พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8577/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา ส่งผลให้สิทธิฟ้องระงับ แม้มีการเปลี่ยนแปลงคำแถลงภายหลัง
ตามคำร้องของโจทก์ร่วม ระบุว่า โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท โจทก์ร่วมในฐานะผู้เสียหายในคดีนี้จึงไม่ติดใจเอาความใดๆ กับจำเลยอีก และประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์หรือขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลย และท้ายคำร้องดังกล่าวจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อด้วย พอแปลความได้ว่าโจทก์ร่วมมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์แล้วหรือหากศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ ก็ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในสถานเบาเท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งได้ แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งได้เช่นกัน เมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) แม้ต่อมาโจทก์ร่วมยื่นคำแถลงว่ายังไม่ได้รับชดใช้เงินอีก 15,000 บาท ก็เป็นการขัดแย้งกับคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จึงไม่อาจทำให้คำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ที่มีผลแล้วสิ้นผลไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบอ้างว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์โดยสั่งยกเลิกผลการประกวดราคาดังกล่าว เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่แล้วแต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวจึงเท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์สั่งยกเลิกผลการประกวดราคา เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8093/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดิน ส.ค.1 สัญญาขายฝากโมฆะ สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลย
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก่อนขายให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โดยประเด็นทั้งสองข้อนี้เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายกล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์และโจทก์ร่วม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่า ขณะแจ้งการครอบครองผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งมิใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 อันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1369 ว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน การที่โจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
โจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน การที่โจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8093/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากโมฆะ สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลย โจทก์ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ร่วมทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพาทก่อนขายให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด โดยประเด็นทั้งสองข้อนี้เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นฝ่ายกล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่า ขณะแจ้งการครอบครองผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หาใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินตามนัยที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1373 อันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 ว่า จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ประกอบทั้งได้พิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นทั้งสองนี้แล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ โจทก์ร่วมทั้งสองและจำเลยร่วมกัน แม้โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองนำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองหาเสียเปรียบไม่ ศาลล่างทั้งสองหาได้ดำเนินกระบวนพิจารณาขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 84 ไม่ และไม่เป็นการพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่อย่างใด
สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึกตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย เมื่อสัญญาขายฝากนี้เป็นโมฆะแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน ฉะนั้น แม้จะฟังว่าโจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่ก็ตาม แต่ก็เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์ร่วมทั้งสองผู้โอน ไม่ว่าโจทก์จะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม
สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึกตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย เมื่อสัญญาขายฝากนี้เป็นโมฆะแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน ฉะนั้น แม้จะฟังว่าโจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่ก็ตาม แต่ก็เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์ร่วมทั้งสองผู้โอน ไม่ว่าโจทก์จะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227-7228/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: คำสั่งศาลชั้นต้นไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และมีเหตุสมควรขยายระยะเวลาได้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาและมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา จำเลยที่ 4 ย่อมอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง เพราะคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งภายหลังที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดย พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อขาดการออก พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดิน ศาลพิจารณาค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์มาตรา 21
ขณะที่ออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ เวนคืนที่ดินของโจทก์นั้น พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน...ฯ ได้หมดอายุบังคับใช้ไปแล้วโดยไม่มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ สืบติดต่อเนื่องมา กรณีต้องถือว่าเป็นการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ โดยไม่มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ เข้ากรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองสรุปรวมกันได้ว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ.ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางพิเศษ...ฯ มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 23 มาใช้โดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7005-7007/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษหลายกรรมต่างกันในคดีความผิดทางเพศต่อผู้เสียหายหลายราย ศาลสามารถนับโทษรวมกันเกิน 50 ปีได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
จำเลยกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย ฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร ฐานข่มขืนกระทำชำเราและฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตามต่อผู้เสียหายต่างคนกัน ความผิดฐานดังกล่าวมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้ความผิดบางฐานจำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนในคราวเดียวกันการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ซึ่งคดีที่เกี่ยวพันกันนั้นโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีทั้งสามสำนวนนี้จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนกัน คดีแต่ละสำนวนไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ แม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันและพยานหลักฐานชุดเดียวกันอันเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันอันทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกทุกคดีเกิน 50 ปี ได้ หาอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่
การนับโทษต่อจากโทษในคดีอื่นได้ไม่เกิน 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน หรือในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องหลายคดี แต่ละคดีเป็นคดีที่เกี่ยวพันกันและศาลได้มีคำสั่งให้รวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน ซึ่งคดีที่เกี่ยวพันกันนั้นโจทก์ควรจะฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันหรือควรจะมีการรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่โจทก์กลับแยกฟ้องเป็นหลายคดีและไม่มีการรวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สำหรับคดีทั้งสามสำนวนนี้จำเลยกระทำความผิดต่อผู้เสียหายต่างคนกัน คดีแต่ละสำนวนไม่เกี่ยวพันกันและไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันได้ แม้จะรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันก็เป็นเพราะจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันและพยานหลักฐานชุดเดียวกันอันเป็นการสะดวกในการพิจารณาพิพากษาคดีเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมนับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันอันทำให้จำเลยต้องโทษจำคุกทุกคดีเกิน 50 ปี ได้ หาอยู่ในบังคับของ ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร, ใช้เอกสารปลอม, ฟ้องซ้ำ, การเพิ่มโทษ, ล้างมลทิน: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นความผิดและโทษจำคุก
ความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยรับไว้โดยประการใด ๆ และครอบครองใช้รถยนต์ ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารราชการแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมนั้น จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมมาติดกับรถยนต์คันดังกล่าวแสดงต่อบุคคลทั่วไปที่พบเห็น การกระทำความผิดทั้งสองฐานความผิดนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะได้กระทำต่อรถยนต์คันเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระกัน ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการรับของโจรและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีอันเป็นเอกสารราชการปลอม ก็เป็นคนละอย่างต่างกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรและฐานใช้เอกสารราชการปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่ครบถ้วน โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามกำหนดเวลาในสัญญา และไม่ได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ตรงตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 ดังนั้น เมื่อสิทธิเลิกสัญญาเมื่อเกิดขึ้นมีอยู่แล้วย่อมใช้ได้โดยฝ่ายที่มีสิทธิเลิกนั้นแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง การแสดงเจตนาจะทำอย่างไร และมีผลขึ้นเมื่อใดต้องไปตามหลักนิติกรรมและการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 149, 150 และมาตรา 168 เมื่อโจทก์เบิกความว่า สิ้นปี 2541 จำเลยก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืน แต่พนักงานของจำเลยอ้างว่าต้องปรึกษาคณะกรรมการก่อนแล้วเพิกเฉยไม่ชำระเงินคืนให้แก่โจทก์ ซึ่ง ว. เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านยอมรับว่า หลังครบกำหนดในปี 2541 โจทก์เคยไปขอเงินคืน แต่จำเลยไม่ได้คืนเงินให้โจทก์ แสดงว่าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่โอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยได้แสดงเจตนาทวงถามเงินคืนให้จำเลยทราบ จึงถือว่าชอบตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทั้งโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาก่อนที่จำเลยจะมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว มิพักต้องบอกกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 393 ทั้งไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ติดใจถือเอาเงื่อนเวลาการส่งมอบห้องชุดเป็นสำคัญ