คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 213

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิใช้สอยที่ดินร่วมกัน จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบโฉนดคืนให้โจทก์เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เก็บรักษาโฉนดที่ดินไว้นำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถจดทะเบียนขายที่ดินเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องดำเนินการนำโฉนดที่ดินคืนมาเพื่อส่งมอบแก่โจทก์ กรณีมิใช่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4920/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมและหน้าที่ส่งมอบโฉนดที่ดิน แม้โฉนดอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น
โจทก์ จำเลย และ ร. เป็นเจ้าของรวมในที่ดิน แต่ละคนย่อมมีสิทธิใช้สอยที่ดินดังกล่าวได้แต่ต้องไม่ขัดสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ และเจ้าของรวมคนหนึ่ง จะจำหน่ายที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนก็ได้ การที่จำเลยนำโฉนดที่ดินไปให้บุคคลอื่นยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ย่อมขัดต่อสิทธิของโจทก์ จำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโฉนดที่ดินอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น จำเลยย่อมต้องมีหน้าที่ดำเนินการนำโฉนดที่ดินมาเพื่อมอบแก่โจทก์จนได้ กรณีไม่ใช่สภาพหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ และการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของโจทก์ให้แก่ ร. ไม่ใช่กรณีที่โจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์จะสามารถขอให้ศาลสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ไม่ต้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดแก่โจทก์ได้ เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสองนั้น ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดิน ศาลจึงไม่อาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินในเขตหวงห้าม: ศาลเพิกถอนคำสั่งไม่ออกโฉนด หากราษฎรครอบครองก่อนการหวงห้าม
บ. ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2468 โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อจาก บ. และทายาท บ. แม้ที่ดินพิพาทจะอยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดิน ฯ พ.ศ. 2481 แต่เป็นที่ดินซึ่งราษฎรเข้าครอบครองทำประโยชน์ก่อนการหวงห้ามในปี 2481 จึงไม่ต้องห้ามที่จะออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสองตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หมวด 3 ข้อ 14 (4) คำสั่งของจำเลยที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีเพื่อมุ่งประสงค์จะขอให้ใช้อำนาจศาลบังคับให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเองที่ไม่ออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสองเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลล่างทั้งสองบังคับให้จำเลยดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้โจทก์ทั้งสอง หากไม่ปฏิบัติให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น ไม่อาจทำได้เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้เงิน เมื่อทรัพย์สินถูกเวนคืน สัญญาเช่ายังไม่สิ้นสุด การบังคับคดีต่อทรัพย์สินอื่นชอบด้วยกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้าง และสัญญาเช่าสร้างได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์หากเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างให้โจทก์ได้ ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินแก่โจทก์แม้ก่อนศาลมีคำพิพากษาที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารได้ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ แต่จำเลยที่ 2 หรือที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าสร้าง สัญญาเช่าสร้างจึงยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนไป หากมีการยกเลิกการเวนคืนที่ดินสัญญาเช่าสร้างก็ยังคงมีผลอยู่เช่นเดิม ตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนเมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างถูกเวนคืนอันทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างไม่เปิดช่องให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาในลำดับต่อมา คือจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิกฤตเศรษฐกิจไม่ปลดเปลื้องหนี้ - การบังคับคดีจำนองยังชอบด้วยกฎหมาย
การเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอาจมีผลกระทบต่อลูกหนี้บางคนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้สินที่ตนมีต่อสถาบันการเงินได้เหมือนเช่นปกติ แต่จะถือเป็นพฤติการณ์ที่ทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเสียทีเดียวไม่ได้ต้องพิจารณาเป็นกรณีไปโดยเฉพาะจำเลยได้จำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ยืมไว้กับโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ728 การชำระหนี้ของจำเลยจึงอยู่ในวิสัยที่พึงปฏิบัติได้ จะอ้างวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศมาปลดเปลื้องเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิทายาท, ผู้จัดการมรดก
หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้น คดีก่อนศาลต้องมีคำวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ซึ่งการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176 นอกจากนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแต่อย่างใด การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1กับพวกเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 1 จะยกอายุความมรดก1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ดังนั้น ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738-5739/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ แม้จะมีการโอนสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทั้งสองสำนวนโดยตั้งประเด็นใหม่ว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นโมฆะซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องของโจทก์นั้นแล้ว และจำเลยทั้งห้าก็ได้ขอแก้ไขคำให้การทั้งสองสำนวนแล้วว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงไม่เป็นโมฆะ แต่ศาลชั้นต้นยังคงชี้สองสถานโดยตั้งประเด็นในเรื่องนี้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ อันเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องและคำให้การที่โจทก์และจำเลยทั้งห้าแก้ไขซึ่งเป็นการผิดพลาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 ศาลสูงไม่จำต้องถือตามและมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ เมื่อโจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยให้โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาต่อมา
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 รับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจากจำเลยที่ 1 โดยทราบจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วว่าโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 กับพวกโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ยังคงยืนยันให้เจ้าพนักงานที่ดินรับจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้ตามคำขอ การกระทำของจำเลยทั้งห้าเช่นนี้เห็นได้ว่าจำเลยทั้งห้ามีเจตนาโอนและรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อขัดขวางมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดตามที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไว้แล้ว นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้โดยไม่จำต้องใช้สิทธิในเรื่องการเพิกถอนการฉ้อฉลตาม มาตรา 237
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหรือทำลายนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินสองแปลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 12 กับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 และขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันแก้ไขทางทะเบียนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 เพื่อจดทะเบียนให้แก่โจทก์โดยให้จำเลยทั้งห้าเสียค่าใช้จ่ายร่วมกัน หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้น เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงนั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อกลับมีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.) สำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยอัตโนมัติ ไม่จำต้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามคำขอของโจทก์ดังกล่าว และคำขอดังกล่าวโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เพราะเพียงแต่ขอให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิมเท่านั้น มิได้เรียกร้องเอาที่ดินทั้งสองแปลงเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน & การไถ่ถอนจำนอง: ศาลพิพากษาให้ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกินคำฟ้อง
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 โดยศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่งแต่หลังจากจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร พ. โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายมาด้วย ดังนี้ จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนองจำเลยผู้จำนองจะต้องไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองครบถ้วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองและการส่งมอบที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หรือให้โจทก์ไถ่ถอนแทนโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายได้
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน และผลของการจดจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยกลับจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยการปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง
of 39