คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธานิศ เกศวพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 275 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการทดรองจ่ายตามธุรกิจบัตรเครดิต มีอายุความ 2 ปี
ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและสัญญาเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีเฉพาะสินเชื่อธนวัฏบัตรเครดิต ระบุไว้ชัดเจนว่า มีความมุ่งหมายเพื่อการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ อันเกิดจากใช้บัตรเครดิต รวมทั้งเพื่อถอนเงินสดจากบัญชีเงินฝากผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ ซึ่งล้วนเป็นธุรกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับการใช้บัตรเครดิตทั้งสิ้น การเปิดบัญชีกระแสรายวันจึงมิใช้เป็นการเปิดเพื่อให้มีการเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันโดยให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์จำเลยนั้นหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลืออันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 หนี้ที่เกิดขึ้นจึงหาใช่หนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ การที่โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อน หรือการที่โจทก์ยอมให้จำเลยนำบัตรเครดิตไปถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติแล้วจึงเรียกเก็บจากจำเลยในภายหลังย่อมถือว่าได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบกิจการในการรับทำการงานต่างๆ เรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนตามลักษณะของการประกอบธุรกิจประเภทบัตรเครดิต จึงมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษปรับและระยะเวลาการกักขังแทนค่าปรับในคดียาเสพติด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้หากผิดกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 ถือเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น จึงกักขังจำเลยแทนค่าปรับได้เพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้กักขังจำเลย 2 ปี แทนค่าปรับ 200,000 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันเพื่อคัดค้านการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลยกคำร้องเป็นที่สุดและไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้มีจำนวนต่ำเกินสมควร ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง (เดิม) นั้น ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นหลักประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายเนื่องจากการยื่นคำร้องดังกล่าวได้ หากมีพยานหลักฐานเบื้องต้นแสดงว่าคำร้องนั้นไม่มีมูลและยื่นเข้ามาเพื่อประวิงให้ชักช้า ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินจำนวน 200,000 บาท ภายในวันที่ 3 มีนาคม 2546 เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จำเลยจะนำเงินมาวางแล้วบางส่วนจำนวน 100,000 บาท และส่วนที่เหลือขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อไปอีกก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินอีก จำเลยก็ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาวางภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นแล้ว คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจตนาวางเงินประกันและผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด อ้างว่าราคาต่ำเกินสมควรตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง (เดิม) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยวางเงินประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ซื้อทรัพย์ และจำเลยนำเงินมาวางแล้วบางส่วน ส่วนที่เหลือจำเลยขอขยายระยะเวลาวางเงินต่อไปอีก แต่เมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินอีก จำเลยก็ต้องนำเงินส่วนที่เหลือมาวางภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ที่มาตรา 309 ทวิ วรรคสาม ให้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืม ไม่ใช่สัญญากู้ยืมโดยตรง จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า สัญญาจำนองเป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่เป็นหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลย อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามความมุ่งหมายแห่ง ป.รัษฎากรฯ มาตรา 103, 104 และ 118 แม้ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ เหตุผลเช่นว่านี้ได้กล่าวโดยชัดเจนและชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคดีได้ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อกฎหมายเป็นฎีกาในข้อที่เป็นสาระแก่คดีไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีเกี่ยวพันกัน เมื่อคดีหนึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลมีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจเฝ้าดักจับจำเลยทั้งสองได้ขณะจำเลยทั้งสองขับรถถึงด่านเก็บเงินที่เกิดเหตุ และนำไปตรวจค้นพบเฮโรอีน 14 ถุง ต่อมาจึงนำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักและพบเฮโรอีนอีกส่วนหนึ่ง แต่มีการสอบสวนโดยแยกสำนวนจากกันเนื่องจากเป็นความผิดคนละกรรมและที่เกิดเหตุอยู่คนละท้องที่ กรณีความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองสำนวนจึงเกี่ยวพันที่อาจถูกฟ้องคดีเดียวกันและอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อคดีหนึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต การนับโทษต่อจากคดีก่อนหน้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในวันเกิดเหตุเจ้าพนักงานตำรวจเฝ้าดักจับจำเลยทั้งสองได้ขณะจำเลยทั้งสองขับรถถึงด่านเก็บเงิน และนำไปตรวจค้นพบเฮโรอีน 14 ถุง ต่อมาจึงได้นำจำเลยที่ 1 ไปตรวจค้นที่บ้านพักและพบเฮโรอีนอีกส่วนหนึ่ง แต่ได้มีการสอบสวนโดยแยกสำนวนจากกันเนื่องจากเป็นความผิดคนละกรรมและที่เกิดเหตุอยู่คนละท้องที่ ความผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสองสำนวนจึงเกี่ยวพันที่อาจถูกฟ้องคดีเดียวกันและอาจพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เมื่อคดีหนึ่งศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต การที่ศาลล่างพิพากษาให้นับโทษจำคุกคดีนี้ต่อจากคดีดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษคดียาเสพติดจากข้อมูลที่เป็นประโยชน์และฐานะทางการเงินของผู้กระทำผิด
หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมด้วย 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 10 เม็ด และคีตามีน 1 ขวด เป็นของกลางที่บริเวณหน้าห้อง 237/36 อาคารศรีวรา และนำจำเลยไปที่สถานีตำรวจ เจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบกุญแจห้องพัก 1 ดอก ที่ตัวจำเลย จำเลยแจ้งว่าเป็นกุญแจห้องพักที่ห้อง 403 เจริญอพาร์ทเมนท์ และที่ห้องดังกล่าวยังมี 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนและคีตามีนอีกจำนวนหนึ่ง เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยไปที่ห้องพักนั้น และตรวจพบ 3, 4-เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 210 เม็ด และคีตามีนอีกจำนวน 15 ขวด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สมควรลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลผู้ค้าไม่เพียงพอ: ศาลไม่อาจลดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 100/2 แม้จำเลยให้ข้อมูล
แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ให้การในชั้นสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจากนาย ก. ในราคาถุงละ 8,500 บาท แล้วนำมาแบ่งจำหน่าย และจำเลยที่ 1 ได้บอกตำหนิรูปพรรณของนาย ก. แก่พนักงานสอบสวนด้วยก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่านาย ก. ที่จำเลยที่ 1 อ้างมีตัวตนจริงหรือไม่ และได้มีการขยายผลจับกุมนาย ก. ได้หรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าการให้การดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยคิดได้เฉพาะเมื่อผิดนัด
ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และจำเลยยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินสุทธิค้างชำระนับแต่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อตกลงเช่นว่านี้ แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยดอกเบี้ยที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเสียหายจาการไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
of 28