พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคู่สัญญาซื้อขายกิจการที่ผิดนัดชำระหนี้ค่าเครื่องเอกซเรย์ตามสัญญา
สัญญาทำขึ้นในขณะบริษัทโจทก์ใช้ชื่อว่าบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวช จำกัด ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อบริษัทพัฒนประเวศ จำกัด ซึ่งตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมีกรรมการบริษัท 2 คน คือ ส.กับร.คนใดคนหนึ่งลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัทมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ ดังนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทโรงพยาบาลพัฒนเวชจำกัดที่เป็นคู่สัญญากับจำเลยและส.ย่อมมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราของบริษัท ฟ้องจำเลยแทนโจทก์ได้
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
จำเลยซื้อกิจการโรงพยาบาลจากโจทก์และได้รับมอบกิจการไปดำเนินการแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์แทนโจทก์ต่อไป แต่จำเลยไม่นำเงินไปชำระ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงเรียกร้องให้โจทก์ชำระ เมื่อโจทก์ได้ชำระไปแล้ว จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโจทก์จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามสัญญากำหนดเบี้ยปรับของการไม่ชำระหนี้เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อกับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเครื่องเอกซเรย์ตามข้อตกลง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์นำสืบว่าโจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่บริษัทผู้ให้เช่าซื้ออัตราร้อยละ 18 ต่อปี ที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้เดิมในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ไป แม้จะไม่ได้ความว่าลูกหนี้ได้ให้ความเห็นชอบแต่จำนวนเงินที่ชำระ เป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิมการชำระหนี้ ของเจ้าหนี้ย่อมสมประโยชน์และตามความประสงค์อันแท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้ จึงมีหน้าที่ชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้และการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ต้องด้วย ข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94(2) เพราะมิใช่ลูกหนี้ก่อหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ หากแต่ลูกหนี้มีหนี้ที่จะต้อง ชำระให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเจ้าหนี้ชำระหนี้นั้นแทนไปเจ้าหนี้ จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3400/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ มีสิทธิขอรับชำระจากกองทรัพย์สินลูกหนี้ได้ แม้ลูกหนี้ไม่ได้ให้ความเห็นชอบ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เดิมของลูกหนี้ไป แม้จะไม่ได้ความว่าลูกหนี้ได้ให้ความเห็นชอบ แต่จำนวนเงินที่ชำระเป็นหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้เดิม การชำระหนี้ของเจ้าหนี้ย่อมสมประโยชน์และตามความประสงค์อันแท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ชดใช้คืนแก่เจ้าหนี้ และการชำระหนี้ดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 94(2) เพราะมิใช่ลูกหนี้ก่อหนี้โดยตรงกับเจ้าหนี้ หากแต่ลูกหนี้มีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่บุคคลภายนอกแล้วเจ้าหนี้ชำระหนี้นั้นแทน ไปเจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทายาทในหนี้สินเจ้ามรดก: รับผิดเฉพาะส่วนทรัพย์มรดกที่ได้รับ
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดทายาท: ทายาทรับผิดชอบหนี้สินเจ้ามรดกไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ แม้ลงชื่อรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นแต่เพียงทายาทโดยธรรมแต่ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายดังนั้นแม้จำเลยจะทำหนังสือยอมรับชำระหนี้สินต่าง ๆ ของผู้ตายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนก็ตามแต่ความรับผิดของจำเลยในฐานะทายาทเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์
ทายาทไม่ได้ตกลงแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยก็ไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกชำระหนี้ของผู้ตายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก - ข้อจำกัดการนำสืบ - ใบเสร็จรับเงิน
จำเลยเป็นลูกหนี้เงินกู้ของธนาคารโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่าผู้เช่าซื้อที่ดินจัดสรรจากจำเลย ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินแก่ธนาคารโจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ธนาคารโจทก์นำเข้าบัญชีหักหนี้เงินกู้ดังกล่าวโดยมี ส. เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินนั้นเท่ากับนำสืบว่าจำเลยให้บุคคลภายนอกชำระหนี้นั้นด้วยเงินแทนจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนธนาคารโจทก์มาแสดง หรือได้มีการคืนสัญญากู้หรือได้มีการแทงเพิกถอนสัญญากู้นั้นแล้ว ทั้งการรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินมอบให้ ส. ไว้เพื่อเก็บเงินแทนจำเลยหาใช่เป็นใบเสร็จรับเงินของธนาคารโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลของการไม่มีหลักฐานการรับรองจากเจ้าหนี้
จำเลยเป็นลูกหนี้เงินกู้ของธนาคารโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่าผู้เช่าซื้อที่ดินจัดสรรจากจำเลย ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินแก่ธนาคารโจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้ธนาคารโจทก์นำเข้าบัญชีหักหนี้เงินกู้ดังกล่าวโดยมี ส. เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินนั้นเท่ากับนำสืบว่าจำเลยให้บุคคลภายนอกชำระหนี้นั้นด้วยเงินแทนจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนธนาคารโจทก์มาแสดง หรือได้มีการคืนสัญญากู้หรือได้มีการแทงเพิกถอนสัญญากู้นั้นแล้ว ทั้งการรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินมอบให้ ส. ไว้เพื่อเก็บเงินแทนจำเลยหาใช่เป็นใบเสร็จรับเงินของธนาคารโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความต้องเป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกัน
ผู้ร้องซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งเอาไปจำนองโจทก์แต่ยังชำระราคาไม่ครบถ้วน เป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะชำระหนี้แทนจำเลยได้ แต่หนี้ที่จำเลยจะชำระแก่โจทก์เป็นหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ภายใน 15 วันผู้ร้องก็ต้องชำระหนี้ภายใน กำหนดดังกล่าว จะขอผัดเวลาชำระหนี้ไปโดยโจทก์จำเลยมิได้ยินยอมไม่ได้ เมื่อผู้ร้องมิได้ชำระหนี้ ภายในกำหนดนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์มาขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้กรณีผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการ หรือ ยื่นรายการต่ำกว่าที่ควร และการเรียกเงินเพิ่ม
แม้จะมีคำสั่งของนายกรัฐมนตรีให้ทรัพย์สินกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตกเป็นของรัฐ ก็หาเป็นเหตุให้หนี้ค่าภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระระงับลงไม่ กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจกำหนดเงินได้สุทธิของจอมพลสฤษดิ์แล้วทำการประเมินภาษีเงินได้ กองมรดกต้องรับผิดชำระแก่โจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระภาษีและเงินเพิ่มภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน มิใช่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลย แต่เป็นการทวงถาม หรือเตือนจำเลยให้ชำระหนี้ และกรณีไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354,355 และ 203 วรรคสองโจทก์ฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 โดยไม่จำต้องรอให้ ครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับ หนังสือแจ้งการประเมินก่อน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ปัญหาว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆไม่ใช่เงินฝากของจอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิง วิจิตรา จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่ชอบเสียก่อน แล้วจึงฎีกาต่อไปว่าเงินฝาก ในธนาคารดังกล่าว ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จำเลยฎีกา เพียงว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆ ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จึงไม่ชอบ เพราะไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่วินิจฉัยให้
เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายในการบริจาคการกุศลเป็นส่วนหนึ่งของเงินได้ เพราะจะต้องมีเงินได้เสียก่อนแล้วจึงจะสามารถนำไปจ่ายได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำยอดเงินค่าใช้จ่าย ดังกล่าวไปรวมเข้ากับยอดเงินและมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น แล้วกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจึงเป็นการชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นทายาทคนหนึ่งของจอมพลสฤษดิ์ มีหน้าที่แสดงรายการเงินได้ของจอมพลสฤษดิ์ โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์เสียก่อน
การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระภาษีและเงินเพิ่มภาษีภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน มิใช่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลย แต่เป็นการทวงถาม หรือเตือนจำเลยให้ชำระหนี้ และกรณีไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354,355 และ 203 วรรคสองโจทก์ฟ้องจำเลยได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 194 โดยไม่จำต้องรอให้ ครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้รับ หนังสือแจ้งการประเมินก่อน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ปัญหาว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆไม่ใช่เงินฝากของจอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิง วิจิตรา จำเลยที่ 2 นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ จำเลยจะต้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ในคำให้การแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่ชอบเสียก่อน แล้วจึงฎีกาต่อไปว่าเงินฝาก ในธนาคารดังกล่าว ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จำเลยฎีกา เพียงว่าเงินฝากในธนาคารต่าง ๆ ไม่ใช่เงินฝากของบุคคลทั้งสอง จึงไม่ชอบ เพราะไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ศาลฎีกา ไม่วินิจฉัยให้
เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายในการบริจาคการกุศลเป็นส่วนหนึ่งของเงินได้ เพราะจะต้องมีเงินได้เสียก่อนแล้วจึงจะสามารถนำไปจ่ายได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำยอดเงินค่าใช้จ่าย ดังกล่าวไปรวมเข้ากับยอดเงินและมูลค่าของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น แล้วกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิจึงเป็นการชอบ
จำเลยที่ 2 เป็นทายาทคนหนึ่งของจอมพลสฤษดิ์ มีหน้าที่แสดงรายการเงินได้ของจอมพลสฤษดิ์ โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของจอมพลสฤษดิ์เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเกินและสิทธิการขอคืนเงิน รวมถึงข้อยกเว้นภาษีการค้านำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิต
โจทก์เป็นผู้ยื่นชำระภาษีการค้าและภาษีเงินได้เองโดยเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยไม่ได้ประเมินเรียกให้โจทก์ชำระ ดังนี้ เป็นกรณีที่ไม่มีการประเมินเรียกเก็บ โจทก์จึงไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และเมื่อโจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในทางแพ่ง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจนำคดีมาฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)
ค่าภาษีเงินซึ่งลูกจ้างผู้มีเงินได้จะต้องชำระให้แก่จำเลยนั้นเป็นหนี้อันเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างไปนั้นถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 314 เงินที่โจทก์ชำระหนี้แทนลูกจ้างไปนั้นเป็นเงินของโจทก์ ดังนั้น ถ้าโจทก์ชำระเกินจำนวนที่ลูกจ้างเป็นหนี้อยู่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกคืนส่วนที่ชำระเกินไปนั้นได้
ประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ที่บัญญัติว่า บุคคลผู้ใดถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษีตามส่วนนี้ บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน แต่ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป นั้นใช้บังคับสำหรับบุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายในวันที่จะใช้สิทธิเรียกเงินของตนที่ถูกหักภาษีเกินไปคืน แม้โจทก์จะไม่ใช่บุคคลซึ่งถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย แต่โจทก์เป็นผู้ออกเงินของโจทก์ชำระค่าภาษีแทนลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย มีสิทธิได้รับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืน โดยต้องกยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระภาษีนั้นแทนโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเท่าที่ลูกจ้างมีอยู่ คือต้องยื่นคำร้องขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องอายุความลาภมิควรได้นั้นจำเลยไม่ได้หยิบยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการชอบแล้ว
โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าเพื่อขาย มิได้นำมาเพื่อขายในขณะที่เป็นวัตถุดิบ ดังนี้ แม้โจทก์จดทะเบียนประกอบการค้าไว้ในฐานะผู้นำเข้าและผู้ผลิตก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบดังกล่าวตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 คือโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคแรก และโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีที่ให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อโจทก์มิได้เป็นผู้ประกอบการค้าวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อขายโดยเฉพาะก็จะถือว่าการที่โจทก์นำวัตถุดิบต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในฐานะผู้นำเข้าตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มิถุนายน 2505 ถึงตุลาคม 2513)