คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 176

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ถอนฟ้องแล้ว ศาลยังเพิกถอนนิติกรรมได้หรือไม่? ผลกระทบต่อคู่ความภายนอก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่2แล้วการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยมีผลทำให้ข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2เป็นอันยุติและจำเลยที่2มิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาอีกต่อไปแต่กลับเป็นบุคคลภายนอกศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้มีผลผูกพันจำเลยที่2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองทั้งคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนนิติกรรมก็มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2)ที่จะมีผลผูกพันจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันภัยค้ำจุน และอายุความของหนี้ที่เกิดจากสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยหาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา880เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้นและกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยอีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา176ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยให้รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิดเพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา206เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัยค้ำจุนและการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย หาได้ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดไม่ ความรับผิดของจำเลยตามฟ้องจึงเกิดจากสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่จำเลยทำกับผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา887 โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของผู้ต้องเสียหายเข้าใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ต้องเสียหายซึ่งควรจะได้รับจากจำเลยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยโดยตรงในนามของโจทก์เองได้ตามมาตรา 880 เมื่อคำฟ้องของโจทก์อาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนดังกล่าวจึงนำอายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้
เมื่อโจทก์ได้ถอนคำฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมถือว่าการถอนคำฟ้องนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลแห่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย อีกทั้งไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องเป็นคดีใหม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย ฟ้องจำเลยให้รับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 เมื่อผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยกับโจทก์มีสิทธิได้รับค่าเสียหายตั้งแต่วันทำละเมิด เพราะในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามมาตรา 206 เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ต้องเสียหายซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยและเรียกเอาดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามหรือเตือนให้จำเลยชำระหนี้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ย่อมลบล้างผลอุทธรณ์ และจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดหากจำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่1ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่1ไปแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่1จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1มิได้เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ไม่มีหนี้จะให้จำเลยที่2ในฐานะผู้ใช้มอบหมายให้จำเลยที่2กระทำในหน้าที่ราชการมาร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไปปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2จะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ย่อมกระทบสิทธิจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ใช้มอบหมาย แม้ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นอุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ก็ไม่มีหนี้จะให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ใช้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 กระทำในหน้าที่ราชการมาร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด 20 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาพิพากษายืน การทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวา ระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้ และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่ามีกำหนด20 ปี จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า ไม่ใช่วันทำสัญญาจอง และคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้ยื่นอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นนอกเหนือจากที่เคยยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด20ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืนการทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่ามีกำหนด20ปีจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ใช่วันทำสัญญาจองและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้อุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด 20 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคาร จำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์ จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาพิพากษายืน การทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้ และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 20 ปี จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า ไม่ใช่วันทำสัญญาจอง และคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์มีผลเสมือนมิได้ยื่น และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าอาคารให้แก่จำเลยมีกำหนด20ปีนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารจำเลยอุทธรณ์แต่ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำหน่ายคดีสำหรับอุทธรณ์ของจำเลยออกจากสารบบความของศาลอุทธรณ์จำเลยฎีกาขอให้ศาลอุทธรณ์ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปศาลฎีกาพิพากษายืนการทิ้งอุทธรณ์ของจำเลยมีผลเสมือนหนึ่งว่าจำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์นั้นเลยคงมีแต่โจทก์ฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นวาระยะเวลาการเช่าจะเริ่มนับแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ได้และคดีในส่วนที่โจทก์อุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนที่จำเลยฎีกาว่าสัญญาเช่ามีกำหนด20ปีจะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่าไม่ใช่วันทำสัญญาจองและคำวินิจฉัยของศาลล่างทั้งสองเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแบ่งกรรมสิทธิ์รวม, ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 1562 อันเป็นผลให้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่ 3 ถึงแก่กรรมโจทก์ที่ 2 ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไป และเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะ หรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวม การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1364
of 20