พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, กรรมสิทธิ์รวม, การแบ่งแยกที่ดิน, ข้อห้ามตามกฎหมาย, การแก้ไขคำพิพากษา
ปัญหาว่่่าคำฟ้องของโจทก์ต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ได้การที่โจทก์ที่่2ฟ้องจำเลยที่3ซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นผลให้โจทก์ที่2ไม่มีอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่3แต่ในระหว่างพิจารณาจำเลยที่3ถึงแก่กรรมโจทก์ที่2ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่3ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่3แล้วจำเลยที่3จึงมิได้เป็นคู่ความในคดีอีกต่อไปและเมื่อจำเลยอื่นไม่ใช่บุพการีของโจทก์ที่2ฟ้องโจทก์ที่2สำหรับจำเลยอื่นหาตกเป็นโมฆะหรือต้องห้ามตามกฎหมายไม่่่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์รวมการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ที่2และที่4ใบจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินหากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนามานั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้องเพราะไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยแบ่งกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา1364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา ห้ามฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ แม้ถอนอุทธรณ์แล้วก็ไม่ช่วย
คดีเดิมโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยได้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมศาลจังหวัดสมุทรปราการมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องแย้งคดีเดิมและต่อมาโจทก์ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้ง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงซ้อนกับฟ้องแย้งในคดีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง แม้ต่อมาจะปรากฏว่าโจทก์ได้ถอนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องแย้งแล้วก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในขณะยื่นคำฟ้องมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วกระทบสิทธิบุคคลอื่น ศาลไม่สามารถพิพากษาเพิกถนิติกรรมได้
เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1แล้วคู่ความย่อมกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยหากภายหลังถอนฟ้องมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ข้อวินิจฉัยผูกพันบุคคลนอกคดีโดยมิชอบเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วกระทบสิทธิบุคคลภายนอก: ศาลไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมเมื่อถอนฟ้องแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่ 2 ผู้เช่า แต่โจทก์ได้ยื่นคำบอกกล่าวถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่ง ป.วิ.พ. ที่ให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลย ภายหลังเมื่อถอนฟ้องจำเลยที่ 1 แล้ว กรณีหากมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่า ผลย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่ 1 อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดี ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยร่วมกระทบสิทธิของจำเลยอีกคน ทำให้ศาลไม่สามารถพิพากษาเพิกถนนิติกรรมได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการเช่าตึกแถวระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าและขับไล่จำเลยที่2ออกจากตึกแถวแต่เมื่อโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่1ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีจำเลยที่1ออกจากสารบบความแล้วผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยกรณีหากมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยที่ 1 แล้วส่งผลต่อสิทธิในสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ศาลไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมการเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยที่1ผู้ให้เช่ากับจำเลยที่2ผู้เช่าแต่โจทก์ได้ยื่นคำบอกกล่าวถอนฟ้องจำเลยที่1ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา176แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยภายหลังเมื่อถอนฟ้องจำเลยที่1แล้วกรณีหากมีการเพิกถอนนิติกรรมการเช่าผลย่อมเป็นการกระทบต่อสิทธิของจำเลยที่1อันมีอยู่ตามสัญญาเช่าและเป็นบุคคลนอกคดีดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์ที่ให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมต้องฟ้องลูกหนี้ร่วมด้วย หากทิ้งฟ้องหรือจำหน่ายคดี ศาลไม่มีอำนาจพิพากษา
การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 จะต้องฟ้องลูกหนี้เข้ามาในคดีด้วย โจทก์ได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 แล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มรณะก่อนฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แถลง โจทก์เพิกเฉย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีเลย ดังนั้นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนการโอนโดยโจทก์มิได้ฟ้องลูกหนี้คือจำเลยที่ 1หรือทายาทผู้รับมรดกของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและการขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อไม่มีประเด็นพิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ.ผู้ตายเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่มีประเด็นที่พิพาท ในวันไต่สวนคำร้องผู้ร้องขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีไม่ใช่กรณีศาลแสดงว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องจึงขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ไม่ได้ หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องและจำหน่ายคดีแล้วผู้ร้องขอให้ศาลเรียก ร. เข้ามาในคดี และเรียกเอกสารในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1554/2535 ของศาลชั้นต้นมาประกอบการพิจารณาไม่ทำให้คดีนี้มีประเด็นที่พิพาทเพราะการถอนคำร้องลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 เมื่อผู้ร้องถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วจึงไม่มีคำร้องที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมาขอพิจารณาใหม่ได้ แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องใหม่ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ส่งผลให้คดีไม่มีประเด็นพิพาท และไม่สามารถขอพิจารณาใหม่ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ.ผู้ตายเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่มีประเด็นที่พิพาท ในวันไต่สวนคำร้องผู้ร้องขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดี ไม่ใช่กรณีศาลแสดงว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องจึงขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ไม่ได้
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องและจำหน่ายคดีแล้วผู้ร้องขอให้ศาลเรียก ร.เข้ามาในคดี และเรียกเอกสารในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่1554/2535 ของศาลชั้นต้นมาประกอบการพิจารณา ไม่ทำให้คดีนี้มีประเด็นที่พิพาทเพราะการถอนคำร้องลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176
เมื่อผู้ร้องถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วจึงไม่มีคำร้องที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมาขอพิจารณาใหม่ได้ แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องใหม่ได้เท่านั้น
หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องและจำหน่ายคดีแล้วผู้ร้องขอให้ศาลเรียก ร.เข้ามาในคดี และเรียกเอกสารในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่1554/2535 ของศาลชั้นต้นมาประกอบการพิจารณา ไม่ทำให้คดีนี้มีประเด็นที่พิพาทเพราะการถอนคำร้องลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176
เมื่อผู้ร้องถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วจึงไม่มีคำร้องที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมาขอพิจารณาใหม่ได้ แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องใหม่ได้เท่านั้น