คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 314

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองระงับเมื่อชำระหนี้ & การใช้หนี้แทนลูกหนี้ก่อให้เกิดผลผูกพัน
โจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงเป็นอันระงับสิ้นไป สัญญาจำนองที่โจทก์ทำไว้แก่จำเลยย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของ พ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของ พ.ลูกหนี้โจทก์แทน พ.โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของ พ.จะสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ตามสัญญาจำนองและการสมัครใจใช้หนี้แทนลูกหนี้อื่น จำเลยมีสิทธิยึดถือโฉนดได้
โจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วหนี้ตามสัญญาจำนองที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงเป็นอันระงับสิ้นไปสัญญาจำนองที่โจทก์ทำไว้แก่จำเลยย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา744(1)จำเลยจึงมีหน้าที่ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของพ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของพ.ลูกหนี้โจทก์แทนพ. โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของพ. จะสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทางฝากเงินเพื่อประกันหนี้และการชำระหนี้แทน การปรับบทกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคาร โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฎอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้และการชำระหนี้แทน - สิทธิเรียกร้องเงินคืน
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงินทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้วจำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้นเป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลยและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฎอย่างใดแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมายไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและการไล่เบี้ย แม้ฐานะฟ้องผิด ศาลปรับบทกฎหมายได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่จำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริง อันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง
เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากเงินเพื่อประกันหนี้ & การชำระหนี้แทน การปรับบทกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิเรียกร้อง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงินทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามฟ้องแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้วจำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้นเป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญเพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลยและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมายไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวันและการขยายผลการพิพากษาถึงจำเลยอื่น
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับ ทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว
เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10 จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่
แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7,ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวัน และผลผูกพันจำเลยร่วมที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซิทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
of 5