พบผลลัพธ์ทั้งหมด 191 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ไม่เป็นการสละสิทธิ ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องใหม่ได้
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัดทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่า ศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไป ไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป ขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์ยังคงมีอยู่ แม้จะเคยขอถอนคำร้องไปก่อน หากไม่มีเจตนาสละสิทธิ
ตามคำร้องขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อน ผู้ร้องแถลงว่าศาลนัดสืบพยานประเด็นผู้ร้องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรี แต่เมื่อถึงวันนัด ทนายโจทก์และทนายผู้ร้องต่างก็ไปที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีปรากฏว่าศาลจังหวัดสุพรรณบุรีแจ้งว่าศาลเจ้าของสำนวนไม่ได้ส่งประเด็นไปจึงไม่สามารถทำการสืบพยานประเด็นผู้ร้องได้ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีขอเฉลี่ยทรัพย์อีกต่อไป จึงขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องเสีย ตามคำร้องดังกล่าวไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าผู้ร้องสละสิทธิที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ในมูลกรณีเดียวกันนั้นอีกในภายหลัง การขอถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งก่อนย่อมไม่ทำให้อำนาจที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องหมดไป ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและการฟ้องแย้ง: ศาลอนุญาตถอนฟ้องได้หากไม่มีผลทำให้คู่ความเสียเปรียบ แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องได้ในภายหลัง
แม้หากศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนเสร็จสำนวนจะต้องพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ถูกต้องก็ตาม แต่การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยเหตุดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับประเด็นในเนื้อหาแห่งคดี จึงไม่เป็นการต้องห้ามมิให้คู่ความรื้อร้องฟ้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จึงหามีผลทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีไม่และเมื่อการอนุญาตให้ถอนฟ้องมีเหตุอันสมควร ฟ้องแย้งย่อมตกไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: พิจารณาความจำเป็นและมิเป็นการเอาเปรียบ
แม้จำเลยจะคัดค้านการถอนฟ้อง แต่การที่ศาลจะอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่นั้นเป็นดุลพินิจของศาล โดยพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นว่าสมควรหรือไม่ประการใด เป็นการถอนฟ้องไปเพื่อที่จะฟ้องใหม่ โดยแก้ไขฟ้องเดิมที่บกพร่องอันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีกับอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ฟ้องของโจทก์โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4 ไม่มีข้อบกพร่องปรากฏให้เห็นว่าจะเป็นการถอนฟ้องไปเพื่อฟ้องใหม่อันเป็นการเอาเปรียบในเชิงคดีแต่โจทก์มีความจำเป็นสำหรับจำเลยอื่นที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อน โดยข้อเท็จจริงที่เป็นที่มาแห่งความจำเป็นนี้ปรากฏแก่โจทก์หลังจากฟ้องคดีไปแล้วถ้าจะถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่จำเป็นโดยไม่ถอนฟ้องจำเลยในคดีนี้ทั้งหมด ก็จะทำให้ต้องมีการพิจารณาคดีในหนี้ที่โจทก์ฟ้องถึงสองครั้ง เป็นการเสียเวลาในการดำเนินคดีโดยไม่จำเป็น ชอบที่จะอนุญาตให้ถอนฟ้องรวมถึงจำเลยที่ 4ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะคัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องพิจารณาผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ การถอนฟ้องเพื่อแก้ไขคำฟ้องใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่องการกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 คัดค้าน โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 แถลงคัดค้าน ดังนี้ คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหายไม่ชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะโจทก์ หากมีข้อบกพร่องในคำฟ้องเดิมแล้วต้องการแก้ไขใหม่ ย่อมสร้างความเสียหายแก่จำเลย
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วศาลจะต้องพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่ายด้วย มิใช่จะพิจารณาแต่เพียงผลได้ผลเสียของโจทก์ผู้ขอถอนฟ้องแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ทราบข้อบกพร่องของคำฟ้องจากคำให้การของจำเลยแล้วไม่ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันนัดชี้สองสถาน ในวันนัดชี้สองสถานทนายโจทก์แถลงด้วยวาจาว่า กรณีเดียวกันนี้ทนายโจทก์ยื่นฟ้องวันเดียวกัน 2 เรื่อง การกลัดเอกสารท้ายคำฟ้องสับสนผิดเรื่อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านหากโจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์จึงขอถอนฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2แถลงคัดค้าน ดังนี้ในวันนั้นถ้าโจทก์ไม่ขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ต้องทำการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไปตามคำฟ้องคำให้การของคู่ความ และเมื่อมีการชี้สองสถานแล้ว ศาลอาจไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา180 วรรคสอง(2) จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยกข้อบกพร่องของคำฟ้องของโจทก์ขึ้นมาต่อสู้คดีไว้แล้ว คดีเห็นได้ชัดว่าเมื่อไม่อาจแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้คดีไว้ให้แจ้งชัดและถูกต้องได้แล้ว โจทก์จึงขอถอนฟ้องเพื่อนำคำฟ้องที่ได้เรียบเรียงใหม่แก้ไขข้อบกพร่องและความไม่ถูกต้องต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ยกขึ้นต่อสู้ไว้แล้วมายื่นใหม่เป็นการเอาเปรียบจำเลยในเชิงคดี ทำให้จำเลยเสียหาย จึงไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจตามกฎหมาย การฟ้องจำเลยที่พ้นตำแหน่งแล้วเป็นอันขาดอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องตรงกับตำแหน่งผู้มีอำนาจ ณ ขณะเกิดเหตุ แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง แต่ผู้ดำรงตำแหน่งเปลี่ยนไปแล้ว ถือไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้าในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งออกโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องฟ้องผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือกรุงเทพมหานครโดยตำแหน่งซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องแล้ว ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนต่อมา ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลต่อไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: จำเลยต้องดำรงตำแหน่งขณะเกิดเหตุ หากมิได้ดำรงตำแหน่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้ฟ้องโดยระบุตำแหน่ง
แม้ในช่องคู่ความในคำฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นจำเลยโดยมิได้ระบุตำแหน่ง แต่ในคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยที่ 1ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารและมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์โจทก์ตามลำดับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเก้า ในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 มิได้ดำรงตำแหน่งตามฟ้องส่วนจำเลยที่ 2 ก็พ้นจากตำแหน่งก่อนโจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจถูกฟ้องได้ เพราะมิได้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่ที่จะปฏิบัติราชการได้ และย่อมมีผลไปถึงจำเลยอื่นด้วย เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีย่อมไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น คำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 และคำร้องขอแก้ฟ้องเลื่อนจำเลยที่ 2 มาเป็นจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีหรือทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงไม่จำเป็นต้องสั่งคำร้องนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลของโจทก์ในคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้อง แต่ศาลอาจงดสืบพยานได้
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติเรื่องทิ้งฟ้องหรือการขาดนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์สืบพยานไปบ้างแล้วการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดต่อมาจึงมิใช่กรณีจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องหรือขาดนัดพิจารณา แต่เป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาตรงตามกำหนดนัดเพื่อสืบพยานโจทก์ต่อไปถือได้เพียงว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบเพิ่มเติมจากที่ได้สืบไปแล้ว ซึ่งศาลอาจสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียได้เท่านั้น ไม่ชอบที่จะจำหน่ายคดีโจทก์.