พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปิดคดีล้มละลายหลังปิดคดี: ศาลพิจารณาจากหลักฐานเพียงพอหรือไม่ และผลกระทบต่อทรัพย์สินของลูกหนี้
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 6 กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการต่อศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจำเลยมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลเพื่อให้มีคำสั่งเปิดคดี เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชาโดยเห็นว่าควรรายงานศาลให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้บังคับบัญชาเห็นชอบด้วย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงรายงานศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเปิดคดีโดยท้ายหนังสือดังกล่าวได้แนบสำเนาคำร้องของโจทก์ สำเนาบิลเงินสดที่จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน และความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาด้วย กรณีจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้เปิดคดีแล้วหรือไม่ หาจำเป็นต้องไต่สวนพยานตามคำร้องของโจทก์ก่อนแต่อย่างใดไม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 135 (4) มีความหมายว่าเมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ ส่วนที่ศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีมีผลตามมาตรา 134 คือเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้ ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุดแต่ประการใด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 109 จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวและนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป การที่ศาลมีคำสั่งให้เปิดคดีหลังจากมีคำสั่งให้ปิดคดีครบ 10 ปี แล้วหาใช่เป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้วแต่อย่างใดไม่
ตามบทบัญญัติมาตรา 135 (4) มีความหมายว่าเมื่อมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้วให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอและศาลมีอำนาจสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ แต่เมื่อศาลยังไม่ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลาย จำเลยก็ยังเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ ส่วนที่ศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีมีผลตามมาตรา 134 คือเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้ ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุดแต่ประการใด ทรัพย์สินที่จำเลยได้มาก่อนจำเลยจะพ้นจากภาวะการล้มละลายย่อมเป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 109 จำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินดังกล่าวและนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยต่อไป การที่ศาลมีคำสั่งให้เปิดคดีหลังจากมีคำสั่งให้ปิดคดีครบ 10 ปี แล้วหาใช่เป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยภายหลังที่จำเลยพ้นจากการล้มละลายแล้วแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12