คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 213

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060-1061/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการเปลี่ยนแปลงเจ้าของกรรมสิทธิ์ทำให้ไม่อาจบังคับได้
การที่จำเลยละเลยไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภารจำยอมตามสัญญาดังกล่าวนั้นได้แต่เมื่อปรากฎว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทให้แก่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไปและไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์ทั้งสามเพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา213การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหายแต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วยจึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม, การจดทะเบียน, สัญญาประนีประนอม, การบังคับคดี, ความเสียหาย
โจทก์ทั้งสามใช้ทางภาระจำยอมได้เพียงบางส่วนเฉพาะส่วนที่เข้าออกที่ดิน อันเป็นที่ตั้งโรงงานของโจทก์ทั้งสามเป็นประตูกว้างประมาณ 9 เมตรสู่ที่ดินถนนภาระจำยอมของจำเลย ส่วนประตูเข้าออกในที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3ฝั่งตรงข้ามโรงงานที่ติดกับที่ดินของจำเลยซึ่งเคยเว้นช่องเข้าออกไว้ประมาณ 9 เมตรเช่นกัน จำเลยได้ก่อกำแพงสูง 2 เมตรปิดกั้น โดยเว้นช่องทางเข้าออกไว้เพียง1 เมตร เท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้ยืนยันว่าไม่สามารถเข้าไปใช้ที่ดินของโจทก์ทั้งสามได้เพียงแต่ไม่สะดวกเท่านั้น ซึ่งจำเลยก็ได้เปิดทางเป็นถนนให้โจทก์ทั้งสามเข้าออกโรงงานของโจทก์ทั้งสามแล้ว และที่ดินฝั่งตรงข้ามโรงงานก็เป็นที่ว่าง แม้จำเลยจะก่อรั้วขึ้นมาดังกล่าว แต่ก็มิได้กีดขวางทางเข้าออกสู่ถนนพิพาทเพราะยังเหลือที่ว่างเปล่าอีกมากซึ่งโจทก์ทั้งสามสามารถเข้าออกสู่ถนนพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามจึงไม่ได้รับความเสียหาย
คดีนี้จำเลยได้ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนในอันที่จะจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ โจทก์ทั้งสามย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามสัญญาประนีประนอม-ยอมความนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 แต่เมื่อปรากฏว่าภายหลังโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยแล้ว จำเลยได้จดทะเบียนโอนที่ดินซึ่งเป็นถนนพิพาทคดีนี้ให้แก่ ก.แล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงดังกล่าวอีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์ทั้งสามตามคำขอท้ายฟ้องได้ต่อไป เพราะสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวแม้หากจะฟังว่าทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ทั้งสามมิได้ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายสำหรับกรณีนี้มาด้วย จึงไม่อาจวินิจฉัยให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และชอบที่จะให้โจทก์ทั้งสามจะไปว่ากล่าวเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้จากการผิดสัญญาตัวแทน, เบี้ยปรับ, และอายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินแทนได้ทันที เป็นข้อกำหนดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดมิใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 ก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าเจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยพลัน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันยังชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้และสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมาตรา 213 และมาตรา 685 สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยระบุว่า ในกรณีตัวแทนผิดนัดสัญญาขายเงินเชื่อไม่ส่งเงินค้างชำระภายใน ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 สัญญาตั้งตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ส่งเงินค่าปุ๋ยของโจทก์ที่จำเลยจำหน่ายได้ให้โจทก์ภายในกำหนดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีของเงินที่จะต้องส่งให้โจทก์ ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคนต่างด้าวทำสัญญาซื้อขายที่ดิน: สัญญาไม่เป็นโมฆะหากมีสิทธิขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีสิทธิทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดินจากจำเลยได้เพราะกฎหมายมิได้ห้ามขาดมิให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยคนต่างด้าวอาจขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ สัญญาจะซื้อที่ดินจึงไม่เป็นโมฆะหรือโมฆียะ เมื่อสัญญามีผลบังคับและยังไม่ระงับ โจทก์ที่ 2ย่อมฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามสัญญาได้ แต่ศาลจะบังคับให้เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ในการถือกรรมสิทธิ์ก่อน เมื่อโจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีโดยยังมิได้ปฎิบัติให้ครบหลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ต้องยกฟ้องโจทก์ และวางเงื่อนไขให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสลากในตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคลทั่วไป
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นจำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ทีี่นำมาขายถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาดจำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมจึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในท้องตลาด: สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ซื้อจากบุคคลในตลาด ไม่ถือเป็นการซื้อจากท้องตลาด
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้น จำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ทีี่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในท้องตลาด: ความหมายและการซื้อสลากกินแบ่งที่ถูกลักมา
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้น จำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์
วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายในตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคลทั่วไป และผลต่อการคืนทรัพย์
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นจำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นำมาขายถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาดจำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมจึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
of 39