คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธานิศ เกศวพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973-7975/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากทรัพย์อันตราย การขนส่งวัตถุระเบิดประมาทเลินเล่อ และความรับผิดของผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถบรรทุกวัตถุระเบิดของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้นำไปส่งที่คลังสินค้าของจำเลยที่ 1 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระหว่างการขนส่งจำเลยที่ 4 ประมาทเลินเล่อขับรถด้วยความเร็วเกินสมควรแล่นเข้าทางโค้งที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้งหักข้อศอกโดยไม่ระมัดระวังจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถควบคุมรถได้ ทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำวัตถุระเบิดซึ่งบรรทุกมาตกกระจายอยู่บนพื้นถนน หลังจากนั้นมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมหลายร้อยคน และทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย การกระทำของชาวบ้านที่ทำให้เกิดระเบิดขึ้นเช่นนี้เป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้เพราะเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบนทางหลวง ก็จะมีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงรวมทั้งประชาชนที่ใช้ยวดยานสัญจรผ่านที่เกิดเหตุจะหยุดรถลงไปมุงดูเหตุการณ์และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้บาดเจ็บ รวมทั้งอาจมีคนไม่ดีซึ่งปะปนอยู่ในกลุ่มคนเหล่านั้นถือโอกาสหยิบฉวยเอาทรัพย์สินสิ่งของที่ตกหล่นไปได้ ทั้งการขนส่งวัตถุระเบิดครั้งนี้ก็มิได้จัดให้มีป้ายข้อความว่า "วัตถุระเบิด" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลังรถบรรทุกวัตถุระเบิดคันเกิดเหตุด้วย จึงต้องถือว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นผลใกล้ชิดสัมพันธ์ต่อเนื่องมาจากการขับรถโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 4 ซึ่งกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 4 ด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองวัตถุระเบิดในขณะเกิดเหตุวัตถุระเบิดดังกล่าวระเบิดขึ้น วัตถุระเบิดที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง กำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามผู้เสียหายเอง
รถบรรทุกที่ใช้บรรทุกระเบิดดังกล่าวไม่ได้มีการจัดให้มีป้ายข้อความว่า "วัตถุระเบิด" ติดแสดงไว้ให้เห็นได้ง่ายที่ด้านหน้าและด้านหลัง และไม่ได้ติดแถบสะท้อนแสงสีแดงสลับขาวในแนวเส้นทะแยงมุมที่ท้ายรถตามกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5 และมาตรา 17 วรรคสอง อันเป็นการฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายอันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่น ๆ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 422 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ทำการฝ่าฝืนนั้นเป็นผู้ผิด หากจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวแล้วชาวบ้านที่เห็นข้อความเตือนภัยดังกล่าวก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนหรือแม้จะเข้ามายุ่งเกี่ยวก็อาจใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่เกิดเหตุระเบิดขึ้นก็ได้ เมื่อเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ แต่จำเลยที่ 1 ผู้ครอบครองวัตถุระเบิดมิได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เพื่อป้องกันมิให้ชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวและทำให้เกิดการระเบิดขึ้น การที่ภายหลังจากรถบรรทุกระเบิดพลิกคว่ำและมีชาวบ้านเข้ามายุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดที่ตกกระจายอยู่บนพื้นถนนเป็นเหตุให้เกิดมีการระเบิดขึ้นทำให้ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสามเสียหาย จึงมิใช่เกิดจากเหตุสุดวิสัย และชาวบ้านที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวัตถุระเบิดอันเป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้นนั้นไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของโจทก์ทั้งสาม จึงถือไม่ได้ว่าการระเบิดเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ทั้งสามเอง ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้แปรรูป/ยังมิได้แปรรูปครอบครอง ศาลฎีกาเห็นว่าเจตนาต่างกันเป็นความผิดหลายกรรม
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวกันนั้นเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบความเรียบร้อย จำเลยทั้งสองจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ลักษณะของความผิดในข้อหาการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยทั้งสองร่วมกันมีไว้ในครอบครองจะตัดมาจากต้นเดียวกันและเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7305/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและไม้ยังไม่แปรรูปไว้ในครอบครองถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ไม้จะมาจากต้นเดียวกัน
จำเลยฎีกาข้อกฎหมายว่า จำเลยตัดไม้ยางแล้วทอนเป็นท่อน ไม้ยางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นไม้ที่ได้มาจากการที่จำเลยทำไม้หลังจากนั้นจำเลยแปรรูปไม้ดังกล่าวโดยเลื่อยตัดให้เป็นท่อนซึ่งเป็นการกระทำแก่ไม้ยางต้น จึงน่าจะเป็นฟ้องซ้ำในส่วนการครอบครองไม้ที่แปรรูป ทำนองว่าการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองกับความผิดฐานมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง เป็นกรรมเดียวกันนั้น แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ลักษณะของความผิดในข้อหามีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีไม้อันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ แม้ไม้หวงห้ามที่จำเลยมีไว้ในครอบครองจะตัดมาจากต้นเดียวกันและเป็นจำนวนเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ต้องการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ แต่โจทก์มิได้เป็นสมาชิกจึงขอให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์แทนโดยโจทก์นำที่ดินมาจำนองเป็นประกัน สหกรณ์อนุมัติให้ อ. กู้ยืมเงินและสหกรณ์หักค่าหุ้นและเงินกู้ระยะสั้นที่ อ. ค้างชำระออก ก่อนส่งมอบเงินที่เหลือให้แก่ อ. พฤติการณ์ถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ เมื่อโจทก์มิได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้น หาก อ. มอบเงินที่กู้ยืมมาจากสหกรณ์ให้แก่จำเลยเพื่อนำไปส่งมอบให้แก่โจทก์ ก็เป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกได้ดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากจำเลย
โจทก์ตกลงให้ อ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากสหกรณ์เป็นเงิน 500,000 บาท โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินของโจทก์เป็นประกันหนี้ เหตุที่ต้องให้ อ. เป็นผู้กู้ยืม เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมา อ. ไปรับเงินที่กู้ยืมซึ่งเมื่อคิดหักชำระหนี้สินและค่าหุ้นแล้ว คงได้รับเป็นเงิน 431,928 บาท จึงต้องถือว่า อ. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ต้องรับผิดต่อสหกรณ์ และเป็นเจ้าของผู้มีกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ตราบเท่าที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ต่อให้แก่ผู้ใด ทั้งโจทก์ไม่ได้มอบให้จำเลยเป็นตัวแทนไปรับเงินจาก อ. ดังนั้นการที่ อ. มอบเงินให้แก่จำเลยเพื่อฝากต่อให้แก่โจทก์ย่อมเป็นเรื่องความรับผิดระหว่าง อ. กับจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกเงินดังกล่าวที่เป็นของ อ. ไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ และการริบไม่ใช่การเพิ่มเติมโทษ
โจทก์มีคำขอให้ริบไม้และเลื่อยยนต์ของกลางที่จำเลยได้มาจากการกระทำความผิดและใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดอาญา: รับของโจร-ใช้เอกสารปลอม มีเจตนาเดียวกัน ศาลแก้โทษลดกระทง
จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมเป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร และการที่จำเลยที่ 2 ใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์กับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ปลอมก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบในการขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วยเจตนาอันเดียวกัน เพื่อให้การกระทำความผิดฐานรับของโจรสำเร็จผลตามความมุ่งหมายเท่านั้น ดังนั้น การใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์อันเป็นเอกสารราชการปลอมของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดฐานรับของโจร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6480/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมกระทำความผิดอาญา แม้ไม่ได้ลงมือทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่มีส่วนร่วมวางแผน
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมเห็น อ. นั่งดื่มสุราอยู่ที่หน้าร้านของจำเลย ต่อมาจำเลยเข้ามาทวงหนี้จากโจทก์ร่วมโดยจำเลยกับ อ. พากันเข้ามาในร้านเกมของโจทก์ร่วมพร้อมกัน แล้วจำเลยชี้ตัวโจทก์ร่วมให้ อ. ดูพร้อมกับพูดว่า คนนี้แหละชื่อยันต์ หลังจากนั้น อ. พูดว่า มึงพากูออกไปตามหาพ่อมึง ติดหนี้แล้วต้องใช้หนี้ เมื่อโจทก์ร่วมบอกว่าไม่ทราบว่าพ่ออยู่ที่ไหนและไม่ยอมไป อ. ก็เดินเข้ามาเตะโจทก์ร่วม พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยสมคบร่วมกันกับ อ. มาเตะทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว แม้ขณะที่ อ. เข้ามาเตะทำร้ายโจทก์ร่วม จำเลยจะเพียงแต่ยืนอยู่เฉย ๆ ไม่ได้พูดอะไรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มีอำนาจฟ้องคดีเนื่องจากเป็นการกระทำภายในหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่กระทบสิทธิโจทก์โดยตรง
โจทก์ทั้งสองขอรับเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. กับนาง อ. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งถูกคนร้ายยิงถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงทำหนังสือเสนอให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังพิจารณา แต่กรมบัญชีกลางแจ้งให้จำเลยที่ 1 สอบสวนข้อเท็จจริงก่อนว่าการตายของนาย ป. กับ นาง อ. มีสาเหตุเนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของผู้ตายทั้งสองหรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่งแต่งตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการดังกล่าวสอบสวนแล้วมีความเห็นหรือมติว่าสาเหตุการตายของนาย ป. เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาย ป. ส่วนสาเหตุการตายของนาง อ. ไม่ได้เนื่องมาจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของนาง อ. กรมบัญชีกลางจึงไม่จ่ายเงินบำเหน็จตกทอดของนาย ป. ให้แก่โจทก์ทั้งสอง คงจ่ายให้เฉพาะส่วนของนาง อ. การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดังกล่าวหาได้กระทำการใดอันจะถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสอง ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แต่ความเห็นดังกล่าวหามีผลเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือฟังเป็นยุติที่กรมบัญชีกลางจะต้องปฏิบัติตามแต่อย่างใดไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองเช่นเดียวกัน โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเจ็ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดค่าทดแทนที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยแยกค่าทดแทนเจ้าของและผู้เช่า
ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ จ. ได้ให้ผู้อื่นเช่าที่ดินและอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยจดทะเบียนการเช่าไว้มีกำหนด 30 ปี ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและอาคารสิ่งปลูกสร้างในสภาพที่มีภาระการเช่าให้แก่ จ. และกำหนดเงินค่าทดแทนในการเช่าให้แก่ผู้เช่าอีกส่วนหนึ่งแยกต่างหากจากกัน แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนอาคารสิ่งปลูกสร้างให้แก่ จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์จำนวน 19,668,979.98 บาท เพียงผู้เดียว ย่อมเป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 18 ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ต้องกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของตามมาตรา 18 (2) และผู้เช่าเฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริง โดยเหตุที่ต้องออกจากอาคารและที่ดินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับตามมาตรา 18 (3) แยกต่างหากจากกัน เมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย แม้โจทก์จำเลยจะได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนกันแล้วตามมาตรา 10 ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลมาจากการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวได้ และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็ชอบที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 มาตรา 247 อย่างไรก็ตามการที่ศาลฎีกาจะพิพากษากลับให้ยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เพื่อให้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ใหม่ตามขั้นตอนของกฎหมายไม่อยู่ในวิสัยจะดำเนินการได้ เพราะอายุการใช้พระราชกฤษฎีกาได้สิ้นสุดลงแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงควรให้ศาลชั้นต้นได้กำหนดให้คู่ความนำสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนของอาคารพิพาทตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
of 28