พบผลลัพธ์ทั้งหมด 183 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9948-10129/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ถือเป็นผลจากการไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนอกจากจะหมายถึงการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอีกด้วย คดีนี้จำเลยจ้างโจทก์มาเพื่อจะให้ทำงานให้แก่จำเลยหมายความว่าจำเลยดำเนินกิจการมีงานที่จะมอบหมายให้โจทก์ทำตามที่จ้างและในขณะเดียวกันจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยจำเลยมีเงินที่จะจ่ายค่าจ้างได้เมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2538ถึงวันที่20ธันวาคม2538ไม่ว่าจะเป็นเพราะจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำหรือเพราะเหตุอื่นใดและโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีเงินจะจ่ายให้การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมอยู่ในความหมายที่ว่าเป็นกรณีที่ลูกจ้างไม่่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ซึ่งถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่จำต้องคำนึงว่าในเวลาภายหน้าจำเลยจะมีงานให้โจทก์ทำและมีเงินจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่ละคนหรือไม่ ปัญหาว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยที่2จะไม่ได้ให้การไว้จำเลยที่2ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31 แม้จำเลยที่2จะเป็นนายจ้างของโจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ก็ตามแต่จำเลยที่1เป็นบริษัทจำกัดเป็นนิติบุคคลจำเลยที่2เป็นกรรมการและเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ความรับผิดของจำเลยที่2ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ประกอบมาตรา820กล่าวคือเมื่อจำเลยที่2กระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่1ผู้เป็นตัวการต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวร่่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ คำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างค้างจ่ายของโจทก์มีการพิมพ์จำนวนเงินผิดพลาดเล็กน้อยศาลฎีกาสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9783/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พักงานลูกจ้างรอผลคดีอาญา ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46วรรคสองนั้นมีความหมายว่าเป็นการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างให้ด้วยซึ่งสภาพความเป็นนายจ้างและลูกจ้างสิ้นสุดลงไม่ใช่เรื่องกาให้ลูกจ้างหยุดงานเพียงชั่วคราวซึ่งสภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังไม่สิ้นสุดลงและลูกจ้างยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างให้หยุดงานชั่วคราวลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเอาได้ส่วนข้อความที่ว่า"ไม่ว่าเพราะเหตุอื่นใด"ในกฎหมายดังกล่าวนั้นก็หมายถึงมูลเหตุของกรณีที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดโดยไม่จ่ายค่าจ้างนั้นเองมิใช่กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวหรือพักงานแต่อย่างใดเช่นนี้การที่จำเลยสั่งพักงานโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยเพื่อรอการลงโทษจนกว่าคดีอาญาที่โจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของนายจ้างจะถึงที่สุดนั้นนับว่าเป็นการให้ลูกจ้างหยุดงานเป็นการชั่วคราวสภาพการเป็นนายจ้างลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไปไม่ใช่เป็นกรณีจำเลยไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปโดยเด็ดขาดเพราะเมื่อคดีถึงที่สุดปรากฎว่าโจทก์ไม่มีความผิดจำเลยก็ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยเลิกจ้างและจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานให้แก่โจทก์เพราะการที่โจทก์ไม่ได้ทำงานนั้นเนื่องมาจากฝ่ายจำเลยเองก็ไม่มอบงานให้ทำแต่จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์การสั่งพักงานโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าว