คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 17

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7277/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่เกิดจากการทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ และศาลไม่ต้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้คัดค้านเป็นหน่วยงานทางปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายมหาชนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนกับผู้ร้องทั้งสาม ผู้คัดค้านทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในฐานะหน่วยงานทางปกครองที่เป็นองค์กรนิติบุคคลข้อ 17 ของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 บัญญัติให้มีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำการในนามผู้คัดค้านในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกและเป็นผู้กระทำการแทนผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การใช้อำนาจของผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งกระทำการในนามผู้คัดค้านจะผูกพันผู้คัดค้านต่อเมื่ออยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ นอกจากจะต้องอยู่ภายในขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จัดตั้งกำหนดไว้เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือกฎระเบียบและข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายแล้ว การใช้อำนาจของผู้คัดค้านจะต้องมิใช่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือมีการบิดผันอำนาจทางหนึ่งทางใดอีกด้วย
ผู้คัดค้านโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า นิติกรรมหรือสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนหากมีการทำขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็เป็นเพียงโมฆียะ เมื่อไม่มีการบอกล้าง ก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างดังกล่าวตกเป็นโมฆะนั้นไม่ชอบ โดยผู้คัดค้านอ้างทำนองเดียวกันกับที่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้แล้วว่า ในการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วน มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ เอื้อประโยชน์แก่ผู้ร้อง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ มีเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมมือกับผู้ร้อง โดยเฉพาะ ศ. ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการของผู้คัดค้านในขณะนั้นและเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างดังกล่าวในนามผู้คัดค้านกระทำโดยมิชอบหลายประการ ทั้ง ศ. และเจ้าหน้าที่อื่นและเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยอื่น ๆ รับประโยชน์จากผู้ร้อง สัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการกล่าวอ้างว่า การใช้อำนาจของ ศ. และเจ้าหน้าที่รัฐคนอื่นดังกล่าวกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ซึ่งเป็นกฎหมายฝ่ายมหาชน เป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งผู้คัดค้านย่อมอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) ซึ่งบัญญัติไว้อย่างเดียวกับพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 (2) ศ. ช่วยเหลือผู้ร้องโดยเห็นแก่ประโยชน์ที่ผู้ร้องจัดให้จึงถือว่าการใช้อำนาจในฐานะผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยของ ศ. ที่ลงนามในสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และขณะเดียวกันการที่ผู้ร้องเพิ่มทุนและจัดสรรหุ้นของบริษัท ท. ให้แก่ ศ. กับเจ้าหน้าที่ของรัฐคนอื่นมีสิทธิซื้อหุ้นในฐานะผู้มีอุปการะคุณก่อนทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้ผลประโยชน์แก่ ศ. และเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วน โดยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ร้อง กรณีต้องถือว่า ในการทำสัญญาดังกล่าวของผู้ร้อง ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต สัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนซึ่งเกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้าน คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระเงินให้แก่ผู้ร้องตามสัญญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวนั้นหากศาลบังคับให้ตามคำชี้ขาดนั้นย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนชอบที่ศาลชั้นต้นจะปฏิเสธไม่รับบังคับให้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ดังนั้นคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับตามคำชี้ขาดขออนุญาตโดยตุลาการดังกล่าวจึงฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม & ดอกเบี้ยกรณีศาลวินิจฉัยให้ชำระเพิ่ม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษ และในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว...พ.ศ. 2533 กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 กระทำหรือดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินพิพาทในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้
โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือศาลมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินซึ่งเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมานับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น โดยไม่จำต้องรอให้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม มาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ส่วนวันที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนไปยังโจทก์ผู้ถูกเวนคืนก็มิใช่วันวางเงินตามมาตรา 26 วรรคสุดท้าย และมาตรา 28 วรรคสองดังนั้น วันวางเงินตามความหมายแห่งกฎหมายทั้งสองบทนี้ คือวันสิ้นสุดกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของฝ่ายจำเลยให้ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทน และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด จึงต้องถือวันเดือนปี ที่ออกหนังสือดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นนับกำหนดเวลา
จำเลยมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยภายใน 60 วัน หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 สิ้นสุด 60 วัน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2536วันวางเงินค่าทดแทนจึงเป็นวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 ดังนั้น วันเริ่มคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มจึงเป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าทดแทนเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรม, ดอกเบี้ย, และระยะเวลาการจ่ายเงิน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ2ได้บัญญัติให้จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยขึ้นและให้เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีด้วยวิธีการใดๆตลอดจนบำรุงและรักษาทางพิเศษและในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ6ข้อ13ข้อ15และข้อ17บัญญัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยมีอำนาจซื้อจัดหาถือกรรมสิทธิ์ครอบครองหรือดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยโดยมีผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีหน้าที่บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษโดยมีผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้บริหารกิจการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและถือว่าผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้กระทำในนามและเป็นผู้กระทำแทนการพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยและตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีวัตถุประสงค์ที่จะเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์โดยมาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษดังนั้นการดำเนินการเวนคืนเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวเพื่อสร้างทางพิเศษจึงเป็นกิจการในอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยเมื่อผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและตามขั้นตอนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษตามอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยจึงเป็นการดำเนินการในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และในฐานะผู้แทนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยด้วยเมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนอันเป็นกิจการส่วนหนึ่งในการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือที่ดินของโจทก์ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยได้ ที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอปากเกร็ดพ.ศ.2530เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่และสายพญาไท-ศรีนครินทร์แต่เนื่องจากการสำรวจที่ดินที่จะเวนคืนยังไม่แล้วเสร็จและพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวสิ้นอายุจึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตดุสิตพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่1มกราคม2535เป็นต้นไปดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่อยู่ในเขตที่จะเวนคืนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่44อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่2 หลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนนั้นมาตรา21วรรคหนึ่ง(1)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21ดังกล่าวให้คำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6ซึ่งในกรณีนี้คือในวันที่1มกราคม2535รวมทั้งต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่นๆในมาตรา21วรรคหนึ่ง(2)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเว้นคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ประกอบด้วยเมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินของโจทก์เท่ากับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อวันที่1มกราคม2535ราคาดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินเพียงประการเดียวซึ่งเป็นเพียงองค์ประกอบประการหนึ่งในการกำหนดราคาค่าทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา21(3)จึงยังถือไม่ได้ว่าการกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนโดยชอบและเป็นธรรม โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่5มีนาคม2536ตามเอกสารหมายล.12นับแต่วันดังกล่าวไปอีก120วันซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์คือวันที่3กรกฎาคม2536อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา26วรรคสามโจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าวในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ8.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ8.5ต่อปีคงที่นับแต่วันที่11พฤษภาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง