คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว พ.ศ. 2533

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกระทำของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเกี่ยวข้องกับทางหลวงคู่ขนาน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กำหนดว่าถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้และจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 จึงเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างก็อยู่ในแนวที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 1 ด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2534 เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้มีหนังสือไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษ: อำนาจของฝ่ายปกครองและการคุ้มครองสิทธิของเอกชน
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้ โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอน การกระทำดังกล่าวของจำเลยได้ ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตาม ที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น"และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ทุกประการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนด ให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผัง ประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของ คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขต ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ"ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือ พื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูป ทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย: อำนาจของรัฐในการดำเนินการเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของจำเลยได้
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากถนนสาธารณะ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้นต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกานอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นรวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม การจะเวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวางเขตคลองเตยและเขตพระโขนงกรุงเทพมหานครพ.ศ.2533นั้นมีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วยอีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ11ไร่เศษทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน32ไร่เศษมีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่านการเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลในที่ดินของโจทก์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นโจทก์จึงได้ประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินที่ถูกเวนคืนซึ่งตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21วรรคหนึ่งก็บัญญัติถึงหลักการและเจตนารมณ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่นอกจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนแล้วยังต้องพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมด้วยในกรณีนี้ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์สำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนดังกล่าวจึงนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อย่างมากอยู่แล้วการที่จะกำหนดราคาค่าทดแทนเพิ่มให้แก่โจทก์ย่อมไม่เป็นธรรมแก่สังคมและแม้ว่าที่ดินทางทิศใต้ของทางพิเศษที่เหลือมีความกว้าง20ถึง30เมตรไม่สามารถสร้างอาคารสูงได้ก็ตามแต่โจทก์ยังสามารถสร้างบ้านและอาคารชุดได้ตามที่โจทก์ประสงค์อยู่ตามเดิมไม่ทำให้เสียไปซึ่งวัตถุประสงค์เดิมของโจทก์ถือได้ว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดราคาค่าทดแทนให้แก่ที่ดินของโจทก์ทั้ง12แปลงในส่วนที่ถูกเวนคืนในคดีนี้เหมาะสมและเป็นธรรมทั้งเป็นประโยชน์แก่โจทก์มากอยู่แล้วจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้านเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินและสังคม
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 การกำหนดเงินค่าทดแทนนั้น ต้องคำนึงถึงราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
การจะเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขต-คลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533 นั้น มีวัตถุประสงค์ในการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา -อาจณรงค์ แต่ปรากฏว่าการเวนคืนที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวได้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ในส่วนกลางและสร้างถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบด้านข้างขนานควบคู่กันไปด้วย อีกทั้งปรากฏว่าถนนของกรุงเทพมหานครในพื้นราบดังกล่าวตัดผ่านที่ดินโจทก์ ดังนั้นจากการเวนคืนที่ดินของโจทก์บางส่วนดังกล่าวเนื้อที่ประมาณ 11 ไร่เศษ ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจำนวน 32 ไร่เศษ มีหน้าที่ดินติดกับถนนของกรุงเทพมหานครทั้งสองฝั่งซึ่งเดิมปรากฏว่าที่ดินกลุ่มนี้ไม่มีถนนสาธารณะผ่าน การเวนคืนในกรณีนี้จึงส่งผลให้ที่ดิน(อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - สุทธิ นิชโรจน์ - สุรินทร์ นาควิเชียร)ศาลแพ่ง นายจิรนิติ หะวานนท์ศาลอุทธรณ์ นายสุวิทย์ นรนุตกุล
นายสุพจน์ แสงประชากุล - ตรวจ
นายเกษมสันต์ วิลาวรรณ - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ - ย่อ
วาสนา พ/ท