พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ภาษี และการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนประทานบัตร เป็น ทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 ซึ่ง เป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลา ที่ จะ ใช้ สิทธิเรียกร้องขอให้เพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้ เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้ เพิกถอน การ โอนเกินกำหนด 1 ปี แต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจ กระทำการ แทน โจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ไม่ได้ ช. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ดำเนินการในการทำเหมืองแร่ตามประทานบัตรที่พิพาทแทนจำเลยที่ 1 ตลอดมา ช. จะ ต้องรู้ดีว่ามีรายได้จากการประกอบการนั้นเท่าใดและจะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเท่าใด การที่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีในบางปีไม่ครบถ้วนหรือไม่ชำระเลย ช. ในฐานะที่เป็นผู้ดำเนินการแทนจะต้องทราบและรู้ดีว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้ภาษีอากรหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตร ที่ พิพาท ในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ การที่ ช. รับโอนประทานบัตร ที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าวนับได้ว่าเป็นการรับโอน โดย รู้ เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เสียเปรียบ ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็น ทายาท ของ ช.รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจึง ไม่มี สิทธิ ดีกว่าช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดก และไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะ ที่ เป็นบุคคลภายนอกได้ แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะ ต้อง โอน กลับคืนไปตามหน้าที่ที่เจ้ามรดกมีอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนประทานบัตรเนื่องจากเจ้าหนี้เสียเปรียบและการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อเท็จจริง
ขณะเกิดกรณีพิพาท ว.ดำรงตำแหน่งอธิบดีโจทก์ว. จึงเป็นผู้แทนที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อนับระยะเวลาที่ ว.ในฐานะผู้แทนโจทก์ได้รู้ถึงเหตุที่จะขอเพิกถอนการโอนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่เกินกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความการที่เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ของโจทก์ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการโอนแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ในระดับต่าง ๆ ดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จะถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวด้วยไม่ได้ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากประทานบัตรที่พิพาทในอันที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้ ช. รับโอน ประทานบัตรที่พิพาทโดยรู้ถึงความจริงดังกล่าว กรณีจึงเป็นการรับโอนโดยรู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบถือไม่ได้ว่าเป็นการรับโอนโดยสุจริต และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของ ช. รับโอนประทานบัตรที่พิพาทมาในฐานะที่เป็นมรดกจำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิดีไปกว่า ช. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกเมื่อนิติกรรมการได้ประทานบัตรที่พิพาทของ ช. เป็นอันจะต้องถูกเพิกถอนเนื่องจากผลแห่งการกระทำของ ช. เอง จำเลยที่ 3ในฐานะทายาทจึงไม่อาจอ้างสิทธิในฐานะที่เป็นบุคคลภายนอกได้แต่กลับมีหน้าที่ในฐานะทายาทที่จะต้องโอนประทานบัตรที่พิพาทกลับคืนตามหน้าที่ที่ ช. เจ้ามรดกมีอยู่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2441/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบมัดจำและการไม่เป็นละเมิดจากการแจ้งการใช้สิทธิ แม้เป็นการขู่เข็ญ
การที่โจทก์ต้องชำระเงินค่าที่ดินที่ค้างชำระทั้งหมดให้แก่จำเลยโดยมิได้หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรเพราะจำเลยแจ้งให้โจทก์นำไปชำระมิฉะนั้นจะริบมัดจำตามสัญญา การที่จำเลยแจ้งว่าจะใช้สิทธิริบมัดจำตามสัญญาแม้จะเป็นการขู่เข็ญก็เป็นเรื่องที่จำเลยชอบที่จะทำได้ไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์และจำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่โจทก์ต้องชำระภาษีเงินได้ต่อพนักงานที่ดินเมื่อทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปก่อน แล้วมาขอรับค่าภาษีเงินได้ดังกล่าวคืนจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่กระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้สิน และรู้ว่าเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ม. อ. และโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดอยู่ได้รับความเสียหาย เมื่อ อ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1กับพวก จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีในขณะนั้นว่าหากโจทก์ต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ อ. โจทก์ย่อมมีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ดังนั้นโจทก์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยที่1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3034/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินที่กระทำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการชดใช้ค่าเสียหายต่อเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ได้รับจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ม. อ. และโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่จำเลยที่ 1 รับราชการสังกัดอยู่ได้รับความเสียหาย เมื่อ อ. ฟ้องเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อเอาแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวก จำเลยที่ 1 ย่อมรู้ดีในขณะนั้นว่าหากโจทก์ต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ อ. โจทก์ย่อมมีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลัง ดังนั้นโจทก์จึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินพิพาทแปลงเดียว และจำเลยที่ 1 ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรหลังจากที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ถูก อ. ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้น การกระทำดังกล่าวเป็นการโอนเพื่อหลีกเลี่ยงและให้พ้นจากการถูกบังคับคดี จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและเป็นการกระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ผู้มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นต้นเหตุทำความเสียหายได้ภายหลังเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ต่อมาจำเลยที่ 2 ถึงที่4 โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 ให้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยเสน่หา เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ก็ขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
การที่ ธ. น้องชายสามีจำเลยที่ 1 ไถ่ถอนจำนองให้โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องโอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่เป็นการโอนที่มีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายและการครอบครองที่ดิน แม้ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ ทายาทผู้รับมรดกต้องปฏิบัติตามสัญญา
เมื่อผู้จะขายได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองที่พิพาทตลอดมาตามสัญญาจะซื้อขาย แม้สิทธิครอบครองจะยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยเพราะคู่สัญญาประสงค์จะให้มีการโอนทางทะเบียน แต่การที่จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทตามสัญญาโดยความยินยอมของผู้จะขายนั้นหาเป็นการละเมิดหรือผิดสัญญาไม่ทั้งยังมีสิทธิยึดหน่วงอันมีผลให้ยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วย ดังนี้ ความตายของผู้จะขายไม่เป็นเหตุให้ทายาทผู้รับมรดกปฏิเสธ ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 253/2497)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่เกิดจากการฉ้อฉล หากไม่ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้เหตุ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้ง มาตรา 237 และมาตรา 1300 แต่ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินแปลงพิพาทจาก ล. ศาลยังมิได้พิพากษาให้ ล. โอนที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม มาตรา 1300 คดีของโจทก์ต้องด้วย มาตรา 237 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือพ้นสิบปีนังแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น
ล. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์ยื่นฟ้อง ล. และจำเลยเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2520 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ล. กับจำเลยภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
ล. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์ยื่นฟ้อง ล. และจำเลยเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2520 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ล. กับจำเลยภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่เกิดจากการฉ้อฉล เริ่มนับแต่วันที่รู้เหตุ
เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างล. กับจำเลยภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่โจทก์ฟ้อง ล. กับจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. ม.240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์สินสมรสไม่ชอบ ศาลคุ้มครองสิทธิเจ้าของร่วม
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้โดยเสน่หาจำเลยยกข้อต่อสู้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมไม่ได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทอันเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของให้แก่จำเลยทั้งหมด พินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสส่วนของโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามทรัพย์ส่วนของตนคืนได้ จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลปรับกรณีนี้มิได้
การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์พิพาทอันเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของให้แก่จำเลยทั้งหมด พินัยกรรมเกี่ยวกับสินสมรสส่วนของโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามทรัพย์ส่วนของตนคืนได้ จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลปรับกรณีนี้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146-1147/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: อายุความที่ใช้บังคับ
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตรา 114 และ มาตรา 115 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483เป็นคนละเรื่องกันกับการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 มาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้อายุความสิบปีตาม มาตรา164