พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: การประเมินอากรและการเปรียบเทียบปรับ
กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร เพื่องดการนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำการประเมินอากรที่โจทก์ต้องเสียและออกแบบแจ้งการประเมินอากรไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์นำเงินค่าอากรมาชำระตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนอากรขาเข้าเริ่มนับแต่วันชำระเงิน การแสดงเจตนาสำคัญผิดเป็นโมฆะ
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับโจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้วแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา87(เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้ หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีกแต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาและคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรดังนั้นอุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ดังนั้นการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีนับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมที่ได้รับแจ้งตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงินซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่10กันยายน2527สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไปจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2538พ้นกำหนด10ปีแล้วคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนภาษีอากร, การสำคัญผิดในตัวบุคคล, และผลของการอุทธรณ์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คดีนี้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินราคาสินค้าให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าทั้งสองฉบับ โจทก์ได้ชำระอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มดังกล่าวถือเป็นการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87 (เดิม)ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30ก่อนจึงจะฟ้องคดีเรียกภาษีอากรที่ชำระเกินไปคืนได้
หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีก แต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคา และคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากร ดังนี้ อุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือ สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน2527 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไป จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 พ้นกำหนด 10ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
หลังจากโจทก์ทำหนังสืออุทธรณ์การประเมินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลย พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยพิจารณาแล้วมีคำสั่งยืนตามราคาประเมินและโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยอีก แต่มีผู้ทำเอกสารปลอมลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์และรอยประทับตราของโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยในนามของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยหลงเชื่อว่าเป็นอุทธรณ์ของโจทก์จริงและนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคา และคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงราคาประเมินกับมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากร ดังนี้ อุทธรณ์ฉบับที่สองที่ยื่นต่อจำเลยในนามของโจทก์ซึ่งมีผู้ทำปลอมขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ของโจทก์แม้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจะรับวินิจฉัยให้ ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ ถือเท่ากับไม่มีการอุทธรณ์ดังกล่าวคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์และปัญหาราคาจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้คืนอากรให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบเพื่อดำเนินการขอคืนค่าภาษีอากรจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สอง เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมกล่าวคือ สำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ หนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้โจทก์ทราบดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อโจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มเติมภายหลังจากโจทก์นำของออกจากอารักขาของศุลกากรแล้ว ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่เมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มตามที่ได้รับแจ้งตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสองเมื่อโจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มเติมตามที่ได้รับแจ้งการประเมินตามสำเนาใบเสร็จรับเงิน ซึ่งระบุว่าจำเลยได้รับชำระอากรแล้วเมื่อวันที่ 10 กันยายน2527 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการขอคืนอากรขาเข้าที่ชำระเกินไป จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2538 พ้นกำหนด 10ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ