พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10312/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีลักทรัพย์ และค่าธรรมเนียมการยื่นฎีกา
การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยเสียค่าคำร้อง 40 บาท จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10306/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีฯ ผู้ค้ำประกันสละสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ทำให้เป็นลูกหนี้ร่วม
ตามสัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากร จำเลยที่ 3 ให้สัญญาไว้กับกรมสรรพากรโจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีอากร จำเลยที่ 3 จะนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยจำเลยที่ 3 จะนำเงินมาชำระให้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนชำระภาษีอากรโดยมิต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระก่อน เป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนและสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 3 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท เท่านั้น ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8993/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้น: การตัดโซ่ที่ยึดทรัพย์ถือเป็นอันตรายสิ่งกีดกั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ให้ความหมายคำว่า "กีดกั้น" ว่า ขัดขวางไว้ การที่ผู้เสียหายใช้โซ่คล้องยึดกล้องวิดีโอของกลางกับตู้โชว์ จึงเป็นการขัดขวางไม่ให้มีการนำกล้องวิดีโอของกลางไปอันมีลักษณะเป็นสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองกล้องวิดีโอของกลางเหมือนเช่นรั้ว หรือลูกกรงหน้าต่าง ประตูบ้าน การที่จำเลยตัดโซ่คล้องที่ยึดกล้องวิดีโอของกลางกับตู้โชว์จนขาดออกแล้วลักกล้องวิดีโอของกลางไปจึงเป็นการลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8774/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: สภาพหนี้เกิดขึ้นจากการเป็นชู้ การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ถือเป็นความผิด
ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติว่า "ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มิได้หมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ด้วย นอกจากนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้..." แสดงว่าสภาพความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ ส่วนคำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าทดแทนกันมิได้ก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย แต่เป็นการบังคับความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยมีต่อกัน กรณีถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8424/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดเดินสายไฟฟ้าพาดผ่านที่ดิน: ศาลพิจารณาความเสียหายและสิทธิเรียกค่าทดแทน/โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยในมูลละเมิดที่จำเลยปักเสาไฟฟ้าพาดผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นเส้นทแยงมุมโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง เป็นเหตุให้ที่ดินได้รับความเสียหายและเสื่อมประโยชน์ใช้สอยตลอดไป แล้วจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองไม่ตรงและต่ำกว่าความเสียหายจริงที่โจทก์ทั้งสองได้รับ กับมีคำขอให้บังคับจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้วใช้ราคาพร้อมดอกเบี้ยหรือใช้ค่าทดแทนความเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยมิได้กระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คดีจึงมีประเด็นโต้เถียงกันว่าจำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสองและต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและชำระราคาตามฟ้องได้หรือไม่ ได้รวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยกระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองหรือไม่ไว้ด้วยแล้ว เพราะการจะวินิจฉัยตามข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจำต้องวินิจฉัยก่อนว่า จำเลยกำหนดแนวเขตเดินสายไฟโดยสุจริตหรือไม่ หากปรากฏว่าจำเลยกำหนดแนวเขตเดินสายไฟโดยไม่สุจริต หรือจงใจกลั่นแกล้งเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย เสื่อมราคาไม่สามารถใช้สอยได้สมประโยชน์ดังเดิม อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง ก็จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับซื้อที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ทั้งสอง หรือเรียกให้ใช้ค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดได้หรือไม่เพียงใด ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำละเมิดกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองแต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองโดยเห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทตามฟ้อง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าพื้นที่และค่าเสียหาย: การประเมินค่าเสียหายจากสัญญาเช่า, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, และข้อจำกัดในการฎีกา
การที่จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโครงเหล็กบนชั้นดาดฟ้าอาคารพิพาทเป็นเงิน 1,500,000 บาท นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำเพื่อให้ติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าอันเป็นประโยชน์ของจำเลยเอง โจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยกระทำแต่อย่างใด ตามสัญญาเช่าพื้นที่และหนังสือสัญญาให้ความยินยอมต่อสัญญาเช่าก็ไม่มีข้อความบ่งบอกว่ามีข้อตกลงพิเศษที่โจทก์จะให้จำเลยเช่าถึง 20 ปี แต่กลับปรากฏว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง ผู้เช่ามีสิทธิรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกลับคืนไปได้ทั้งหมด ตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้รับผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยนอกเหนือไปจากค่าเช่าเท่านั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี/ที่ดินทำให้ยึดทรัพย์ผิดพลาด โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายต้องเสียก็ต่อเมื่อเหตุที่คู่ความนำยึดทรัพย์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เมื่อการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีพิมพ์หมายเลขที่โฉนดที่ดินที่ขออายัดชั่วคราวและเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง ล้วนมีส่วนทำให้ผู้แทนโจทก์เข้าใจผิดว่าขณะนำยึดที่ดินที่ดินยังเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนั้นการที่ผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินแล้วมีเหตุต้องถอนการยึด จึงมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี/ที่ดิน ทำให้ยึดทรัพย์ผิดพลาด โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว แต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น อย่างไรก็ตามคู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ก็ต่อเมื่อเหตุที่คู่ความนำยึดทรัพย์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีพิมพ์หมายเลขที่โฉนดที่ดินที่ขออายัดชั่วคราวและเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง ล้วนมีส่วนทำให้ผู้แทนโจทก์เข้าใจผิดว่าขณะนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43985 นั้น ที่ดินโฉนดดังกล่าวยังเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินแล้วมีเหตุต้องถอนการยึดเพราะที่ดินที่ยึดมิใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เช่นนั้น จึงหาใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ไม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6719-6720/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน: การโฆษณาผลตอบแทนสูงเกินจริง และความรับผิดของตัวแทนบริษัท
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5 กำหนดให้บุคคลใดก็ตาม ที่กระทำการตามองค์ประกอบความผิดในมาตรานี้เป็นผู้กระทำความผิด ไม่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะแต่เพียงว่าผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเท่านั้น เมื่อจำเลยกับพวกในฐานะตัวแทนของบริษัท ท. ได้กระทำการในการจะกู้ยืมเงินด้วยการโฆษณา หรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป และจำเลยกับพวกจ่ายหรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าวว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ให้บริษัท ท. กู้ยืมเงินในอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ และจำเลยกับพวกไม่ได้พิสูจน์ว่ามีข้อยกเว้นตามกฎหมายดังกล่าว จำเลยกับพวกจึงมีความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6593/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็น การกำหนดขอบเขต และค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน
จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินของ ล. เจ้าของที่ดินโดยสุจริต บ้านดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย หลังจาก ล. ถึงแก่ความตายมีการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวปรากฏว่าบ้านของจำเลยอยู่ในที่ดินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย แต่โครงหลังคาบ้านซึ่งติดอยู่กับบ้านเป็นส่วนหนึ่งของบ้านล้ำเข้าไปในที่ดินส่วนที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ อันเป็นกรณีที่เทียบเคียงได้กับการปลูกโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามบทกฎหมายดังกล่าว ถือได้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง เมื่อกรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีและไม่ปรากฏว่ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง เมื่อใช้มาตรา 1312 วรรคแรก ประกอบมาตรา 4 วรรคสอง มาปรับแก่คดีแล้ว ที่ดินของโจทก์ส่วนที่โครงหลังคาบ้านของจำเลยรุกล้ำเข้าไปจึงเป็นภาระจำยอมที่ต้องไปจดทะเบียนสิทธิดังกล่าวตามบทบังคับของมาตรา 1312 วรรคแรก
แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
แม้คำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์มิได้ให้การปฏิเสธฟ้องแย้งของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ถนนคอนกรีตกว้าง 6.50 เมตร ยาว 76 เมตร ในที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นถนนดังกล่าวข้างต้นเป็นทางจำเป็น แต่ศาลมีอำนาจกำหนดที่และวิธีทำทางผ่านของทางจำเป็นให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน โดยคำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความกว้างของทางจำเป็นในคดีนี้จึงยังไม่ยุติไปตามคำคู่ความดังกล่าว
ทางจำเป็นเกิดขึ้นโดยอำนาจของกฎหมายและเป็นทรัพยสิทธิอันมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์ที่สามารถใช้ยันบุคคลทั่วไปได้อยู่แล้ว จึงไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.พ.พ. มาตรา 1349 และมาตรา 1350 บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้มีสิทธิใช้ทางจำเป็นและเจ้าของที่ดินที่ล้อมไว้แล้วเมื่อมีคำพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว สิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทางจำเป็นของบุคคลดังกล่าวย่อมเป็นไปตามกฎหมาย ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องชี้ขาดตัดสินกำหนดห้ามการใช้ทางจำเป็นเพื่อการใดไว้ล่วงหน้าในคำพิพากษา ทั้งตามฟ้องโจทก์คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลย และคำให้การแก้ฟ้องแย้งในคดีนี้ คู่ความมิได้โต้แย้งกันว่า จำเลยมีสิทธิใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้าหรือไม่ และฟ้องกับฟ้องแย้งดังกล่าวก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องห้ามจำเลยใช้ทางจำเป็นเพื่อการค้า ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ทางพิพาทตามปกติมิใช่เพื่อการค้า จึงไม่จำเป็นแก่คดีและเกินคำขอของคู่ความ อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142