พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ข้อมูลสำคัญช่วยปราบปรามยาเสพติดเป็นเหตุลดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดฯ
ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การว่า ได้ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจาก ว. ในราคาถุงละ 6,000 บาท เพื่อนำไปจำหน่ายในราคาถุงละ 8,000 บาท เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำสำเนาภาพถ่ายตามบัตรประจำตัวประชาชนของ ว. ให้จำเลยดู จำเลยรับรองว่าเป็นภาพถ่ายของ ว. จริง จนเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานตำรวจได้ออกหมายจับ ว. ไว้ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: จำเลยต้องรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิด แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นผลจากการชิงทรัพย์
ความผิดฐานรับของโจรทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ผู้กระทำความผิดต้องรู้ว่าได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 รับนาฬิกาของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดเท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 357 วรรคแรก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานรับของโจร ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานชิงทรัพย์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานรับของโจร ศาลมีอำนาจลงโทษในความผิดฐานรับของโจรได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะจากข้อบกพร่องในการทำตามแบบกฎหมาย ทำให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิจัดการมรดก
เจ้ามรดกไม่ได้แจ้งข้อความที่ประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนต่อหน้าพยานทั้งสองคนพร้อมกัน พินัยกรรมที่ทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1705
ภ. และ ก. ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมกันในขณะจัดทำพินัยกรรม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนี้ พินัยกรรมจึงมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
ภ. และ ก. ไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานพร้อมกันในขณะจัดทำพินัยกรรม ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานสองคนพร้อมกันซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ดังนี้ พินัยกรรมจึงมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้ ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดยาเสพติด: การกระทำที่ช่วยเหลือเพื่อให้เกิดความผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 เป็นมารดาของจำเลยที่ 1 แต่มิได้อาศัยในบ้านที่เกิดเหตุร่วมกับจำเลยที่ 1 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ร้องตะโกนบอกให้จำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่บนบ้านชั้นสอง ทราบว่ามีตำรวจมาและร่วมกันปิดประตูบ้านบนชั้นสองเท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะ รับฟังว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย แต่การที่จำเลยที่ 2 ร้องตะโกนบอกให้จำเลยที่ 1 ทราบว่ามีตำรวจมาและร่วมกันปิดประตูบ้านบนชั้นสอง แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 บุตรชายของจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิด ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 มีเมทแอมฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาก็พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาก็พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดขึ้น ณ ที่ใด แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างถิ่น
แม้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี และได้ทำคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์อันมีลักษณะเป็นคำเสนอต่อตัวแทนของโจทก์ที่จังหวัดจันทบุรี แต่ตัวแทนของโจทก์ส่งคำขอให้โจทก์ตรวจสอบและอนุมัติการทำสัญญากับจำเลยที่ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตศาลแขวงพระนครเหนือ และโจทก์เป็นผู้เปิดสัญญาณดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นคำสนองที่ก่อให้เกิดความผูกพันตามสัญญาระหว่างกัน ทั้งยังเป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง มูลคดีย่อมเกิดขึ้นในศาลแขวงพระนครเหนืออีกศาลหนึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระนครเหนือได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องใหม่ ถือเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็เป็นการรับอุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์กรณีกระทบสิทธิคู่ความ
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตรามีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วันนับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราประทับข้อความดังกล่าวหาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบแต่อย่างใดไม่
แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี หาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลเท่านั้นไม่ เมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246
แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี หาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลเท่านั้นไม่ เมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน ทำให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์ราคาทรัพย์สินไม่เกิน 2 แสน ศาลชั้นต้นชอบที่จะโอนคดีให้ศาลแขวงพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินเนื้อที่เฉพาะส่วนประมาณ 4 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ ในวันนัดพร้อมคู่ความแถลงร่วมกันว่าที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงให้โอนคดีไปพิจารณาที่ศาลแขวงสุพรรณบุรี แต่ศาลแขวงสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงจึงไม่รับโอนคดีและคืนสำนวนไปยังศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งนัดพร้อมและแจ้งวันนัดให้คู่ความทราบ กรณีเป็นเรื่องศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับพิจารณาคดีของผู้ร้อง แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของผู้ร้องจะเป็นทำนองโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาวินิจฉัยว่าระหว่างศาลดังกล่าว ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นที่ศาลจังสุพรรณบุรีได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์อันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีทุนทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงสุพรรณบุรีพิจารณาต่อไปได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์อันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีทุนทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงสุพรรณบุรีพิจารณาต่อไปได้