและการฟ้องคดีใหม่: ศาลใช้ดุลพินิจชอบแล้วเมื่อไม่มีพยานสืบ และไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ขณะที่โจทก์ขอถอนฟ้อง โจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน ซึ่งข้อเท็จจริงจะเป็นตามคำฟ้องของโจทก์หรือคำให้การของฝ่ายจำเลย จะรับฟังได้เพียงใดอยู่ที่พยานหลักฐานที่ต่างนำเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องและคำให้การของฝ่ายตน เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ฝ่ายจำเลยต้องเสียเปรียบโจทก์ในเชิงคดี แม้โจทก์ขอถอนฟ้องเพื่อนำคดีมาฟ้องใหม่ โดยการตั้งรูปคดีใหม่ตามที่ฝ่ายจำเลยคัดค้านก็ตาม ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะถอนฟ้องเมื่อใดก็ได้โดยอยู่ในเงื่อนไขและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 และเมื่อโจทก์ได้รับอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว โจทก์มีสิทธิจะนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ตามมาตรา 176 กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือว่าโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ฉะนั้นศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิการฟ้องใหม่ภายในอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ก็มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยทั้งสองอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความหรือกำหนดเวลาฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีก่อนไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีใหม่ในมูลกรณีเดียวกัน หากยังอยู่ในอายุความ
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไป ก็มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยทั้งสองอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความหรือกำหนดเวลาฟ้องคดีตามที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การครอบครอง, และขอบเขตการนำสืบพยาน: ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นการฟ้องร้องที่ดิน
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้าน ของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคืนการครอบครองและอำนาจฟ้อง: ข้อจำกัดการยกข้อกฎหมายจากพยานนอกเรื่อง
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ในคดีก่อนฟ้องขับไล่จำเลยและได้ถอนฟ้องไปโดยสละสิทธิในการดำเนินคดีใหม่นั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจในคดีนั้นกระทำการแทนโจทก์ในคดีนี้ ดังนั้น การถอนฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนจึงไม่ผูกพันโจทก์ในคดีนี้ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ได้ไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 176
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
ที่จำเลยอ้างว่า โจทก์ฟ้องขอคืนซึ่งการครอบครองในที่ดินพิพาทเกินหนึ่งปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไว้ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นอ้างเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142(5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายอันเกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบเท่านั้น หากเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกเรื่องนอกประเด็นแล้ว ศาลจะรับฟังและยกขึ้นวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87
คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยมิได้เข้าปลูกบ้านอาศัยในที่ดินพิพาท บ้านเลขที่ตามฟ้องมิใช่บ้านของจำเลย และจำเลยนำสืบว่าจำเลยเข้าไปดูแลบุตรสาวและหลานจำเลยเป็นบางครั้งเท่านั้น ดังนั้นข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ศาลฎีกาจึงไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องตามที่จำเลยฎีกาขึ้นมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิฟ้องคดี: การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ ย่อมเป็นการสละสิทธิเดิมตามกฎหมาย
โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ. ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีกย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีขับไล่ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีเดิมสิ้นสุดตามกฎหมาย
โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ.เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ.ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใด ๆเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีก ย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิฟ้องคดีเดิมได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล. ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาลแต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล. ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้องต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการถอนฟ้องไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. โจทก์ได้ถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยต่อไปอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน มิใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไป และที่โจทก์ถอนฟ้องในคดีที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสามก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว