คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 76 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องไล่เบี้ยของหน่วยงานรัฐต่อเจ้าหน้าที่ และอายุความฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทน
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นกรมตำรวจฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของข้าราชการปฏิบัติหน้าที่: ความรับผิดของกรมในฐานะผู้แทนและขอบเขตการใช้กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็นอาจารย์สอนวิชาสุขศึกษาทราบอยู่แล้วว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาและมีอาการเหนื่อยง่าย การที่จำเลยที่ 1 สั่งทำโทษผู้ตายซึ่งเป็นนักเรียนโดยให้ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์(กระโดดขึ้นลง) จำนวน 100 ครั้ง จึงเป็นการสั่งทำโทษที่เกินกว่าเหตุ ทั้งขณะที่ผู้ตายทำสก็อตจัมพ์จำเลยที่ 1 ก็ไม่สนใจดูแลผู้ตายอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่า ผู้ตายจะรับการลงโทษดังกล่าวได้หรือไม่ และเมื่อผู้ตายทำสก็อตจัมพ์เสร็จแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ออกจากห้องเรียนไปโดยไม่สนใจดูแลว่าผู้ตายจะเป็นอย่างไร ผู้ตายมีอาการหายใจไม่ออกและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ดังนี้ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ตาย
จำเลยที่ 1 ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้าสอนในชั้นเรียนของผู้ตายและสั่งลงโทษผู้ตายจึงเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ ความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2539 แต่ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาลจึงจัดอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง มิใช่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อความเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในการยึดและดูแลของกลาง
จำเลยที่2เป็นสารวัตรใหญ่และจำเลยที่3เป็นพนักงานสอบสวนคนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1และจำเลยที่1มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่2และที่3ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหายเมื่อจำเลยที่2และที่3ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และที่3จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตนแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควรเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหายกรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคหนึ่งจำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2และที่3รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วยจะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการยึดของกลางต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการดูแลรักษาทรัพย์สิน
จำเลยที่ 2 เป็นสารวัตรใหญ่ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน คนทั้งสองต่างเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจ จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทของโจทก์เป็นของกลางเป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 มีหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้เป็นไปตามระเบียบและคำสั่งเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นของกลางในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.จราจรทางบก ซึ่งมีคนตายและได้รับบาดเจ็บในกรณีนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งและมีฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ของกลางเหมือนเช่นวิญญูชนพึงดูแลทรัพย์สินของตน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ดูแลรักษารถยนต์พิพาทของกลางตามสมควร เป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทสูญหาย กรณีจึงเป็นการกระทำละเมิดในฐานะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จะอ้างว่าตนไม่มีอำนาจในการยึดสิ่งของในคดีอาญามาปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจำเลยจากการริบเงินประกันตัวผู้ต้องหา: ประเด็นผิดสัญญาประกันและอำนาจการกระทำ
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้วศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้วเห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัดโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสัญญาประกันตัว: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้ว เห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกัน ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม