พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่หากการถอนฟ้องมิได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล.ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล.ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาล แต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล.ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและ ล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา: อำนาจฟ้องยังไม่สิ้นสุดแม้ถอนฟ้องคดีก่อน
แม้ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 และคดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
ที่จำเลยฎีกาว่า ค่าถมดินที่ค้างชำระได้หักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วนั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า ที่ดินที่ซอยอ่อนนุชจำเลยไม่เคยจ้างโจทก์ให้ถมดินหรือรับซื้อดินจากโจทก์ ส่วนที่ดินที่ซอย 50 เขตบางเขนนั้น จำเลยมิได้จ้างโจทก์ถมดิน จำเลยเพียงแต่รับซื้อดินจากโจทก์บางส่วนแต่ก็ได้ชำระค่าดินให้โจทก์ไปแล้ว ไม่เคยค้างชำระค่าดิน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้นั้น จึงไม่ชอบ ฎีกาจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า ค่าถมดินที่ค้างชำระได้หักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วนั้น จำเลยให้การต่อสู้คดีแต่เพียงว่า ที่ดินที่ซอยอ่อนนุชจำเลยไม่เคยจ้างโจทก์ให้ถมดินหรือรับซื้อดินจากโจทก์ ส่วนที่ดินที่ซอย 50 เขตบางเขนนั้น จำเลยมิได้จ้างโจทก์ถมดิน จำเลยเพียงแต่รับซื้อดินจากโจทก์บางส่วนแต่ก็ได้ชำระค่าดินให้โจทก์ไปแล้ว ไม่เคยค้างชำระค่าดิน คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการหักกลบลบหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้นั้น จึงไม่ชอบ ฎีกาจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3998/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีเดิมใหม่ และไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากคดียังไม่มีคำพิพากษา
โจทก์เคยฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว โจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต แม้คำร้องจะระบุว่าโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป ก็มีความหมายว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้นไม่อาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่แก่จำเลยอีก ดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คดีก่อนศาลจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ถอนฟ้อง ยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี เมื่อโจทก์มาฟ้องใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันหลังการถอนฟ้องผู้กู้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่2รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันมูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59(1)ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่นๆด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นอนุญาตและจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่1ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่1ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก การตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงไม่ระงับเมื่อจำเลยที่1ผู้กู้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วจำเลยที่4ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องต่อผู้ค้ำประกัน: การยกอายุความของผู้กู้ถูกลบล้างเมื่อถอนฟ้อง ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, การถอนฟ้อง, ผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน, การแปลงหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และจำเลยที่ 4 ชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันให้โจทก์ มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยคู่ความร่วมคนหนึ่งให้ถือว่าได้ทำโดยคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 โดยกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกไว้ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วย จึงไม่มีกำหนดอายุความที่จะนำมาพิจารณาได้อีก
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินจึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องผู้กู้มีผลลบล้างกระบวนการสู้คดีเรื่องอายุความ ทำให้สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่และผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตาม แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่ารายปีปีก่อนเป็นฐาน และการเปรียบเทียบกับทรัพย์สินอื่น
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1เป็นการประเมินของปี 2537 ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี 2532 และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียว จึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้
ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียว แต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมา เพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 ไม่ชอบ แม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 แล้ว และปัญหายังมิได้ยุตินั้น เมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป ค่ารายปีของปี 2536 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ไม่ต้องแสดงว่า ถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี 2536 ดังกล่าวประกอบทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96 บาทต่อเดือน โดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคาร ซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเอง มีค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ 70 บาทต่อเดือน เมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าว มิได้กำหนดสูงเกินไป การกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" เมื่อค่ารายปีของปี 2536 เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของปี 2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี 2536 เป็นหลัก จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียว แต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมา เพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 ไม่ชอบ แม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตาม ก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536 แล้ว และปัญหายังมิได้ยุตินั้น เมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในปี 2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป ค่ารายปีของปี 2536 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ไม่ต้องแสดงว่า ถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้น การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี 2536 ดังกล่าวประกอบทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเล ที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน ย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว
ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96 บาทต่อเดือน โดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคาร ซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเอง มีค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ 70 บาทต่อเดือน เมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าว มิได้กำหนดสูงเกินไป การกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18บัญญัติว่า "ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา" เมื่อค่ารายปีของปี 2536 เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กำหนดค่ารายปีของปี 2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี 2536 เป็นหลัก จึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักการใช้ค่าเช่าและค่ารายปีที่ยุติแล้วเป็นฐาน
การประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เป็นการประเมินของปี2537ส่วนค่าเช่าที่โจทก์อ้างถึงเป็นค่าเช่าที่โจทก์ทำสัญญากันไว้ในปี2532และสัญญาเช่าดังกล่าวมีอายุเพียงปีเดียวจึงเป็นเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จึงมีอำนาจทำการประเมินค่ารายปีได้ ที่โจทก์โต้แย้งว่าแม้สัญญาเช่าโจทก์มีอายุเพียงปีเดียวแต่โจทก์ก็คิดค่าเช่ากับผู้เช่าในอัตราเดิมตลอดมาเพราะตึกที่โจทก์ให้เช่ามิได้ตั้งอยู่ริมถนนเศรษฐกิจ ความเจริญของตึกที่เช่าตั้งแต่ปี2532จนถึงปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลงพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1เพิ่มค่ารายปีโดยมิได้แสดงให้เห็นว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536ไม่ชอบแม้โจทก์จะฟ้องคดีและในที่สุดศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์โต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536แล้วและปัญหายังมิได้ยุตินั้นเมื่อโจทก์ทิ้งคำฟ้องจนเป็นเหตุให้ศาลภาษีอากรจำหน่ายคดีคำฟ้องของโจทก์จึงตกไปและมีผลทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ปัญหาข้อโต้แย้งการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ในปี2536จึงถือว่าไม่มีข้อโต้แย้งต่อไปค่ารายปีของปี2536ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ประเมินจึงฟังเป็นยุติโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ไม่ต้องแสดงว่าถนนที่ตึกโจทก์ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนทำให้ต้องมีการประเมินเพิ่มขึ้นการประเมินค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1โดยยึดถืออัตราค่ารายปีของปี2536ดังกล่าวประกอบทรัพย์สินขนาดพื้นที่ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะของบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันย่อมเป็นการประเมินที่ชอบแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์ใช้เป็นสำนักงานเพื่อประกอบธุรกิจของโจทก์พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ได้กำหนดค่ารายปีถัวเฉลี่ยตารางเมตรละ48.96บาทต่อเดือนโดยเทียบเคียงจากโรงเรือนของธนาคารซึ่งธนาคารใช้ดำเนินเองมีค่ารายปีถังเฉลี่ยตารางเมตรละ70บาทต่อเดือนเมื่อโรงเรือนของธนาคารดังกล่าวอยู่ใกล้เคียงกับโรงเรือนของโจทก์และอยู่ติดถนนสี่พระยาเช่นเดียวกับโรงเรือนของโจทก์และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ก็กำหนดค่ารายปีต่ำกว่าโรงเรือนดังกล่าวมิได้กำหนดสูงเกินไปการกำหนดค่ารายปีของทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวจึงชอบแล้ว พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา18บัญญัติว่า"ค่ารายปีของปีที่ล่วงมาแล้วนั้นท่านให้เป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา"เมื่อค่ารายปีของปี2536เป็นอันยุติตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1กำหนดค่ารายปีของปี2537โดยอาศัยค่ารายปีของปี2536เป็นหลักจึงชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้