คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธานิศ เกศวพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3279/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษร่วมกัน แม้จำเลยไม่ได้รับการแต่งตั้งทนายความในชั้นพิจารณา ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นบัญญัติว่า "ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยที่ 1 แถลงไม่ต้องการทนายความแต่ศาลชั้นต้นให้มีหนังสือขอแรงทนายความให้จำเลยทั้งสอง ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 แต่หลังจากนั้นมีการตั้งทนายความให้จำเลยที่ 2 เพียงคนเดียวแล้วดำเนินคดีไปจนเสร็จการพิจารณา โดยไม่มีการตั้งทนายความให้จำเลยที่ 1 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 พอใจในผลแห่งคำพิพากษาแล้ว โดยเห็นได้จากจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ กับเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีฝิ่นเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง โดยเพิ่มเติมโทษขึ้นอีกตามอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มิได้ฎีกาโต้เถียงแต่อย่างใด และเนื่องจากศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แสดงว่าข้อเท็จจริงในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีทนายความในการต่อสู้คดีก็รับฟังได้มั่นคงเช่นนั้น เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่ใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ก็เป็นพยานหลักฐานเดียวกันกับที่ใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ว่าการทำหน้าที่ของทนายจำเลยที่ 2 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 มีผลเป็นการดูแลคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ด้วยในตัว ดังนี้ จำเลยที่ 1 จะมีทนายความในการดำเนินกระบวนพิจารณาหรือไม่ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งปรากฏด้วยว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วกว่า 2 ปี ด้วย ซึ่งทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับสิทธิในฐานะนักโทษเด็ดขาดไปบ้างแล้ว แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่ศาลฎีกาไม่เห็นเป็นการจำเป็นที่จะพิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่เข็ญผู้เสียหายโดยอ้างเป็นตำรวจ เปลี่ยนข้อหาจากชิงทรัพย์เป็นกรรโชก
จำเลยขู่เข็ญผู้เสียหายโดยกล่าวอ้างแสดงตัวว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ และขู่ว่าจะยัดยาบ้าให้เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ขู่เข็ญผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย อันจะเป็นความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 แต่เข้าลักษณะเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้จำเลยได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพของผู้เสียหายผู้ถูกขู่เข็ญ อันเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 วรรคหนึ่ง ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความจะแตกต่างจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องก็ตาม แต่การชิงทรัพย์และกรรโชกก็เป็นการขู่เข็ญเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปเช่นเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับฟ้องในสาระสำคัญ อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้อง เมื่อจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ประกอบวรรคสอง และมาตรา 215 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: เหตุละเมิดความสงบเรียบร้อยฯ เป็นเหตุอุทธรณ์ มิใช่เหตุเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยหลงผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่เข้าใจถึงข้อความที่ระบุในสัญญาให้โจทก์บังคับจำเลยให้ออกจากอาคารพิพาท คำพิพากษาของศาลจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมได้สิ้นสุดลงก่อนที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เท่ากับจำเลยกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาตามยอมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นเพียงเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้เท่านั้น แต่มิใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยกเลิกเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการมาแล้วเสียทั้งหมดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8729/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน: ศาลพิจารณาผลคำพิพากษาเดิมที่วินิจฉัยสถานะที่ดิน แม้คดีก่อนยกฟ้อง
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันว่าที่ดินพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นหรือทางสาธารณะ ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ แม้คดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง แต่คำพิพากษาดังกล่าวได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ ตามที่คำฟ้องในคดีดังกล่าวอ้างและมีคำขอให้จดทะเบียนที่ดินเป็นทางสาธารณะ ซึ่งเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทโต้แย้งในประเด็นแห่งคดีแล้ว อันเป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับคดีนี้และเกี่ยวกับที่ดินแปลงเดียวกัน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความจำเป็นในการกระทำความผิด: ผู้สนับสนุนข่มขืนถูกข่มขู่ด้วยอาวุธ ศาลยกฟ้อง
แม้การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกิน 15 ปี และจำเลยที่ 1 ไปยังพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณบ้านโนนเมืองเพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราแล้วขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปส่งบ้านจะถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายโดยมีอาวุธก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด และจำเลยที่ 2 กระทำโดยมีเจตนาครบถ้วนตามหลักเกณฑ์องค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 แล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดดังกล่าวด้วยความจำเป็นเพราะถูกจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดลักษณะคล้ายมีดสปาตาร์ ยาวประมาณ 1 ฟุต จี้ที่คอของผู้เสียหายเลยมาถึงคอของจำเลยที่ 2 จนผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจะถูกทำร้ายจึงร้องบอกจำเลยที่ 2 ให้ขับรถจักรยานยนต์ต่อไปจนถึงที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและจำเลยที่ 2 ไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ อีกทั้งไม่ใช่ภยันตรายที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อขึ้นเพราะความผิดของตน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 และมาตรา 67 (2) จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดด้วยความจำเป็นนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่เมื่อคดีมีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ควรต้องรับโทษ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาวุธปืนในสถานศึกษา: พยายามฆ่า, การป้องกันตัว, และความร้ายแรงของการกระทำ
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิงสวนมาทาง ส. กับพวก แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกนักศึกษาหญิงหลายคนได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 60 อันเป็นความผิดต่อผลของการกระทำโดยพลาดที่เกิดแก่นักศึกษาหญิงผู้เสียหายทุกคนและมีความผิดตามมาตรา 288, 80 อันเป็นผลของการกระทำที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นยิง ส. กับพวกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8071/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาและกฎหมาย
อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลทางหลวงแผ่นดินทั่วราชอาณาจักร การเวนคืนที่ดินเพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินจึงเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของจำเลย การกระทำของอธิบดีกรมทางหลวงในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยจึงผูกพันจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลด้วย กรณีเช่นนี้ถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
ราคาที่ดินของโจทก์ขณะถูกเวนคืนมีราคาในท้องตลาดตารางวาละ 120,000 บาท โดยโจทก์เทียบเคียงกับราคาที่ดินที่ซื้อขายเพื่อสร้างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ติดถนนเพชรเกษม ห่างจากที่ดินของโจทก์ 300 ถึง 400 เมตร และที่ดินที่ขายให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ห่างที่ดินของโจทก์ประมาณ 1,200 เมตร แต่การซื้อขายที่ดินดังกล่าว เป็นการซื้อขายที่ฝ่ายผู้ซื้อต้องการได้ที่ดินไปเพื่อใช้เป็นที่ทำการและเป็นการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง จึงเป็นการซื้อขายที่มีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากการซื้อขายของบุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ขายสามารถเรียกราคาได้สูงกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดได้ จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบโดยตรงเพื่อกำหนดเป็นราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ได้
ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามโฉนดเลขที่ 25506 เนื้อที่ 19.30 ตารางวา นั้น เดิมที่ดินแปลงนี้อยู่ติดถนนเพชรเกษมอยู่แล้ว หลังถูกเวนคืนอาคารพาณิชย์ของโจทก์ 2 ห้องที่ปลูกบนที่ดินดังกล่าว ซึ่งโจทก์ทำการค้าโดยเปิดร้านอาหารนั้นยังใช้ประโยชน์ได้ ก่อนหน้าที่ดินของโจทก์แปลงนี้จะถูกเวนคืนลูกค้าของโจทก์ก็ต้องจอดรถที่หน้าร้านบนถนนเพชรเกษมอยู่แล้ว การที่ที่ดินของโจทก์แปลงนี้ถูกเวนคืนเนื้อที่ 1.70 ตารางวา และต้องมาอยู่ใกล้มุมสี่แยกซึ่งจำเลยมีข้อกำหนดไม่ยอมเปิดทางเพื่อเข้าออกสู่ทางหลวงก็ตาม แต่หลังจากมีการขยายทางหลวงตามแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืน ลูกค้าของโจทก์สามารถจอดรถบริเวณหน้าร้านของโจทก์ได้เช่นเดิม ประโยชน์จากการใช้ที่ดินแปลงนี้มิได้ลดลงไปจากเดิม แต่จากสภาพทำเลใหม่ที่มีการปรับปรุงทางแยกให้กว้างขึ้นทำให้ทัศนียภาพบริเวณดังกล่าวดีขึ้นกว่าเดิมและอาคารพาณิชย์ของโจทก์กลับดูเด่นเป็นสง่าเพราะด้านซ้ายมือเป็นหน้าต่างหรือใส่กระจกเพื่อรับแสงสว่างและอากาศบริสุทธิ์ได้ซึ่งต่างจากสภาพอาคารเดิมก่อนถูกเวนคืนที่ผนังอาคารด้านซ้ายมือเป็นผนังคอนกรีตทึบอยู่ติดอาคารพาณิชย์ของผู้อื่นตลอดแนวที่ดินของโจทก์แปลงนี้ที่เหลือจากการเวนคืนมิได้มีราคาลดลง ส่วนเรื่องเงินค่าทดแทนสำหรับอาคารส่วนที่เหลือซึ่งโจทก์อ้างว่ามีราคาลดลงนั้น อาคารของโจทก์ส่วนที่เหลือยังใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม อาคารส่วนที่เหลือของโจทก์จึงไม่ได้มีราคาลดลง การที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือให้โจทก์นั้นชอบด้วยเหตุผลแล้ว
โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นแต่จะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราตามคำขอของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์โดยจะต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในยอดเงินค่าตอบแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นรวมกันนั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 11 กำหนดให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินโฉนดเลขที่ 25506 พร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 10 จึงไม่มีวันต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 วันเริ่มต้นคำนวณดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ย่อมเป็นวันถัดจากวันครบกำหนดให้ไปรับเงินค่าทดแทน ตามหนังสือเอกสารหมาย ล.14 อันเป็นวันที่จำเลยต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนี้ไปวางตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการวางเงินค่าทดแทนมาตรา 26 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้เด็กจะยินยอม ก็เป็นความผิดตามกฎหมาย
แม้ก่อนเกิดเหตุเด็กหญิง ท. จะทะเลาะกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาและหนีออกจากบ้านไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักก็ตาม แต่โจทก์ร่วมยังเคยไปตามหาเด็กหญิง ท. ที่หอพักดังกล่าว แต่ไม่พบ ย่อมแสดงให้เห็นว่าแม้ในขณะที่เด็กหญิง ท. พักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพักดังกล่าวนั้น บิดามารดาก็ยังเอาใจใส่ติดตามตัวอยู่ พฤติการณ์บ่งชี้แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิง ท. ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ดังนั้น การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มารับเด็กหญิง ท.ที่หอพักแล้วพาไปนั่งรถเล่นกับพาไปนั่งฟังเพลงต่อที่ห้องพักของเพื่อนจำเลย และขณะอยู่ในห้องพักจำเลยได้กอดจูบเด็กหญิง ท. จึงเป็นการพาเด็กหญิง ท. ออกจากหอพักไปเที่ยวเล่นโดยเจตนามุ่งหมายที่จะล่วงเกินทางเพศหรือกระทำอนาจารแก่เด็กหญิง ท. โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดาของเด็กหญิง ท. นั่นเอง ซึ่งผลของการกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ของบิดามารดาที่มีต่อเด็กหญิง ท. ได้ถูกพรากจากไปโดยปริยาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
ความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 กฎหมายมีเจตนาที่จะปกป้องคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กมิให้ผู้ใดมาก่อการรบกวนหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระทั่งต่ออำนาจปกครอง เมื่อการกระทำของจำเลยทำให้อำนาจปกครองของบิดามารดาถูกพรากจากไปเสียโดยปริยาย แม้การกระทำของจำเลยนั้น เด็กจะเต็มใจหรือสมัครใจไปกับจำเลยด้วย ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8052/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อการอนาจาร แม้เด็กจะเต็มใจไปกับจำเลย ก็ยังถือเป็นความผิด
ก่อนเกิดเหตุเด็กหญิง ท. ทะเลาะกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาและหนีออกจากบ้านไปพักอาศัยอยู่กับเพื่อนที่หอพัก โจทก์ร่วมยังเคยไปตามหาเด็กหญิง ท. ที่หอพักดังกล่าว แต่ไม่พบ บิดามารดายังเอาใจใส่ติดตามตัวอยู่ พฤติการณ์บ่งชี้แสดงให้เห็นว่าเด็กหญิง ท. ยังคงอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของบิดามารดา ดังนั้นการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มารับเด็กหญิง ท. ที่หอพักแล้วพาไปนั่งรถเล่นกับพาไปนั่งฟังเพลงต่อที่ห้องพักของเพื่อนจำเลย และขณะอยู่ในห้องพักจำเลยได้กอดจูบเด็กหญิง ท. จึงเป็นการพาเด็กหญิง ท. ออกจากหอพักไปเที่ยวเล่นโดยเจตนามุ่งหมายที่จะล่วงเกินทางเพศหรือกระทำอนาจารโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือความยินยอมจากบิดามารดา ย่อมทำให้อำนาจปกครองดูแลบุตรผู้เยาว์ของบิดามารดาได้ถูกพรากจากไปโดยปริยาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมววลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์-อนาจาร และหลักการฟ้องคดีอาญาที่ต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพรากและพาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เยาว์อายุ 15 ปีเศษ ซึ่งเป็นบุคคลอายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเสียจากผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นมารดา โดยใช้อุบายหลอกลวงเท่านั้น คำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายให้ปรากฏไม่ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจาร คำฟ้องของโจทก์จึงบรรยายไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก แม้คำขอท้ายฟ้องโจทก์จะระบุอ้างขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาด้วย และทางพิจารณาจะฟังได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารด้วยก็ตาม แต่ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 284 วรรคแรก ดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวแก้ในคำแก้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 28