คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบการโอนทรัพย์ผ่านตัวแทน
โจทก์ว่าจ้างให้สำนักงานกฎหมาย ท.สืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ สำนักงานกฎหมาย ท.ได้มอบหมายให้อ. ไปดำเนินการการที่ อ. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 มีบ้านและที่ดิน แต่ได้ทำนิติกรรมยกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบความดังกล่าวด้วยเพราะ อ. มีหน้าที่เพียงสืบให้ทราบเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เพื่อโจทก์จะได้ทำการบังคับคดีต่อไปซึ่งเมื่อ อ.ทราบต้องรายงานให้สำนักงานกฎหมายท. ทราบเพื่อรายงานต่อไปยังโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่า อ. ได้ทราบเรื่องการทำนิติกรรมโอนทรัพย์เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2530 แต่โจทก์ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2530กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันที่ 8 มิถุนายน2531 จึงยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยทำโดยเสน่หาและเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ให้ผู้คัดค้านกู้ยืมเงินและยอมรับโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภาวินเครดิตจำกัด เป็นการชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างใดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือเป็นนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ทำให้โดยเสน่หา เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทภาวินเครดิต จำกัด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินและไม่สามารถชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินของตนได้ การที่จำเลยที่ 1ทำข้อตกลงยอมรับชำระหนี้จากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ ย่อมทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนข้อตกลงดังกล่าวได้ ผู้ร้องจะสามารถทราบว่าที่มาหรือมูลเหตุแห่งการสละสิทธิเรียกร้องเป็นการฉ้อฉลหรือไม่ต่อเมื่อได้สอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว การจะถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงต้นเหตุอันเป็นมูลแห่งการเพิกถอนจึงต้องถือวันเวลาการสอบสวนในปัญหานี้เป็นหลัก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล คำพิพากษาชี้ว่าอายุความเริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบถึงการฉ้อฉล
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2529 เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางคล้า ได้ทำหนังสือไปถึงโจทก์ลงวันที่ 2 เมษายน 2529 แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินที่ขอให้ระงับการโอนไว้ให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว นิติกรสังกัดกองนิติการของโจทก์ทำบันทึกเรื่องราวเสนอให้อธิบดีของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 จึงถือได้ว่า โจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลรายนี้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2530 ยังไม่พ้น 1 ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้น10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: เริ่มนับจากวันที่รู้เหตุ
เมื่อโจทก์ทราบถึงการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการขายฝากได้ตั้งแต่ปี 2525แต่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนในปี 2530 จึงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1480 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมขายฝาก: เริ่มนับจากวันที่ทราบเหตุ
เมื่อโจทก์ทราบถึงการขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 อันเป็นมูลเหตุที่โจทก์ขอให้เพิกถอนการขายฝากได้ตั้งแต่ปี 2525 แต่โจทก์มาฟ้องขอให้เพิกถอนในปี 2530 จึงพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนนิติกรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 1480 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุพิพาทคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3554/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ คดีไม่ขาดอายุความ
เดิมศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ในกรณีที่ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านได้เพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้โดยเหตุสุดวิสัย ให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 30,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอวางเงินจำนวน 30,000บาท พร้อมดอกเบี้ยต่อศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวแทนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 ถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ที่อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ได้ก่อนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ถึงแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปี ก็ไม่อยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 240 คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ คดีเดิมศาลชั้นต้นได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า ให้จำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ ดังนั้น โจทก์จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวได้เพียงใดหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปร้องขอให้บังคับคดีในคดีนั้น จะมาร้องขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ในคดีนี้ซ้ำอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4725/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดสืบพยาน, การบอกล้างโมฆียะกรรม, และอายุความฟ้องขับไล่จากข้อฉ้อฉล
การที่ศาลจะสั่งงดสืบพยานของคู่ความเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ ดุลพินิจแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ในสำนวนจากคำฟ้องและคำให้การพอวินิจฉัยได้แล้ว แม้จะสืบพยานต่อไปก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียได้ การบอกล้างโมฆียะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา140 ย่อมทำได้ด้วยแสดงเจตนาต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง แต่จำเลยไม่ได้เรียก ก.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม หากนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยกับ ก.จะเป็นโมฆียะกรรม คำให้การของจำเลยก็ไม่มีผลเป็นการบอกล้างนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยกับ ก. อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นกรณีฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 แต่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล จะนำมาตรา 240 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: การแจ้งล่าช้าทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีเวลาสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ระยะเวลาและผลกระทบต่อการสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 240
ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่
of 10