พบผลลัพธ์ทั้งหมด 389 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ทุบอาคารตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบังคับตามสัญญา และเรียกค่าเสียหายได้
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้วแม้ได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดินคืน แต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังมิได้ถูกยกเลิกต่อกันแล้วโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิของโจทก์ในการบังคับตามสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหาย
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์แล้ว แม้ได้มีการเจรจาขอซื้อที่ดืนคืน แต่เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ สัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังมิได้ถูกยกเลิกต่อกันแล้วโดยปริยาย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทแล้วตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำเลยย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา แต่คงเป็นสิทธิของโจทก์ฝ่ายเดียวที่จะบังคับตามสัญญา แม้ในวันกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ที่ 1 จะไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ตาม
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินฉบับพิพาทระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใด ต้องคืนเงินมัดจำตามสัญญานี้ให้แก่โจทก์ทันที และยินยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญานี้ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาตั้งแต่ก่อนถึงวันกำหนดโอนกรรรมสิทธิ์ที่ดิน ดังนั้น การที่โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและจะชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือ โดยนำเงินมัดจำที่จำเลยจะต้องคืนแก่โจทก์ฐานผิดสัญญามาหักออกก่อน จึงไม่ทำให้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา และจำเลยจะต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์อันเกิดขึ้นจากการที่จำเลยไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์และค่าเสียหายของโจทก์ในการที่จะต้องว่าจ้างทุบอาคารบนที่ดิน เพราะหลังจากทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์แล้ว จำเลยเคยติดต่อขอซื้อที่ดินกลับคืนในราคาที่สูงกว่าที่จำเลยตกลงจะขายให้โจทก์หลายครั้งแต่ตกลงกันไม่ได้ และจำเลยทราบว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยเพื่อจะสร้างอาคารชุด ซึ่งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงและจำเลยทราบดีอยู่แล้ว
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ การบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำของจำเลยจึงไม่มีผลและในกรณีที่จำเลยไม่อาจขายที่ดินให้โจทก์ได้ จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดเงินมัดจำไว้ได้ต้องคืนเงินมัดจำพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 78/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิหักบัญชีเงินฝากของผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัด
โจทก์มีสิทธิถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาที่เรียกชื่อว่าสัญญาจำนำสิทธิ จำนวน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมาชำระหนี้โจทก์ได้ทันทีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ เมื่อปรากฏจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2535 โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวหักบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 พร้อมดอกเบี้ยชำระหนี้โจทก์นับแต่นั้น การที่โจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปแล้วจึงค่อยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาชำระหนี้ เป็นการไม่ถูกต้อง โจทก์จึงต้องใช้สิทธิตามสัญญาดังกล่าวตามข้อตกลงในสัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกปัดสินค้าไม่ตรงตามสัญญาซื้อขาย และหน้าที่คืนเงินค่าสินค้า
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9 ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง
ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวน ขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น แม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา
ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขายกันตามตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีก แสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวน ขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้น แม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญา โจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา
ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา ระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขายกันตามตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีก แสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7727/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายโกโก้ผง: สิทธิบอกปัดสินค้าไม่ตรงตามสัญญา, อายุความ, และการส่งมอบตามคุณภาพ ไม่ใช่ตามตัวอย่าง
โจทก์เรียกค่าสินค้าคืนจากจำเลย พร้อมให้ชำระเบี้ยปรับและค่าเสียหายโดยอ้างเหตุว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องที่มีการส่งมอบสินค้าถูกต้องตามสัญญาแล้วเกิดความชำรุดบกพร่องหรือความเสียหายเกิดขึ้นภายหลังโดยมิใช่ความผิดของโจทก์ ตามสัญญาข้อ 9ดังนี้ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งเตือน ให้จำเลยส่งมอบสินค้าใหม่ก่อนยื่นคำฟ้อง ตามสัญญาซื้อขายโกโก้ผง ข้อ 7 ระบุว่า ถ้าปรากฏว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีจำนวนขนาด คุณภาพ แหล่งกำเนิดหรือชนิดไม่เป็นไปตามรายการละเอียดที่ระบุไว้ในใบสั่งแนบท้ายสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าทั้งหมดหรือบางส่วน ดังนั้นแม้สินค้าเพียงบางส่วนมีคุณภาพไม่เป็นไปตามสัญญาโจทก์ก็มีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาสินค้าบางส่วนนั้นได้และเมื่อสินค้าที่ซื้อขายที่จำเลยส่งมอบไม่ตรงตามสัญญาและโจทก์ปฏิเสธไม่รับที่จำเลยส่งมอบดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าสินค้าแก่โจทก์ พร้อมเบี้ยปรับและค่าเสียหายอื่นตามสัญญา ตามประกาศประกวดราคาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระบุไว้ว่าตัวอย่างของที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพื่อประโยชน์ในการที่โรงงานยาสูบจะได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ และคู่สัญญาจะทำสัญญาซื้อขาย กันตามชนิด จำนวนคุณภาพที่ถูกต้องตรงตามความประสงค์และเป็นที่พอใจของโรงงานยาสูบ ประกอบกับในสัญญาก็ไม่มีการระบุว่า ผู้ขายจะต้องส่งของให้ตรงตามตัวอย่างแต่ประการเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าตามสัญญาเป็นประการอื่นอีกแสดงว่าตัวอย่างที่ผู้ประกวดราคาส่งไปนั้นเพียงเพื่อตรวจสอบคุณภาพ มิใช่เพื่อสำหรับใช้ตรวจสอบว่าของที่ต้องส่งมอบตามสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างนั้นหรือไม่สัญญาซื้อขายโกโก้ผงดังกล่าวจึงมิใช่ซื้อขายตามตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิในลิขสิทธิ์จากการซื้อขาย: การอนุญาตใช้สิทธิครั้งเดียว vs. การโอนสิทธิถาวร และผลของการผิดสัญญา
หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.กับเรื่อง ก.ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ขายซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 ตกลงขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งหมายถึงโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ซื้อตกลงซื้อเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และออกเป็นรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ ผู้ขายตกลงสัญญาแก่ผู้ซื้อว่าผู้ขายขอมอบสิทธิและลิขสิทธิ์ของเนื้อเรื่องทั้งหมดในนวนิยายทั้งสองเรื่องทุก ๆ ตอนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้เดียว และผู้ขายจะต้องเขียนนวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นให้จบสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อในการสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ และทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายสิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประพันธ์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิที่จะนำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ได้
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.จะมิได้ระบุว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 1ใช้ลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.เป็นการเฉพาะคราวไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่โดยที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาไว้ว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะสร้างภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะขายบทประพันธ์ทั้งสองเรื่องนี้ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรในการซื้อขายบทประพันธ์ให้แก่ผู้ซื้อครึ่งหนึ่ง ผลกำไรในที่นี้หมายถึงเงินซึ่งหักออกจากต้นทุนของผู้ซื้อเสียก่อน"เมื่อนำข้อความดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสัญญาที่ว่า ผู้ซื้อตกลงสัญญาแก่ผู้ขายว่าจะต้องไม่ขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ให้แก่บริษัท ช.เป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ขายเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนแล้ว ดังนี้ย่อมทำให้ตีความการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ 1 และของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาซื้อและขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ต่อกันในลักษณะโอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไปไม่ ทั้งสองฝ่ายคงเพียงแต่ต้องการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นเป็นการเฉพาะคราวให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์เพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการสร้างภาพยนตร์ซ้ำเกินกว่า 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับในทางปฏิบัติของวงการพิมพ์และวงการภาพยนตร์ การซื้อขายลิขสิทธิ์หรือการขอใช้สิทธิเพื่อการจัดพิมพ์บทประพันธ์จำหน่ายหรือนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นการขอใช้สิทธิหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีจึงฟังได้ว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว หาได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไป ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 นำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่แล้ว สิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการที่จะนำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซ้ำอีกจึงเป็นอันระงับ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิจะโอนสิทธิหรืออนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อหรือซ้ำได้อีกต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ หรือแถบบันทึกเสียงได้
โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดลิขสิทธิ์บทประพันธ์แต่การที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขลิทธิ์ฉบับพิพาทมีข้อความชวนให้โจทก์ทั้งสองเข้าใจว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่อง พ.แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าลิขสิทธิ์ในนวนิยายดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต ประกอบกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครออกเผยแพร่ ดังนี้ จำเลยที่ 1ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรจากโจทก์ทั้งสองได้
ข้อความในบทความตามที่ปรากฏในนิตยสารและหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นเพียงบทความที่วิจารณ์ว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยใครควรจะมีสิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ดีกว่ากัน เป็นการที่โจทก์ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าวโดยโจทก์ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิของโจทก์ โดยโจทก์เชื่อว่าโจทก์ได้สิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่องที่พิพาทโดยชอบแล้ว ดังนี้ การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย
แม้หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.จะมิได้ระบุว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 1ใช้ลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.เป็นการเฉพาะคราวไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่โดยที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาไว้ว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะสร้างภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะขายบทประพันธ์ทั้งสองเรื่องนี้ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรในการซื้อขายบทประพันธ์ให้แก่ผู้ซื้อครึ่งหนึ่ง ผลกำไรในที่นี้หมายถึงเงินซึ่งหักออกจากต้นทุนของผู้ซื้อเสียก่อน"เมื่อนำข้อความดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสัญญาที่ว่า ผู้ซื้อตกลงสัญญาแก่ผู้ขายว่าจะต้องไม่ขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ให้แก่บริษัท ช.เป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ขายเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนแล้ว ดังนี้ย่อมทำให้ตีความการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ 1 และของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาซื้อและขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ต่อกันในลักษณะโอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไปไม่ ทั้งสองฝ่ายคงเพียงแต่ต้องการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นเป็นการเฉพาะคราวให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์เพียงครั้งเดียว โดยไม่มีการสร้างภาพยนตร์ซ้ำเกินกว่า 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับในทางปฏิบัติของวงการพิมพ์และวงการภาพยนตร์ การซื้อขายลิขสิทธิ์หรือการขอใช้สิทธิเพื่อการจัดพิมพ์บทประพันธ์จำหน่ายหรือนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นการขอใช้สิทธิหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีจึงฟังได้ว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่อง พ.ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว หาได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไป ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 นำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่แล้ว สิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการที่จะนำนวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซ้ำอีกจึงเป็นอันระงับ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิจะโอนสิทธิหรืออนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อหรือซ้ำได้อีกต่อไป ส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ หรือแถบบันทึกเสียงได้
โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดลิขสิทธิ์บทประพันธ์แต่การที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขลิทธิ์ฉบับพิพาทมีข้อความชวนให้โจทก์ทั้งสองเข้าใจว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่อง พ.แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าลิขสิทธิ์ในนวนิยายดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต ประกอบกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์หรือละครออกเผยแพร่ ดังนี้ จำเลยที่ 1ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรจากโจทก์ทั้งสองได้
ข้อความในบทความตามที่ปรากฏในนิตยสารและหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นเพียงบทความที่วิจารณ์ว่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยใครควรจะมีสิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่อง พ.ดีกว่ากัน เป็นการที่โจทก์ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าวโดยโจทก์ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิของโจทก์ โดยโจทก์เชื่อว่าโจทก์ได้สิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่องที่พิพาทโดยชอบแล้ว ดังนี้ การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย การอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์/ละคร และการละเมิดลิขสิทธิ์/ชื่อเสียง
หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ.กับเรื่อง ก. ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ผู้ขายซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 ตกลงขายนวนิยาย ทั้งสองเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งหมายถึงโจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ซื้อตกลง ซื้อเพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และออกเป็นรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ ผู้ขายตกลงสัญญาแก่ผู้ซื้อว่าผู้ขายขอมอบสิทธิและลิขสิทธิ์ของเนื้อเรื่องทั้งหมดในนวนิยาย ทั้งสองเรื่องทุก ๆ ตอนตั้งแต่ตอนเริ่มต้นจนจบเรื่องโดยสมบูรณ์ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้เดียว และผู้ขายจะต้องเขียนนวนิยายทั้งสองเรื่องนั้นให้จบสมบูรณ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ซื้อในการสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ และทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ต่อการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประพันธ์เพื่อนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิที่จะนำนวนิยายเรื่องพ.ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ หรือออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์ได้ แม้หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ.จะมิได้ระบุว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ใช้ลิขสิทธิ์ นวนิยาย เรื่อง พ. เป็นการเฉพาะคราวไว้โดยชัดแจ้งก็ตามแต่โดยที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีหมายเหตุต่อท้ายสัญญาไว้ว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่สามารถที่จะสร้างภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ได้ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะขายบทประพันธ์ทั้งสองเรื่องนี้ให้แก่ผู้อื่นได้ แต่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรในการซื้อขายบทประพันธ์ให้แก่ผู้ซื้อครึ่งหนึ่ง ผลกำไรในที่นี้หมายถึงเงินซึ่งหักออกจากต้นทุนของผู้ซื้อเสียก่อน" เมื่อนำข้อความดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับสัญญาที่ว่า ผู้ซื้อตกลงสัญญาแก่ผู้ขายว่าจะต้องไม่ขายนวนิยายทั้งสองเรื่องดังกล่าวนี้ให้แก่บริษัทช.เป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ขายเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนแล้ว ดังนี้ย่อมทำให้ตีความการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ 1 และของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ทั้งสองฝ่ายหาได้มีเจตนาซื้อและขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ต่อกันในลักษณะโอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไปไม่ ทั้งสองฝ่ายคงเพียงแต่ต้องการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยาย ทั้งสองเรื่องนั้นเป็นการเฉพาะคราวให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และนำไปออกรายการวิทยุหรือรายการโทรทัศน์เพียงครั้งเดียวโดยไม่มีการสร้างภาพยนตร์ซ้ำเกินกว่า 1 ครั้ง เท่านั้นซึ่งสอดคล้องกับในทางปฏิบัติของวงการพิมพ์และวงการภาพยนตร์การซื้อขายลิขสิทธิ์หรือการขอใช้สิทธิเพื่อการจัดพิมพ์บทประพันธ์จำหน่ายหรือนำไปสร้างภาพยนตร์เป็นการขอใช้สิทธิหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิเพียงครั้งเดียวเท่านั้น กรณีจึงฟังได้ว่าการซื้อขายลิขสิทธิ์นวนิยายเรื่องพ. ระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาตให้โจทก์ที่ 1 นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงครั้งเดียว หาได้โอนลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาดเป็นการถาวรตลอดไป ดังนั้น การที่โจทก์ที่ 1 นำนวนิยายเรื่อง พ. ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ออกฉายเผยแพร่แล้ว สิทธิของโจทก์ ที่ 1 ในการที่จะนำนวนิยายเรื่องพ. ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ซ้ำอีกจึงเป็นอันระงับ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิจะโอนสิทธิหรืออนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำนวนิยาย เรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ต่อหรือซ้ำได้อีกต่อไปส่วนจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำบทประพันธ์นวนิยายเรื่องพ.ไปสร้างเป็นละคร โทรทัศน์หรือภาพยนตร์โทรทัศน์ หรือแถบบันทึกเสียงได้ โจทก์ที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและละเมิดลิขสิทธิ์บทประพันธ์แต่การที่หนังสือสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ฉบับพิพาทมีข้อความชวนให้โจทก์ทั้งสองเข้าใจว่า โจทก์ที่ 1 ได้รับโอนลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องพ. แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าลิขสิทธิ์ในนวนิยายดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร เพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยสุจริต ประกอบกับโจทก์ที่ 2 ยังไม่ได้สร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร ออกเผยแพร่ดังนี้ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนที่จะต้องแบ่งส่วนแบ่งผลกำไรจากโจทก์ทั้งสองได้ ข้อความในบทความตามที่ปรากฏในนิตยสารและหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นเพียงบทความที่วิจารณ์ว่าระหว่างโจทก์ กับจำเลยใครควรจะมีสิทธิในบทประพันธ์นวนิยายเรื่องพ. ดีกว่ากัน เป็นการที่โจทก์ให้ข่าวแก่ผู้สื่อข่าวโดยโจทก์ประสงค์จะชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนเพื่อปกป้องสิทธิของโจทก์ โดยโจทก์เชื่อว่าโจทก์ได้สิทธิในบทประพันธ์นวนิยาย เรื่องที่พิพาทโดยชอบแล้ว ดังนี้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ, ละเมิด, ความรับผิดร่วมกัน, การตรวจควบคุมงาน, อายุความฟ้องละเมิด
คดีนี้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และทางพิจารณาได้ความว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้ว กล่าวคือจำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างฝ่ายน้ำล้นจนแล้วเสร็จตามสัญญาและส่งมอบงานแก่โจทก์ไปแล้ว และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 ไปเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน หนี้ที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาอีกหรือไม่ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 587 ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำระเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน 365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนดโดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัวอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำระบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนดรวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝ่ายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติแม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้นเมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้ จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝ่ายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหาย คณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าจำเลยที่ 2(ถึงแก่กรรม) จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้รับโจทก์ได้รับตัวผู้ทำละเมิดแล้ว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้างและการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้างเป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาณเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของ ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5284/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทั้งสัญญาและละเมิดจากการก่อสร้างชำรุด: ฝายน้ำล้นแตกร้าวจากทั้งการก่อสร้างและควบคุมงาน
คดีนี้โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็ก และทางพิจารณาได้ความว่าทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วนแล้วกล่าวคือ จำเลยที่ 1 ได้ทำการก่อสร้างฝายน้ำล้นจนแล้วเสร็จตามสัญญาและส่งมอบงานแก่โจทก์ไปแล้ว และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 ไปเสร็จสิ้นแล้วเช่นกัน หนี้ที่คู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามสัญญาได้สิ้นสุดลง จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาอีกหรือไม่
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ.อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนด โดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัว อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำรุดบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติ แม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1 ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่ เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย
โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายคณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า จำเลยที่ 2 (ถึงแก่กรรม)จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้ว
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้าง และการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้าง เป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาทเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับเหมาก่อสร้างฝายน้ำล้นกับโจทก์โดยมีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระและแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และโจทก์ตกลงให้ค่าก่อสร้างแก่จำเลยที่ 1 สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์จึงเป็นสัญญาจ้างทำของ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 587
ตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างฝายน้ำล้นที่พิพาทได้กำหนดกรณีที่การงานที่ทำชำรุดบกพร่องไว้ว่า ถ้ามีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างภายใน365 วัน นับแต่วันที่รับมอบงานเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างจะต้องรีบแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายในเวลาที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวหากยังมีการชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นอีก ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ.อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปลูกสร้างกับพื้นดินตามแบบแปลนที่โจทก์กำหนด โดยฝ่ายจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาสัมภาระเองและฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างได้เกิดชำรุดแตกร้าวทรุดตัว อันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติเป็นที่ประจักษ์แก่โจทก์ภายในเวลาไม่ถึงปีนับแต่วันส่งมอบ ดังนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 595 และ 600 ไม่ว่าจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าการชำรุดบกพร่องมีอยู่ จำเลยที่ 1ก็ต้องรับผิดในการบกพร่องนั้น เว้นแต่การชำรุดบกพร่องนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ผู้ว่าจ้าง ดังนั้นปัญหาที่จำเลยที่ 1 ฎีกาโต้เถียงว่า ก่อนก่อสร้างจำเลยที่ 1ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของดินบริเวณที่ก่อสร้างได้บดอัดดินจนแน่นก่อนเทคอนกรีตได้ผสมปูนตามสัดส่วนที่กำหนดไว้และได้นำแท่งคอนกรีตไปตรวจสอบหาความแข็งแรงให้รับน้ำหนักได้ตามที่กำหนด รวมทั้งการผูกเหล็กและวางตะแกรงเหล็กได้กระทำตามที่โจทก์กำหนดไว้หรือไม่ จึงไม่ต้องวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 1 ให้การว่า ความเสียหายของฝายเกิดขึ้นเพราะการออกแบบไม่ถูกต้องมิได้เผื่อไว้ในกรณีน้ำมากกว่าปกติ ที่ฝายกั้นน้ำเสียหายนั้นเป็นเพราะมีปริมาณน้ำเหนือฝายเกินกว่าปกติ แม้จะดำเนินการก่อสร้างฝายถูกต้องตามแบบทุกประการฝายก็ยังต้องพังทลาย เพราะมีน้ำป่าผ่านเหนือฝายสูงกว่าปกติทำให้เกิดปริมาณน้ำมากเกินกว่าความแข็งแรงของฝายที่จะรับน้ำได้ จึงเกิดความเสียหายขึ้นนั้น เมื่อปรากฏว่าการก่อสร้างฝายน้ำล้นจำเลยที่ 1 ต้องทราบดีว่ามีวัตถุประสงค์จะจัดการเกี่ยวกับน้ำที่ไหลมาจำนวนมากผิดปกติ ซึ่งก่อนทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ก็น่าจะตรวจสอบสภาพธรรมชาติของน้ำให้ได้ข้อมูลที่แน่นอนเสียก่อนลงมือก่อสร้าง จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุอุทกภัยดังกล่าวมาปฏิเสธความรับผิดว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างบกพร่อง เลือกสถานที่ก่อสร้างผิดพลาดไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นมุมหัก ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ เมื่อมีน้ำไหลแรงจึงเกิดการปะทะเป็นเหตุหนึ่งทำให้ฝายชำรุดและผู้ออกแบบไม่ได้หาข้อมูลจากส่วนราชการที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำและฝายขนาดใหญ่ เช่น กรมชลประทาน ดังนี้ นับได้ว่าเหตุที่ฝายน้ำล้นของโจทก์ไม่แข็งแรงเกิดชำรุดบกพร่องในภายหลังโจทก์ได้มีส่วนผิดอยู่ด้วย
โจทก์ได้ออกคำสั่ง 2 ฉบับ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคลต้องรับผิดชอบกรณีฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายคณะกรรมการได้สรุปรายงานผลการสอบสวนเสนอโจทก์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2527สำหรับความรับผิดทางแพ่ง คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่า จำเลยที่ 2 (ถึงแก่กรรม)จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ละเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 6 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานไม่อยู่ควบคุมงานก่อสร้างทุกคนต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งต่อทางราชการ ส่วนจำเลยที่ 5 ไม่ปรากฏว่าได้ละเลยหน้าที่ ไม่ควรต้องรับผิดทางแพ่ง ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้แทนของโจทก์ในขณะนั้นได้ทราบรายงานดังกล่าวแล้วตั้งแต่เมื่อใด จึงถือได้ว่ารายงานการสอบสวนสาเหตุและข้อเท็จจริงและบุคคคลต้องรับผิดเป็นรายงานการสอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่อาจรับฟังได้ว่าโจทก์ได้รู้ตัวผู้ทำละเมิดแล้ว
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจการจ้างส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นกรรมการควบคุมงานก่อสร้าง และการก่อสร้างฝายน้ำล้นที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามแบบและวิธีการก่อสร้าง เป็นเหตุให้ฝายน้ำล้นชำรุดบกพร่องแตกร้าวและพังทลายเสียหายจนใช้การไม่ได้ในเวลาไม่ถึงหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำรายงานเสนอโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยถูกต้องตามแบบรูปและรายละเอียดแนบท้ายสัญญาควรรับไว้ใช้ในราชการ ซึ่งหากจำเลยที่ 5 กับที่ 6 ไม่ประมาทเลินเล่อเอาใจใส่สอดส่องควบคุมการก่อสร้างให้ถูกต้องตามหลักวิชาโดยใกล้ชิดฝายน้ำล้นก็ไม่น่าจะแตกร้าวพังชำรุดเสียหายในเวลาอันรวดเร็วหลังจากการส่งมอบงานเช่นนั้น และโจทก์หลงเชื่อตามรายงานของจำเลยทั้งสี่ว่าการก่อสร้างได้เป็นไปตามแบบโดยถูกต้อง จึงได้จ่ายเงินค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปเต็มจำนวนตามสัญญาจ้าง ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยร่วมกันประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างทำของส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 และที่ 6 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ละเมิดแม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำนวนเดียวกัน แต่ก็เป็นความรับผิดที่ต่างต้องรับผิดในความเสียหายอันเดียวกันเท่านั้น จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์ไม่เสียสิทธิ แต่จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส. ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้ แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17