พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมต่ออายุสัญญา และสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ: จำเลยมิอาจหักเบี้ยปรับจากหนี้เช็คพิพาทได้
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างไร คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค – การลงวันที่เช็คหลังขาดอายุความ – ผลกระทบต่อความรับผิดของจำเลยร่วม
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค-การลงวันที่เช็ค-การรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วน
โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ พร้อมทั้งแนบสำเนาเช็คและใบคืนเช็คมาด้วย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดเรียกเก็บเงินไม่ได้เพราะธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์ได้ทวงถามจำเลยแล้วจำเลยทั้งสองไม่ชำระ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงว่าเป็นหนี้ค่าอะไร เมื่อใด หรือร่วมกันออกเช็คอย่างไรตามที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ เพราะเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เช็คที่มิได้ลงวันออกเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คได้แต่จะกรอกวันเดือนปีลงตามที่ถูกต้องแท้จริงเท่านั้น เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คและผู้สลักหลังย่อมประสงค์ที่จะผูกพันโดยอายุความอยู่ด้วยเสมอถ้าไม่ปรากฏว่ามีข้อจำกัดในเรื่องวันสั่งจ่ายที่ผู้ทรงจะลงอย่างไรจึงจะถือว่า ผู้ทรงเช็คจะลงวันไหนก็ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าจำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้แก่โจทก์โดยไม่ลงวัน เดือน ปี ในเช็คเมื่อต้นปี 2526 โดยมีข้อตกลงว่าให้โจทก์ลงวันที่ในเช็คภายหลังจากนั้นเป็นเวลา 3 เดือน เมื่อโจทก์มาลงวัน เดือน ปีในเช็คเมื่อปี2528 จึงถือว่าโจทก์มิได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทตามข้อตกลงที่ถูกต้องแท้จริง เช็คพิพาทจึงขาดอายุความ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่ง ให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วย เว้นแต่กระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ดังนี้การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตามมาตรา 59(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ & เช็ค: การมอบอำนาจฟ้องคดีและผลผูกพันของผู้สลักหลังเช็ค
แม้หนังสือมอบอำนาจจะมิได้ระบุโดยตรงว่าห้างโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทน แต่ในตอนต้นของหนังสือมอบอำนาจระบุว่า ข้าพเจ้านาย ป. และมีข้อความต่อมาว่า ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันห้างโจทก์-------------------------------------และในช่องผู้มอบอำนาจ นอกจากนาย ป. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์จะได้ลงลายมือชื่อแล้วยังได้ประทับตราของห้างโจทก์อีกด้วย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงจำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยเป็นหนี้โจทก์จึงไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เพราะการที่จำเลยที่ 1เข้าสลักหลังเช็คพิพาทย่อมก่อให้เกิดมูลหนี้ในเช็คอยู่ในตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ซื้อขาย แม้ซื้อผ่านห้างหุ้นส่วน ก็ต้องรับผิดตามเช็ค
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5245/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม & ความรับผิดทางเช็ค: จำเลยต้องรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็ค แม้เป็นหนี้ซื้อขาย
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์เป็นประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์และไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงมูลหนี้ซื้อขายเดิม และมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ราคาสินค้านั้นให้แก่โจทก์ด้วยดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ซื้อสินค้าจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยในฐานะส่วนตัวได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อหลังเช็คเพื่อผูกพันตนเองตามกฎหมาย และการบังคับชำระหนี้ตามเช็ค
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่ มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้กู้ยืม การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คทำให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทมิใช่ของตนโจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2 ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนาย และคำให้การ เมื่อเป็นพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับประเด็นโดยตรง ศาลมีอำนาจอาศัยลายมือชื่อดังกล่าวตรวจเปรียบเทียบ เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานว่า เพียงพอให้เชื่อฟังได้หรือไม่
มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย
คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.
มูลหนี้คดีนี้เป็นหนี้กู้ยืมเงิน 1,000,000 บาท มิได้ทำสัญญากู้กันไว้ แต่มีการจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันและให้ถือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1สั่งจ่ายเช็คพิพาทเป็นเงิน 1,000,000 บาท มอบให้โจทก์อีกโดยตกลงว่าเพื่อเป็นประกัน เช็คพิพาทจึงออกเพื่อประกันการกู้ยืมเงินด้วย โจทก์มีสิทธิฟ้องได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวบังคับจำนองก่อน
การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คที่สั่งจ่ายระบุชื่อ โจทก์ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก และมุม ซ้ายบนของด้านหน้ามีข้อความว่าเข้าบัญชีผู้รับเงินเท่านั้นห้ามเปลี่ยนมือ และในเช็คไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำสำนวนว่าใช้ได้เป็นอาวัล หรือสำนวนอื่นใดทำนองเดียวกัน จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับอาวัลแต่การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คที่จำเลยที่ 1เป็นผู้สั่งจ่ายโดยระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินและจำเลยทั้งสองนำเช็คไปมอบให้โจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง ในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ย
คำขอให้โจทก์ทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ เห็นได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดเพราะโจทก์มีเพียงคนเดียวจะขอให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ย่อมไม่ได้ ทั้งในที่อื่นตามฟ้องทั้งหมดได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ขอให้ชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จนถึงวันที่ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้.