พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามลำดับที่ศาลกำหนด แม้จะมีเจ้าของรวมอื่น ยินยอมการทำสัญญา
เมื่อศาลฎีกาในคดีหลักมีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า อ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว โจทก์จึงขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ. เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการบังคับตามสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่ง หรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้ สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้น มิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่ง ในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วย ตามมาตรา 213 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับตามสัญญาและการเรียกค่าเสียหายจากการผิดนัดชำระหนี้
แม้ตามสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม แต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาตาม มาตรา 213 วรรคหนึ่งหรือจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 ก็ได้สิทธิดังกล่าวนี้เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยบทบัญญัติของกฎหมายส่วนการที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญากันว่าหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญาให้อีกฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย เป็นเพียงการกล่าวย้ำถึงสิทธิบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 386 เท่านั้นมิได้เป็นการยกเลิกสิทธิของโจทก์ตามมาตรา 213 วรรคหนึ่งในอันที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาได้ด้วยตามมาตรา 213 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจดทะเบียนภาระจำยอมเมื่อจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์แล้ว และการกำหนดค่าทนายความที่ไม่ชอบ
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ แต่ห้ามจำเลยทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับโฉนดที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบจึงได้รับหนังสือตอบมาว่าจำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ท.และ ช.ไปก่อนแล้ว อีกทั้ง ช.กับ ท.จดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวแก่ธนาคาร อ.และบริษัทเงินทุน ม.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภารยทรัพย์อีกต่อไป และไม่อยู่ในฐานะจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมได้ การบังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาของศาลล่างที่ให้จำเลยจดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่โจทก์ย่อมไม่อาจกระทำได้ เนื่องจากสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องที่จะบังคับให้จำเลยทำเช่นนั้นได้ ศาลฎีกาให้ยกคำขอในส่วนที่บังคับคดีแก่จำเลยในส่วนนี้ทั้งหมด
ผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์ผู้เรียงและพิมพ์ในคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเอง จึงไม่มีเหตุจะกำหนดค่าทนายความให้ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้
ผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ลงชื่อเป็นผู้แก้อุทธรณ์ผู้เรียงและพิมพ์ในคำแก้อุทธรณ์ด้วยตนเอง จึงไม่มีเหตุจะกำหนดค่าทนายความให้ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีอาญาเรื่องยักยอกแล้ว
แม้ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อในคำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องนั้นวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยอาจไม่ได้เบียดบังข้าวเปลือกของโจทก์ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยเมื่อไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งด้วยหรือไม่ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อให้รับผิดเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาและมีเหตุผลรองรับ
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 2,000,000 บาท บอกกล่าวแก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม และจะชำระต้นเงินกู้ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 180 เดือนนับตั้งแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป โดยจะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 27,000 บาท ทั้งจะเริ่มผ่อนชำระตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535และทุก ๆ วันสิ้นเดือนของเดือนต่อ ๆ ไปไม่ให้ขาดระยะจนกว่าจะชำระเสร็จหากผิดนัดชำระต้นเงินคืนและหรือดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามกำหนดดังกล่าวไม่ว่าเดือนหนึ่งเดือนใดยอมให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทั้งหมดเมื่อถึงกำหนดผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2535 จำเลยมิได้ผ่อนชำระหนี้เดือนละ 27,000 บาท ให้แก่โจทก์ ตามกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยย่อมได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันทีตามข้อตกลงในสัญญากู้เงิน
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
เมื่อปรากฏว่าในวันที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่โจทก์กับจำเลยก็ตกลงกันกำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 14 ต่อปี เพียงแต่ตกลงกันตามข้อ 2 แห่งสัญญากู้เงินดังกล่าวว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ได้ ซึ่งหมายถึงว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้วอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงจะมีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า หลังจากกู้ยืมเงินกันแล้ว ได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยหรือประกาศธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นดังนั้น การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 14 ต่อปี เป็นร้อยละ 17 ต่อปีโดยปรับในวันถัดจากวันทำสัญญาและให้มีผลตั้งแต่วันทำสัญญาไม่ต้องด้วยข้อกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่มีอำนาจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอในฟ้อง: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้คืนรถยนต์หรือชดใช้ราคาได้ แม้คำขอท้ายฟ้องจะเน้นการชดใช้ราคา
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา ไม่อาจส่งมอบรถยนต์ที่โจทก์ฝากขายไว้คืนแก่โจทก์ ในสภาพเรียบร้อยได้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์ 70,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ มีความประสงค์หลักให้จำเลยคืนรถยนต์นั่นเอง หากคืนไม่ได้จึงให้ใช้ราคาเท่าราคารถยนต์ การที่ศาลล่างทั้งสองมี คำพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย หากคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคาแทนโดยตีราคารถยนต์ต่ำกว่า ที่โจทก์ขอ จึงมีอำนาจที่จะพิพากษาได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินได้จากการขายผลิตผลและการเช่าที่ดิน เงินได้เหล่านี้เป็นของเจ้าของและจำเลยมีหน้าที่คืน
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วย เมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินรายได้ของสถานศึกษาและค่าเช่าที่ดิน จำเลยต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า เงินที่หักหรือลดเป็นค่าการตลาดร้อยละ 5 จากการขายผลิตผลงานฟาร์มของโจทก์ และเงินค่าเช่าหรือค่าตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์เป็นฎีกาในปัญหาจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วว่า จะมีผลทางกฎหมายว่าเงินดังกล่าวเป็นของโจทก์ หรือเป็นเงินค่าใช้จ่ายปกติที่ต้องเสียซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารกับผู้ขายที่สามารถจัดเข้าไว้เป็นเงินกองกลางได้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย เงินค่าการตลาดที่หักหรือลดให้ไว้จากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์เกิดขึ้นหรือมีที่มาจากการขายผลิตผลงานฟาร์ม ของโจทก์ย่อมเป็นเงินของโจทก์ หาได้มีกฎหมายใดบัญญัติให้ เงินนี้เป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของหรือเป็นเงินกองกลางไม่ส่วนเงินที่ได้รับตอบแทนจากการใช้ที่ดินของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นดอกผล ย่อมตกได้แก่เจ้าของทรัพย์คือโจทก์ด้วยเมื่อไม่มีกฎหมายหรือระเบียบให้นำเงินดังกล่าวไปใช้ได้โดยไม่ต้องส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว การที่จำเลยนำเงินดังกล่าวไปใช้โดยไม่ส่งคืนโจทก์ ไม่ว่าจะนำไปใช้โดยสุจริตหรือเพื่อประโยชน์ต่อโจทก์ก็ตาม ถือว่าเป็นการนำไปใช้โดยไม่มีอำนาจ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์เมื่อโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีให้แก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้ำประกันการทำงาน: สิทธิคืนเมื่อทำงานครบกำหนด/ทุจริต & จำนวนเงินที่ต้องคืน
ใบสมัครงานของโจทก์ระบุชัดว่า โจทก์จะทำงานกับจำเลยอย่างน้อย 1 ปี และถ้าจะลาออกจะแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ถ้าผิดสัญญาและ/หรือถูกจำเลยให้ออก ไล่ออกด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม โจทก์จะไม่รับเงินค้ำประกันคืนเงินค้ำประกันนี้ไม่ค้ำประกันความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ก่อขึ้นเงินค้ำประกันที่โจทก์ยังจ่ายไม่ครบให้หักจากเงินเดือนจนครบตามจำนวนที่จำเลยต้องการ หมายความว่า เงินค้ำประกันดังกล่าวโจทก์วางไว้แก่จำเลยเพื่อประกันการทำงานว่าจะทำงานกับจำเลยไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าโจทก์ทั้งสองผิดสัญญาและถูกจำเลยให้ออกหรือไล่ออกจากงานด้วยเหตุใดก่อนครบ 1 ปีโจทก์ทั้งสองจะไม่รับเงินค้ำประกันคืนจากจำเลย และแม้โจทก์จะทุจริตต่อหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่จำเลยจะไม่คืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ ดังนี้เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยมาเกิน 1 ปี ครบถ้วนตามข้อตกลงในใบสมัครงานแล้ว แม้ถูกจำเลยไล่ออก โจทก์ก็มีสิทธิรับเงินค้ำประกันคืน แต่หากโจทก์นั้นทำงานกับจำเลยมายังไม่ถึง 1 ปี ตาม ข้อตกลงในใบสมัครและถูกจำเลยไล่ออกเพราะความผิดของโจทก์ที่ทุจริตต่อหน้าที่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิรับเงินค้ำประกันที่วางไว้แก่จำเลยคืน ตามคำฟ้องโจทก์ระบุชัดว่าจำเลยเรียกเก็บเงินค้ำประกันจากโจทก์ครั้งแรกคนละ 2,000 บาท ในวันเริ่มทำงานและหักค่าจ้างโจทก์ทั้งสองอีกคนละ 1,000 บาท เป็นรายเดือนเป็นเวลา 3 เดือน รวมเป็นเงิน 5,000 บาท จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่จำต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์เพราะโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย รายละเอียดปรากฏตามใบสมัครงานเอกสารท้ายคำให้การ ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยต้องคืนเงินค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสองหรือไม่เพียงใด ย่อมหมายถึงว่าการที่จำเลยปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดในเงินค้ำประกันต่อโจทก์ และมีความหมายรวมถึงปฏิเสธเรื่องจำนวนเงินค้ำประกันที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์มีจำนวนเท่าใด มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยรับข้อเท็จจริงในเรื่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันกันแล้ว ทั้งมิใช่เป็นการตรวจและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วน ดังนั้น ที่ศาลแรงงานพิเคราะห์จากเอกสารซึ่งจำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานที่มีการระบุชัดเจนว่าเงินค้ำประกันมีจำนวน 2,000 บาท โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ค้างเงินค้ำประกันอยู่อีก ส่วนเงินที่หักจากโจทก์มีคนละ 3,000 บาท เป็นเงินค่าจ้างที่หักไว้เท่านั้น จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น ข้อพิพาทโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำฟ้องคำให้การ