พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังจำเลยให้การ และการจำหน่ายหนี้สูญตามกฎกระทรวง
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528มาตรา17ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้วไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามข้อ(3)(ค)ของกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีกาและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อนการที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฎว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่159(พ.ศ.2526)ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้วดังนั้นการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา65ทวิ(9)แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการจำหน่ายหนี้สูญทางภาษี: ศาลมีอำนาจแก้ไขคำฟ้องได้ และการจำหน่ายหนี้สูญชอบด้วยกฎหมายหากได้พยายามติดตามทรัพย์สินลูกหนี้แล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 180 ให้อำนาจคู่ความที่จะร้องขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่เสนอต่อศาลได้ และการที่ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้อง เพราะโจทก์สับสนแนบหนังสือมอบอำนาจผิดฉบับเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมถูกต้องตามบทกฎหมายแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การตัดคำฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร
ตามข้อ 1 (3) (ค) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มิได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้เป็นการตายตัวว่าก่อนโจทก์จำหน่ายหนี้สูญโจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือทำการตรวจสอบงบดุลของลูกหนี้เสียก่อน การที่โจทก์ให้ทนายความติดตามหาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อยึดบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินให้ยึดบังคับชำระหนี้ได้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2526) ก่อนจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้แล้ว ดังนั้น การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงชอบด้วยบทบัญญัติ มาตรา 65 ทวิ (9) แห่ง ป.รัษฎากร