คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์แต่บังคับได้ - จำนวนหนี้ไม่ตรงตามจริง - ดอกเบี้ยเกินอัตรา - ผิดนัดชำระหนี้
สัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งหนี้ซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้จึงเป็นหลักฐานเป็นหนังสือที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยผู้ลงลายมือชื่อไว้ได้ ส่วนจำนวนเงินกู้ที่ระบุไว้ 800,000 บาท เมื่อจำเลยต่อสู้และนำสืบพยานหลักฐานหักล้างและฟังได้ว่า จำเลยได้กู้ยืมเงินจากโจทก์เพียง 400,000 บาท ก็เป็นเพียงการทำให้จำนวนหนี้ในสัญญาจำนองนั้นไม่สมบูรณ์เท่านั้น มิใช่กรณีที่ทำให้สัญญาจำนองเป็นเอกสารที่มีการทำปลอมขึ้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
โจทก์หักเงิน 60,000 บาท เป็นค่าดอกเบี้ย 3 เดือนไว้ ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อสัญญาจำนองทำเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 และกำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ถือว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนดจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดทันทีนับแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2543 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษีและการฟ้องคดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินจำนวน 2,817,028.21 บาท จำนวนเงินได้และเงินค่าภาษีที่แตกต่างกันมากเช่นนี้ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ต่ำกว่าเป็นจริงโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีหมายเรียกวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2532 ให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำพร้อมส่งมอบบัญชีและเอกสารหลักฐานต่างๆ เพื่อการไต่สวนตรวจสอบ จำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ภายหลังจากทราบว่ามีหนี้ค่าภาษีอากรที่จะต้องถูกประเมินใหม่ชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน ก็ชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์ อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีให้จำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบอยู่ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 จะออกจากการเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แล้ว แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกตรวจสอบภาษีจากโจทก์ โดยได้ซื้อขายที่ดินในราคาเพียง 2,990,000 บาท ทั้งๆ ที่ที่ดินมีราคาประเมินรวม 7,960,000 บาท ย่อมชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย
โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อ น. นิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริงเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลการโอนขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1821/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลหลีกเลี่ยงภาษี การโอนทรัพย์สินเพื่อพ้นจากการบังคับชำระหนี้ และอายุความฟ้องคดี
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบปีบัญชี 2539 จำนวน 18,779 บาท ซึ่งต่ำกว่าการประเมินของพนักงานโจทก์ถึง 8,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 1 ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมไม่รวมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงิน 2,817,028.21 บาท เมื่อโจทก์มีหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 ไปให้ถ้อยคำเพื่อการไต่สวนตรวจสอบจำเลยที่ 1 จึงต้องทราบแล้วว่าเจ้าพนักงานจะต้องประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ใหม่ และจำเลยที่ 1 ต้องมีหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มเติมต่อโจทก์ แม้หนี้ดังกล่าวจะยังไม่ทราบจำนวนแน่นอนจากการประเมินของเจ้าพนักงาน การที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินแก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ที่ดินดังกล่าวพ้นจากการถูกยึดบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ได้ทราบถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้
กรมสรรพากรโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาล ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์คืออธิบดี พนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของโจทก์ทุกระดับแม้จะมีหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ เมื่อนิติกรของโจทก์ได้ทำบันทึกข้อความเสนอให้อธิบดีโจทก์ทราบเรื่องการโอนที่ดินเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2540 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสองในวันที่ 17 มีนาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ยังไม่พ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์รู้มูลเหตุให้เพิกถอน จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมซื้อขายที่ดินจากการสมคบกันจดทะเบียนโอนโดยไม่สุจริต และอายุความการฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยได้มีการส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเข้าซ่อมแซมครอบครองตลอดมา อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน ข้อตกลงจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีผลผูกพันบังคับต่อกันได้แล้ว
จำเลยทั้งสองสมคบกันจดทะเบียนโอนซื้อขายที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและไม่มีการชำระเงินกันจริง จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง การแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองในทางทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จึงเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 ก็ได้ โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อใดก็ได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิใช่การฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน - อายุความ - พินัยกรรมสมบูรณ์ - สิทธิในที่ดิน
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียปรียบก็ตาม กรณีเพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว นิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ย่อมถูกเพิกถอนเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อ 10 ปีมาแล้ว โดยหวังจะให้จำเลยเลี้ยงดู แต่จำเลยที่ 1 ได้ด่าว่า บ. บ. จึงต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่เคยดูแลเวลาป่วยก็ไม่พาไปโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนที่ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณเพียง 1 เดือนเพื่อจะไม่ให้ บ. เรียกคืนโดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้ บ. เสียเปรียบ หาก บ. ไม่ถึงแก่ความตายในขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 บ. ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อสิทธิเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 วรรคหนึ่งแห่ง ป.วิ.พ. นอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ. การที่ บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อน รวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามที่ระบุในพินัยกรรมจึงถือไม่ได้ว่า บ. ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองจึงมีผลสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายรถยนต์ผิดนัด: จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อความตามแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อรถยนต์ของจำเลยมีว่า "จองวันนี้รับฟรีโทรศัพท์มือถือ โทรฟรีทั่วไทย บี.เอ็ม.ดับบลิว/เปอร์โยต์ ลักกี้เดย์ ทุกรุ่นทุกแบบผ่อนฟรีไม่มีดอกเบี้ย แถมประกันภัยชั้น 1 ฟรี" ถือว่าเป็นเงื่อนไขในข้อเสนอขายของจำเลย เมื่อโจทก์เข้าสนองตอบตามข้อเสนอขาย โดยเข้าทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท กับจำเลย แต่จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อความในแผ่นปลิวโฆษณาเชิญชวนทั้งต่อมายังนำรถยนต์พิพาทกลับไปไว้ในความครอบครองของจำเลยไม่ส่งมอบคืนให้โจทก์ได้ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาท จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดี ถือได้ว่าสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาท เลิกกันโดยปริยาย มีผลให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยรับรถยนต์พิพาทกลับคืนมาไว้ในความครอบครองแล้วจึงมีหน้าที่ต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 378 (3) ส่วนการที่โจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์พิพาทก่อนที่จำเลยนำกลับคืนไป โจทก์จึงต้อง ชำระค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายที่จำเลยเสียไปในการซ่อมแซมรถยนต์พิพาทให้คืนสภาพดีดังเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลเจ้าหนี้ และการเพิกถอนนิติกรรมเฉพาะส่วนของสินสมรส
การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ที่ยังมิได้ฟ้องร้องเพื่อให้บังคับชำระหนี้ก็ตาม
ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 หมายถึง เจ้าหนี้ได้รู้ทั้งข้อที่ว่าลูกหนี้กระทำนิติกรรมที่จะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และข้อที่ว่าลูกหนี้รู้ว่านิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งการรู้ต้นเหตุในกรณีโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นกรมในรัฐบาลหมายถึงการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้ซึ่งเป็นผู้แทนผู้แสดงเจตนาความประสงค์ของโจทก์ ไม่อาจถือว่าการรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลของพนักงานอัยการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนในการดำเนินคดีแพ่งเดิมเป็นการรู้ของอธิบดีกรมป่าไม้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420-423/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดิน กรณีผู้ขายฝากไม่สุจริตและเจ้าหนี้เสียหาย
โจทก์ทั้งแปดได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 1 ชำระราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วนในวันทำสัญญา และได้ติดตามทวงถามให้จำเลยที่ 1 ทำการแบ่งโฉนดโอนให้แก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉย ส่วนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ได้ผ่อนชำระที่ดินพิพาทที่จะซื้อแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ย้ายไปเสียจากภูมิลำเนาไม่มีใครทราบว่าไปอยู่ ณ ที่ใด และไม่แจ้งให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ทราบ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้ผ่อนชำระ ราคาที่ดินแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป กรณีจะถือว่าสัญญาสิ้นสุดโดยปริยายเพราะโจทก์ทั้งแปดไม่นำพาปฏิบัติตามสัญญา อันมีผลเป็นการยกเลิกสัญญากันโดยปริยายไม่ได้ ฉะนั้นด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งแปดและจำเลยที่ 1 จึงทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ทั้งแปด ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญา
จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ทั้งรู้อยู่ว่าที่ดินดังกล่าวได้ทำเป็นที่ดินจัดสรรและมีผู้มาซื้อแล้ว ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทไป โดยรู้ข้อความจริงอันเป็นการให้โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โจทก์ทั้งแปดผู้เป็นเจ้าหนี้จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
โจทก์ทั้งแปดเพิ่งได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปขายฝากแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคม 2537 ฉะนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 4 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2537 และโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2537 จึงหาพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาที่โจทก์ทั้งแปดได้รู้ถึงเรื่อง การขายฝากซึ่งเป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนไม่ คดีโจทก์ทั้งแปดไม่ขาดอายุความหนึ่งปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน และผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) และสละสิทธิครอบครองให้ แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออก น.ส. 3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก.ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3633/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน, การหักเงินชำระ, อายุความฟ้อง, และการแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดที่ดินที่โจทก์กับจำเลยทั้งสามร่วมกันซื้อมา หากไม่อาจปฏิบัติได้ให้ร่วมกัน ใช้ราคาที่ดินแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์และจำเลยทั้งสาม แต่จำเลยที่ 1ได้มอบเงิน 1,000,000 บาท เป็นส่วนหนึ่งของค่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว พิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินตามฟ้องหากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก การที่โจทก์แก้ฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์นำเงิน1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ไปหักออกจากค่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ราคาที่ดินพิพาทให้ด้วยนั้น โจทก์จะต้องยื่นฎีกาโดยทำเป็นคำฟ้องขึ้นมาจะขอมาในคำแก้ฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการทำนิติกรรมที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบแต่เป็นความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยทั้งสามระบุชื่อในที่ดินพิพาทแต่โดยลำพังเอง จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาบังคับไม่ได้และการกระทำของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์จะนำอายุความละเมิดมาบังคับไม่ได้ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความจำเลยทั้งสามฎีกาเพียงว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะฟ้องเกินกำหนด 1 ปีแล้วเท่านั้น มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าในกรณีที่โอนที่ดินไม่ได้ให้จำเลย ทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ โดยหักเงินจำนวน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออก แต่ในกรณีที่สามารถโอนที่ดิน ให้โจทก์ได้ ศาลอุทธรณ์มิได้นำยอดเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์แล้ว จำนวน 1,000,000 บาท มาหักทอนด้วย กรณีอาจมีผลทำให้โจทก์ ได้รับประโยชน์เกินกว่าสิทธิที่ตนควรได้รับ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ สมควรให้โจทก์คืนเงินจำนวน 1,000,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 ในกรณี ที่จำเลยทั้งสามโอนที่ดินให้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์
of 10