พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6492/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลัง พ.ร.บ.ที่ดิน และการปฏิรูปที่ดิน: ที่ดินของรัฐ vs. ที่ดินของประชาชน
เจ้าของเดิมครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2498 ภายหลัง ป.ที่ดิน ใช้บังคับแล้ว เจ้าของเดิมและจำเลยซึ่งรับโอนการครอบครองมาย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 และต้องถือว่าที่ดินเป็นของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 ที่บัญญัติว่าที่ดินซึ่งไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดให้ถือว่าเป็นของรัฐ เมื่อทางราชการออกกฎกระทรวงกำหนดให้ที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีมอบหมายให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำไปปฏิรูปที่ดินได้ และต่อมาได้มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ที่ดินพิพาทเป็นเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 26 (4) โจทก์มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินได้
จำเลยมีที่ดินเป็นของตนเองกว่า 100 ไร่ ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่เกษตรกรตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 4 จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01 ก.) ของจำเลยได้
การที่จะต้องเวนคืนที่ดินเพื่อนำมาปฏิรูปที่ดินนั้น ที่ดินพิพาทต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐ คดีนี้เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินเป็นของรัฐแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องเวนคืนที่ดิน
จำเลยมีที่ดินเป็นของตนเองกว่า 100 ไร่ ดังนั้น จำเลยจึงมิใช่เกษตรกรตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 4 จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในการเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01 ก.) ของจำเลยได้
การที่จะต้องเวนคืนที่ดินเพื่อนำมาปฏิรูปที่ดินนั้น ที่ดินพิพาทต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่ของรัฐ คดีนี้เมื่อฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินเป็นของรัฐแล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องเวนคืนที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค - การลงวันที่เช็คโดยผู้ทรงเช็คหลังรับโอน และการยินยอมโดยผู้สั่งจ่าย
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ค่าจ้างให้ดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 นำไปชำระหนี้ค่าจ้างดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดในมูลหนี้ที่แตกต่างกัน แต่ข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุรากฐานแห่งหนี้ที่โจทก์ฟ้องเกิดจากการกระทำอันเดียวกัน คือจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์และค้างชำระหนี้ค่าจ้างอันเดียวกันจำเลยทั้งสามจึงมีส่วนได้เสียร่วมกันตามกฎหมาย อันถือได้ว่าจำเลยทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามรวมกันมาในคดีเดียวกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายและโจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับภายหลังโจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมาแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่สมควรเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้นั้นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับโดยชอบตามกฎหมายย่อมลงวันที่ใดก็ได้ เมื่อตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับปรากฏว่า โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และตามใบคืนเช็คปรากฏว่า ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันสั่งจ่ายคือวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายและโจทก์เป็นผู้ลงวันที่ในเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับภายหลังโจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมาแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 3 สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้ผู้ทรงเช็คลงวันที่เองตามที่สมควรเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คจากจำเลยที่ 3 เพื่อชำระหนี้นั้นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับโดยชอบตามกฎหมายย่อมลงวันที่ใดก็ได้ เมื่อตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับปรากฏว่า โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คเป็นวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และตามใบคืนเช็คปรากฏว่า ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสี่ฉบับเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 จำนวน 2 ฉบับ โจทก์นำคดีมาฟ้องศาลเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันสั่งจ่ายคือวันที่ 15 พฤษภาคม 2538 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6113/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: หลักสันนิษฐานตามทะเบียนที่ดิน และภาระการพิสูจน์ของผู้อ้างสิทธิร่วม
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งระบุชื่อจำเลยแต่ผู้เดียวเป็นเจ้าของ กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ที่บัญญัติว่า "ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง" เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองร่วมด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งที่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่ผู้เดียว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ภาระการพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบในคดีย่อมตกแก่ผู้ร้องที่จะต้องนำสืบให้ได้ความตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5787/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายเลือกตั้งต้องมีหลักฐานประกอบ การไม่ปฏิบัติตามถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 บัญญัติเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งไว้ในส่วนที่ 6 ตั้งแต่มาตรา 40 ถึงมาตรา 43 โดยมาตรา 40 บัญญัติว่า การใช้จ่ายในการเลือกตั้งให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใช้จ่ายในการเลือกตั้งเกินจำนวนค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด มาตรา 42 บัญญัติให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อจัดทำและรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับและรายจ่าย ส่วนมาตรา 43 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนหรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อต้องยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้น และผู้สมัครหรือหัวหน้าพรรคการเมืองแล้วแต่กรณีได้รับรองความถูกต้อง บัญชีรายรับและรายจ่ายอย่างน้อยต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้จ่ายไปแล้วและที่ยังค้างชำระ รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์ที่จะควบคุมไม่ให้ผู้สมัครใช้จ่ายเงินในการหาเสียงเลือกตั้งเกินไปกว่าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็จะตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของผู้สมัครแต่ละคนตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้สมัครยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง การควบคุมและตรวจสอบการใช้เงินของผู้สมัครดังกล่าว ก็เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพราะกฎหมายไม่ประสงค์ให้ผู้สมัครที่มีเงินมากได้เปรียบผู้สมัครที่มีเงินน้อยในการหาเสียงเลือกตั้ง ดังนั้น ในการยื่นรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้ง กฎหมายจึงบัญญัติให้ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับรายรับและรายจ่ายในการเลือกตั้งให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบด้วย ทั้งนี้เพราะหากยอมให้ผู้สมัครระบุแต่จำนวนรายรับและรายจ่ายในบัญชีได้โดยไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องประกอบ ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ไม่สุจริตระบุจำนวนรายรับและรายจ่ายไม่ตรงตามความเป็นจริงโดยไม่อาจตรวจสอบได้ อันจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามรายงานการรับจ่ายเงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งเอกสารหมาย จ.12 (หรือ จ.14) ของจำเลยที่ยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 (หรือวันที่ 4 พฤษภาคม 2544) คงระบุแต่เพียงว่ามีค่าใช้จ่าย 9 รายการ โดยจำเลยไม่มีหลักฐานประกอบรายการการจ่ายเงินตามรายการต่าง ๆ ดังกล่าว การยื่นบัญชีรายรับและรายจ่ายของจำเลยจึงไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้ จึงเป็นการเจตนาฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง แม้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีฐานะเป็นพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่มีประกาศแยกมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การที่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับดังกล่าว กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง จึงหามีผลทำให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 สิ้นสุดลงตามไปด้วยไม่ อีกทั้งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ข้อ 4 ยังได้บัญญัติด้วยว่า "ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย" อันเป็นการรับรองให้กฎหมายทั้งปวงที่มีผลใช้บังคับอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครองยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไม่มีประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับใดออกมาบัญญัติให้ยกเลิก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้จึงยังมีผลใช้บังคับต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5700/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างกำแพงในที่ดินของตนเพื่อป้องกันกลิ่นจากห้องน้ำของผู้อื่น ไม่เป็นการละเมิด
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การก่อสร้างกำแพงพิพาทเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นช่องลมห้องน้ำในอาคารของโจทก์กับปิดกั้นพัดลมระบายอากาศของโจทก์ซึ่งอยู่ถัดไปเป็นการละเมิดต่อโจทก์ และพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนกำแพงพิพาทเฉพาะส่วนดังกล่าว จำเลยอุทธรณ์แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้รื้อถอนกำแพงพิพาทส่วนที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้รื้อถอนออกไปด้วย ฎีกาของโจทก์ในส่วนดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การก่อสร้างต่อเติมอาคารและก่อกำแพงของจำเลยเป็นการขัดขวางรบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินของโจทก์ และเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวกำหนดจากส่วนหนึ่งของคำฟ้องและคำให้การที่คู่ความโต้แย้งกันว่า การที่จำเลยก่อสร้างกำแพงพิพาทเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งตามคำให้การจำเลยได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ด้วยว่า กำแพงพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย การก่อสร้างกำแพงพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ต่อเติมอาคารตึกแถวในที่ว่างทางด้านหลังของที่ดินของโจทก์เป็นห้องน้ำและห้องครัวเข้าไปใกล้อาคารของจำเลยมาก ห้องน้ำและห้องครัวดังกล่าวยังมีช่องหน้าต่างและพัดลมระบายอากาศไปยังบริเวณด้านหลังของอาคารด้วย อากาศเสียจากห้องน้ำและห้องครัวจึงถูกระบายไปทางอาคารของจำเลย การที่จำเลยทำกำแพงพิพาทขึ้นปิดกั้นกลิ่นเหม็นที่ออกมาจากห้องน้ำและห้องส้วมของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งโจทก์อาจระบายอากาศเสียจากห้องน้ำและห้องครัวของโจทก์ไปทางอื่นที่ไม่ทำให้เจ้าของอาคารใกล้เคียงรวมทั้งจำเลยเดือดร้อนได้ จึงถือไม่ได้ว่าการก่อสร้างกำแพงพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์เดือดร้อนรำคาญ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า การก่อสร้างต่อเติมอาคารและก่อกำแพงของจำเลยเป็นการขัดขวางรบกวนการใช้ประโยชน์ที่ดินของโจทก์ และเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวกำหนดจากส่วนหนึ่งของคำฟ้องและคำให้การที่คู่ความโต้แย้งกันว่า การที่จำเลยก่อสร้างกำแพงพิพาทเป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งตามคำให้การจำเลยได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ด้วยว่า กำแพงพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย การก่อสร้างกำแพงพิพาทจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ต่อเติมอาคารตึกแถวในที่ว่างทางด้านหลังของที่ดินของโจทก์เป็นห้องน้ำและห้องครัวเข้าไปใกล้อาคารของจำเลยมาก ห้องน้ำและห้องครัวดังกล่าวยังมีช่องหน้าต่างและพัดลมระบายอากาศไปยังบริเวณด้านหลังของอาคารด้วย อากาศเสียจากห้องน้ำและห้องครัวจึงถูกระบายไปทางอาคารของจำเลย การที่จำเลยทำกำแพงพิพาทขึ้นปิดกั้นกลิ่นเหม็นที่ออกมาจากห้องน้ำและห้องส้วมของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ทั้งโจทก์อาจระบายอากาศเสียจากห้องน้ำและห้องครัวของโจทก์ไปทางอื่นที่ไม่ทำให้เจ้าของอาคารใกล้เคียงรวมทั้งจำเลยเดือดร้อนได้ จึงถือไม่ได้ว่าการก่อสร้างกำแพงพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์เดือดร้อนรำคาญ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5607/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระการเช่า การกำหนดราคาตลาดที่สมเหตุสมผล
ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ก็เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งหมดก็มีอำนาจเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น แต่ถ้าชอบด้วยกฎหมายเพียงบางส่วน ก็มีอำนาจที่จะแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้นได้ ฉะนั้น เมื่อศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายเพียงบางส่วน ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ขายให้แก่บริษัท พ. เป็นที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ให้บริษัท น. เช่า การขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินและตึกแถว
เมื่อราคาตลาดของที่ดินมิใช่ราคาตามที่ต่างฝ่ายต่างอ้างและไม่อาจหาราคาตลาดที่ถูกต้องได้ การที่ศาลภาษีอากรกำหนดราคาตลาดของที่ดินโดยใช้ราคาเฉลี่ยระหว่างราคาขั้นต่ำ 53,924,000 บาท และราคาขั้นสูง 909,293,000 บาท เป็นเงิน 481,608,500 บาท จึงเป็นธรรมแล้ว
ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ขายให้แก่บริษัท พ. เป็นที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ให้บริษัท น. เช่า การขายที่ดินและตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินและตึกแถว
เมื่อราคาตลาดของที่ดินมิใช่ราคาตามที่ต่างฝ่ายต่างอ้างและไม่อาจหาราคาตลาดที่ถูกต้องได้ การที่ศาลภาษีอากรกำหนดราคาตลาดของที่ดินโดยใช้ราคาเฉลี่ยระหว่างราคาขั้นต่ำ 53,924,000 บาท และราคาขั้นสูง 909,293,000 บาท เป็นเงิน 481,608,500 บาท จึงเป็นธรรมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสงสัยในพยานหลักฐานปล้นทรัพย์, การใช้อาวุธปืนข่มขู่, และการยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
ข้อหาความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและไม่มีเหตุสมควร ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเพราะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 นั้น เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์แล้ว เห็นว่ายังมีข้อสงสัยตามสมควรว่า จำเลยจะเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงข่มขู่ในการปล้นทรัพย์รายนี้หรือไม่และยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ศาลฎีกาก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยในข้อหาความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและการใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นกรรมเดียว ศาลลดโทษจากคำพิพากษาเดิม
โจกท์ร่วมและบิดามารดากับ อ. พี่สาวโจทก์ร่วมได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร้านทองร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนมิได้ตกลงกันไว้ในกระบวนจัดการห้างหุ้นส่วนไว้ ผู้เป็นหุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1033 ดังนั้น โจทก์ร่วมซึ่งเป็นหุ้นส่วนในกิจการร้านทอง ย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้สอบสวนคดีนี้ได้ โดยไม่จำต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจให้โจทก์ร่วมมีอำนาจดำเนินคดีแทนร้านทอง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง
จำเลยกับพวกหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าจะรับทองรูปพรรณจากร้านทองของโจทก์ร่วมไปจำหน่ายแก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยขอใบบันทึกรายการขายของร้านทองของโจทก์ร่วมไปให้ลูกค้าชำระเงินค่าทองรูปพรรณให้แก่โจทก์ร่วมด้วยบัตรเครดิต โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงมอบทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายที่รูดกับเครื่องรูดบัตรของทางร้านซึ่งปรากฏชื่อร้านและหมายเลขสมาชิกของร้านทองแล้วให้จำเลยไป เมื่อจำเลยขายทองรูปพรรณให้แก่ลูกค้าได้แล้ว จำเลยจะได้จัดให้ลูกค้านำบัตรเครดิตของลูกค้ามารูดกับเครื่องรูดบัตรอีกเพื่อให้ปรากฏหมายเลขบัตรของลูกค้า วันหมดอายุบัตร และขออนุมัติวงเงินจากธนาคาร กรอกรายละเอียดวันที่ จำนวนเงินที่ลูกค้าชำระ และให้ลูกค้าลงลายมือชื่อในใบบันทึกรายการขายแล้วจำเลยจะได้ส่งใบบันทึกรายการขายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อให้โจกท์ร่วมนำไปขอรับเงินจากธนาคารต่อไป แต่เมื่อหลอกลวงได้ทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายจากโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยกลับใช้บัตรเครดิตปลอมมารูดกับเครื่องรูดบัตรเพื่อลงใบบันทึกรายการขาย แล้วส่งใบบันทึกรายการขายปลอมดังกล่าวมาให้โจทก์ร่วมเพื่อขอรับเอาทองรูปพรรณและใบบันทึกรายการขายไปจากโจทก์ร่วมอีก โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยรับไปคิดเป็นเงิน 889,400 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง และจำเลยยังได้ร่วมกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายปลอมเป็นเอกสารประกอบการฉ้อโกงโดยส่งไปให้โจทก์ร่วม เพื่อให้โจทก์ร่วมนำส่งใบบันทึกรายการขายปลอมนั้นไปขอรับเงินจากธนาคาร ก. และธนาคาร ท. แต่ละวันแยกต่างหากจากกันตามที่ปรากฏในใบบันทึกรายการขาย การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนนี้จึงเป็นความผิดฐานใช้มบบันทึกรายการขายซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมรวม 24 กระทง ตามฟ้อง
การที่จำเลยกับพวกใช้ใบบันทึกรายการขายทั้ง 24 กรรมนั้น จำเลยได้กระทำโดยมีเจตนาเดียวเพื่อฉ้อโกงโจทก์ร่วม บันทึกรายการขายปลอมที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้โดยจัดส่งไปให้โจทก์ร่วมก็เพื่อเป็นอุบายหลอกลวงให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อมอบทองรูปพรรณให้จำเลยกับพวกนั่นเอง ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่จำเลยกับพวกกระทำต่อโจทก์ร่วมจึงเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 24 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองและขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้และผู้จำนองตามกฎหมาย
สัญญาจำนองที่ดินระหว่างกรมสรรพากรโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่า ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกัน เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในเงินนั้น อันเป็นการยกเว้นบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 733 กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว คือ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด ทั้งมาตรา 733 มิได้มีข้อจำกัดการใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อชำระหนี้ภาษี: ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดหากขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ
ป.พ.พ. มาตรา 733 บัญญัติว่า "...ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น" ปรากฏว่าสัญญาจำนองที่ดินทั้ง 30 แปลง ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันการผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างของจำเลยที่ 1 โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่า ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันเงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในเงินนั้น อันเป็นการยกเว้นบทบัญญัติของมาตรา 733 ดังกล่าวข้างต้น กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว คือหากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด ที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 จะหลุดพ้นความรับผิดก็ต่อเมื่อได้ชำระค่าภาษีอากรค้างเสร็จสิ้นแล้ว และคดีนี้มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินของตนเองมาจำนอง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 733 นั้น บทบัญญัติแห่งมาตรา 733 หาได้มีข้อจำกัดการใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น