คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ 115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองที่ดินจัดสรร: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเมื่อลูกหนี้จำนองที่ดินก่อนชำระหนี้ครบ และอายุความสะดุดหยุดลงเมื่อยื่นแจ้งสิทธิ
จำเลยที่ 1 จัดสรรที่ดินขายโจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งไว้จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินแปลงที่ขายให้โจทก์ไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบและจำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินไว้โดยทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 จัดสรรขายให้บุคคลอื่นไปแล้ว ซึ่งเป็นการรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมจำนองดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
ก่อนครบหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการจำนอง ได้มีคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นของรัฐแต่ให้โจทก์มีสิทธิยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่แสดงสิทธิในที่ดินของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นเอกสารแสดงสิทธิของโจทก์แล้ว ย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองที่ดิน: เจ้าหนี้ซื้อที่ดินจากลูกหนี้ แล้วลูกหนี้จำนองที่ดินนั้นให้ผู้อื่น โดยผู้รับจำนองทราบถึงการเสียเปรียบของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 จัดสรรที่ดิน โจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งไว้จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินแปลงที่ขายให้โจทก์ไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินไว้โดยทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 จัดสรรขายให้บุคคลอื่นไปแล้ว ซึ่งเป็นการรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมจำนองดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ก่อนครบหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการจำนอง ได้มีคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นของรัฐ แต่ให้โจทก์มีสิทธิยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่แสดงสิทธิในที่ดินของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นเอกสารแสดงสิทธิของโจทก์แล้ว ย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำนอง: แม้มีคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติก็ไม่กระทบอายุความ
เมื่อโจทก์รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะขายให้โจทก์โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วน และจำเลยได้ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่นั้นแล้วไปจำนองจำเลยที่ 3 เป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของ จำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้ แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้ว จึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลจำนอง: ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่รู้เหตุ เพิกถอนไม่ได้ แม้มีคำสั่งพิเศษ
เมื่อโจทก์รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินที่จำเลยที่ 1 ตกลงจะขายให้โจทก์โดยโจทก์ได้ชำระราคาบางส่วนและจำเลยได้ยอมให้โจทก์เข้าครอบครองที่นั้นแล้วไปจำนองจำเลยที่ 3 เป็นต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองนั้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
แม้หัวหน้าคณะปฏิวัติจะมีคำสั่งให้รัฐมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 และให้ผู้มีสิทธิภารผูกพันกับที่ดินจากจำเลยที่ 1 ยื่นหลักฐานเรียกร้องที่ดินของจำเลยที่ 1 ต่อกรมที่ดินได้แต่เมื่อคำสั่งนั้นออกมาภายหลังที่คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียแล้วจึงไม่ทำให้อายุความดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากเจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการขายฝาก: ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้เหตุฉ้อฉล
การฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากที่ดินซึ่งอ้างว่าได้กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตและฉ้อฉลทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้น จะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความ และการเรียกร้องเงินจากผู้รับจำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้น อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ" ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว.โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ข. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว.ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ข. ตามจำนวนที่ ว.จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับจำเลยแทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว
of 10