คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ม. 9

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือ & ขั้นตอนการดำเนินการตาม พ.ร.บ.เวนคืน
เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ขอค่าทดแทนเพิ่มในอุทธรณ์ของโจทก์ ค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้จึงเป็นค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้วไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยต่อศาลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การกำหนดเงินค่าทดแทนจะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการ มิใช่เพียงข้อหนึ่งข้อใด เมื่อโจทก์และจำเลยไม่อาจแสดงให้ศาลเห็นได้ ว่าที่ดินโจทก์ที่จะต้องเวนคืนมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายกัน ในท้องตลาดเป็นราคาเท่าใด ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้ตาม ความเหมาะสมโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว ค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกัน กับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้น ไม่ได้กำหนด เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนให้แก่โจทก์ โจทก์คงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับ ที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำเกินไป ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมและดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับหลังซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากฉบับก่อนสิ้นผลบังคับ 2 เดือน โดยอาศัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ตามที่เคยสำรวจตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนฉบับก่อนที่หมดอายุแล้วโดยไม่ได้ทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฉบับใหม่แต่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับและกำหนดเขตท้องที่ที่จะเวนคืนท้องที่เดียวกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพที่ดินของโจทก์เปลี่ยนแปลงอย่างไร จึงมีอำนาจทำสัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 10 วรรคหนึ่ง สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไม่มีการกำหนดค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)-(5) สภาพและที่ตั้งของที่ดินโจทก์อยู่ติดถนนซอยเทียมร่วมมิตรห่างจากที่ดินที่โจทก์นำสืบเปรียบเทียบซึ่งอยู่ติดถนนซอยยอดสุวรรณประมาณ 100 เมตรไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่ามีความเจริญต่างกันอย่างไรและที่ดินที่โจทก์นำมาเปรียบเทียบขายให้แก่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ จึงไม่อาจเปรียบเทียบราคากันได้ ที่ดินโจทก์สามารถเข้าออกถนนประชาอุทิศ ถนนพระราม 9และถนนรัชดาภิเษกได้แสดงว่าอยู่ในย่านที่เจริญแล้วแม้กิจการที่จะเวนคืนมาสร้างเป็นกิจการเพื่อสาธารณูปการของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การจราจร แต่ก็เก็บค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยสมควรกำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้เพิ่มอีก จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ย เงินฝากประเภทประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9606/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยด้านค่าทดแทนเดิมได้ แม้มีการแก้ไขราคาเพิ่มแล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 44 แบ่งอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเงินค่าทดแทนออกเป็น3 ระดับ คือ คณะกรรมการกำหนดราคาในเบื้องต้นและคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ระดับหนึ่ง กับรัฐมนตรีและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ระดับหนึ่ง และศาลยุติธรรมอีกระดับหนึ่งซึ่งการกำหนดเงินค่าทดแทนแต่ละระดับ คณะกรรมการระดับถัดขึ้นมาหรือศาลมีอำนาจตรวจสอบและสั่งแก้ไขได้แม้คณะกรรมการแก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจะได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 318,500 บาทแต่ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้น 1,190,000 บาทซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ชำระเงินให้โจทก์ไปแล้ว คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมีผลเป็นการตรวจสอบและยกเลิกคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจำนวน318,500 บาทอีก