คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 ก (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ซื้อขายที่ดินด้วยเช็คที่มิได้ทำตามฟอร์มและจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยแต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายได้พิพากษา ยกฟ้อง และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยเป็นการ ชำระหนี้การซื้อขายที่ดินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ผิดไปจากศาลชั้นต้นฟังมา โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย ข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ กรณีคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขายให้แก่จำเลย แต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายได้ พิพากษายกฟ้อง และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยเป็นการชำระหนี้การซื้อขายที่ดินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นฟังมา โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (3)(ก) ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา194 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าต่างจากชื่อจดทะเบียน และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้า เงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534 จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มา ตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่งเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้าจึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5678/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อโจทก์ในคำฟ้อง และอำนาจฟ้องซื้อขายสินค้าเงินเชื่อ แม้ชื่อบริษัทไม่ตรงกัน
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเป็นว่าโจทก์ชื่อบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด หรือบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แล้ว ชื่อของโจทก์จึงหาขัดแย้งกันไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นลูกค้าโจทก์ประเภทซื้อสินค้าเงินเชื่อ จำเลยและลูกค้าในความรับผิดชอบของจำเลยได้นำบัตรซื้อสินค้าเงินเชื่อมาซื้อสินค้าไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2534จำเลยชำระค่าสินค้าบางส่วนแล้ว คงค้างชำระ 116,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนที่คำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุว่าจำเลยหรือตัวแทนซื้อสินค้าจากโจทก์วันไหน สินค้าอะไรบ้าง และซื้อครั้งละเท่าไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้มาตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
แม้สัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อจะระบุชื่อโจทก์ว่าบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด แต่ก็หมายถึงบริษัทเซ็นโทซ่า จำกัด โจทก์ในคดีนี้นั่นเองเพราะบริษัทเซ็นโทซ่าดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จำกัด มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด หากแต่เป็นชื่อที่โจทก์ใช้ในทางการค้า จึงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาซื้อขายสินค้าเงินเชื่อกับโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเพลิงเผาทรัพย์สินที่จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากมาตรา 218 เป็น 217
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้นจำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)กประกอบด้วยมาตรา247และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา217จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดจะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแรงแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218แต่เมื่อมาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา217ไว้ด้วยจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา217ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐาน และการตีความบทอาญาต้องเคร่งครัด
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้น จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหาย จึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย