คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 213

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินจากการยกที่ดินเป็นของขวัญ: สิทธิเรียกร้องบังคับจดทะเบียนได้
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกิน ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทน ในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้น ตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเก็บกินโดยสัญญาต่างตอบแทน: อำนาจฟ้องบังคับจดทะเบียน
โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดชีวิตของโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการที่โจทก์ยกที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยจะมีผลประโยชน์จากสิ่งปลูกสร้างโดยได้เงินกินเปล่าจากผู้เช่า ส่วนโจทก์มีรายได้เฉพาะการเก็บค่าเช่าเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงพิเศษอย่างสัญญาต่างตอบแทน ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินนั้นตราบใดที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมิได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นให้แก่บุคคลอื่น โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนเงินบัญชีร่วมหลังเจ้าของบัญชีเสียชีวิต จำเลยมีหน้าที่ให้ความยินยอมตามข้อตกลง
เมื่อ พ.เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของพ. ได้เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินบัญชีเงินฝากในธนาคารคนละครึ่งกับโจทก์แทน พ. แต่เนื่องจากโจทก์กับ พ.ตกลงกันว่า หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมต้องให้ทายาทให้ความยินยอมในการถอนเงินฝากในธนาคารตามบัญชีเงินฝากที่พิพาท ดังนั้นเมื่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ พ. ตาม ป.พ.พ.มาตรา1600 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ขอถอนเงินเฉพาะส่วนของโจทก์จากบัญชีดังกล่าว การที่จำเลยไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์จะถอนเงินส่วนของโจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและหากจำเลยไม่ยินยอม ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงต่อธนาคารแทนการให้ความยินยอมของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนเงินฝากร่วม สิทธิทายาท และหน้าที่ให้ความยินยอม
โจทก์กับ พ. ตกลงกันว่า หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมต้องให้ทายาทให้ความยินยอมในการถอนเงินฝากในธนาคาร ตามบัญชีเงินฝากที่พิพาทดังนั้นเมื่อ พ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ พ. ได้เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินบัญชีเงินฝากในธนาคารคนละครึ่งกับโจทก์แทน พ. จำเลยจึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของพ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จำเลยย่อมมีหน้าที่ ต้องให้ความยินยอมในการที่โจทก์ขอถอนเงินเฉพาะส่วนของโจทก์ จากบัญชีดังกล่าว การที่จำเลยไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์ จะถอนเงินส่วนของโจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและหากจำเลยไม่ยินยอม ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงต่อธนาคารแทนการให้ความยินยอมของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนเงินฝากร่วม หากเจ้าของบัญชีเสียชีวิต และการบังคับให้ทายาทให้ความยินยอม
เมื่อ พ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย และจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ พ. ได้เข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเงินบัญชีเงินฝากในธนาคารคนละครึ่งกับโจทก์แทน พ. แต่เนื่องจากโจทก์กับพ. ตกลงกันว่า หากคนใดคนหนึ่งถึงแก่กรรมต้องให้ทายาทให้ความยินยอมในการถอนเงินฝากในธนาคารตามบัญชีเงินฝากที่พิพาทดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ พ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องให้ความยินยอม ในการที่โจทก์ขอถอนเงินเฉพาะส่วนของโจทก์จากบัญชีดังกล่าว การที่จำเลยไม่ให้ความยินยอมในการที่โจทก์จะถอนเงิน ส่วนของโจทก์ ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมี อำนาจฟ้องและหากจำเลยไม่ยินยอม ศาลก็มีอำนาจสั่ง ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแสดงต่อธนาคารแทนการให้ ความยินยอมของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์กรณีตัวแทนจำกัดอำนาจและการซื้อขายโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามป.พ.พ.มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วย ย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ - ความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกที่ซื้อรถยนต์จากตัวแทน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยทั้งสองประกอบกิจการขายรถยนต์ โดยจำเลยที่ 2มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์ให้แก่ลูกค้าของโจทก์ไป แม้ตามสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์คันพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองมีเงื่อนไขว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จะโอนเป็นของจำเลยที่ 1ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้จำเลยที่ 2 แม้แต่เพียงบางส่วนและจำเลยที่ 2 ผู้ขายก็มิได้กำหนดราคารถยนต์ที่ขายหรือตกลงกันในสัญญาว่า ให้กำหนดกันด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 487 และมิได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยที่ 1 ชำระราคารถยนต์ดังกล่าวไว้ด้วยย่อมเห็นได้ว่าสัญญาซื้อขายและส่งมอบรถยนต์ระหว่างจำเลยทั้งสองไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายกันตามปกติ การที่จำเลยที่ 2ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ซึ่งประกอบกิจการขายรถยนต์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ในประการที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายแก่บุคคลทั่ว ๆ ไปพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการที่ไม่เปิดเผยชื่อและยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นเจ้าของหรือผุ้มีสิทธิขายรถยนต์พิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริต จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาซื้อขายและต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทพร้อมมอบสมุดจดทะเบียนให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 2ไม่ดำเนินการศาลย่อมพิพากษาให้ถือคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้จะมีเจ้าของรวมอื่น ยินยอมการทำสัญญา
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตามลำดับชำระหนี้ตามคำพิพากษา แม้จะมีเจ้าของรวม
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดิน ส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตาม ลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญา จะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดี แก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสองจำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจาก ความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้เจ้าของรวมอีกคนยินยอม
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
of 39