พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีนับจากรู้เหตุ
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เกณฑ์การนับเริ่มต้นจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น1ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์สินคืน - เพิกถอน น.ส.3ก. และการซื้อขาย - ไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของโจทก์จำเลยที่1เป็นผู้ครอบครองดูแลแทนโจทก์การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่1ที่2และที่3ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิติดตามเรียกเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนไม่อยู่ในบังคับอายุความเพิกถอนการฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร่วมและการเริ่มนับอายุความคดีภาษีอากร กรณีโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงหนี้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำนิติกรรมโอนขายหุ้นและที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถยึดหุ้นและที่ดินของจำเลยที่ 1 มาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์อันเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ เท่ากับเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่ 1 เพื่อช่วยให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 วรรคหนึ่ง จึงชอบที่โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสี่ร่วมกันมาในคดีเดียวกันได้
ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีไว้แล้วรวมทั้งรับคำให้การจำเลยทั้งสี่ตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5)
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนรับผิดชอบงานราชการและเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ส.และ พ.เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนขายหุ้นและที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในเดือนมกราคม 2530 แต่บุคคลทั้งสองไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดี จึงยังไม่เริ่มนับอายุความ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีของโจทก์ทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่เกิน1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 12กำหนดช่องทางวิธีดำเนินการของโจทก์เกี่ยวกับภาษีอากรค้าง ให้สิทธิโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยได้ หาใช่จำเลยเป็นหนี้ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องเรียกให้ชำระค่าภาษีอากรหรือฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเช่นคดีนี้ ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีไว้แล้วรวมทั้งรับคำให้การจำเลยทั้งสี่ตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ย่อมแสดงให้เห็นว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5)
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรม มีอธิบดีเป็นผู้แทนรับผิดชอบงานราชการและเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ส.และ พ.เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนขายหุ้นและที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในเดือนมกราคม 2530 แต่บุคคลทั้งสองไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดี จึงยังไม่เริ่มนับอายุความ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีของโจทก์ทราบเหตุที่จะขอให้เพิกถอนการโอนไม่เกิน1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสี่ไม่ได้ให้การว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 12กำหนดช่องทางวิธีดำเนินการของโจทก์เกี่ยวกับภาษีอากรค้าง ให้สิทธิโจทก์ยึดทรัพย์จำเลยได้ หาใช่จำเลยเป็นหนี้ที่โจทก์มีอำนาจฟ้องร้องเรียกให้ชำระค่าภาษีอากรหรือฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนเช่นคดีนี้ ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนหุ้นและที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน ความรับผิดของกรรมการบริษัท และอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่2ถึงที่4ทำนิติกรรมร่วมกับจำเลยที่1เพื่อช่วยให้จำเลยที่1ไม่ต้องถูกยึดหุ้นและที่ดินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่โจทก์แม้จำเลยทั้งสี่ต่างเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของตนและสัญญาโอนหุ้นและที่ดินเป็นคนละฉบับก็เป็นเรื่องหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้นถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา59วรรคหนึ่ง แม้คดีจะอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งโดยศาลแพ่งไม่เคยมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ได้แต่ศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดีนี้ทั้งรับคำให้การจำเลยและสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความแสดงว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา14(5) เมื่อจำเลยที่1ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากโจทก์และไม่ชำระภายในกำหนดถือว่าเป็นภาษีอากรค้างแม้จำเลยที่1จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินต่อศาลก็ตามการอุทธรณ์และการฟ้องก็ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดจึงตกอยู่ในฐานะลูกหนี้ของโจทก์ตามจำนวนที่แจ้งการประเมินไปเมื่อจำเลยที่1ได้โอนหุ้นและที่ดินไปหลังจากได้รับแจ้งการประเมินแล้วโดยไม่มีเงินหรือทรัพย์สินเหลือพอจะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือว่าจำเลยที่1ได้ทำนิติกรรมโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบและการที่จำเลยทั้งสี่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันทั้งยังเป็นบริษัทในเครือเดียวกันย่อมจะต้องรู้ถึงการทำนิติกรรมอันเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบด้วย โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมมีอธิบดีเป็นผู้แทนและมีอำนาจฟ้องคดีแทนแม้นาย ส. และนาย พ. เจ้าพนักงานของโจทก์จะทราบเรื่องก่อนฟ้องเกิน1ปีแต่บุคคลทั้งสองก็ไม่ใช่ผู้แทนโจทก์ผู้มีอำนาจฟ้องคดีจึงยังไม่เริ่มนับอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อออกจากโฉนดที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน & อายุความ
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการีคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้นคดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลงแต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วยและขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนดจึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน, อายุความ, และผลผูกพันคำพิพากษา
คดีก่อนอัยการเป็นโจทก์ฟ้องเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามป.พ.พ. มาตรา 1562 อันเป็นการฟ้องแทนจำเลยซึ่งห้ามมิให้ฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นบุพการี คำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก ที่พิพากษายืนตามศาลล่างทั้งสองว่าจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ เมื่อประเด็นพิพาทในคดีนี้มีเพียงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้น คดีก็ไม่ต้องสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยอีกต่อไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง แต่ให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมแทนโจทก์ด้วย และขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ถือกรรมสิทธิ์รวมออกจากโฉนด จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และไม่พ้นอายุความห้ามมิให้ฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ซึ่งใช้เฉพาะสำหรับกรณีฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลตามป.พ.พ. มาตรา 237 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจโจทก์ทราบเรื่อง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องการโอนที่ดินอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2530 ซึ่งเป็นเหตุให้เพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลาที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนโอนเกินกำหนด 1 ปีแต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จึงยังถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้ โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบถึงการโอนทรัพย์สินผ่านผู้รับมอบหมาย
เมื่อโจทก์ได้ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท. สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้โจทก์ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ.เป็นผู้ไปสืบหา เมื่อ อ. ไปสืบและทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร การที่อ.ทราบก็ต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบ และสำนักงานกฎหมาย ท.ต้องรายงานให้โจทก์ทราบเพียงแต่อ. ทราบมิได้ถือว่าโจทก์ทราบด้วย เพราะ อ. มีหน้าที่เพียงแต่สืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลย เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปอ. มีหน้าที่เพียงแต่จะต้องรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงตัวโจทก์ในวันที่ 10 มิถุนายน 2530 ถือว่าโจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลวันที่ 8 มิถุนายน 2531 ยังไม่พ้น 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ